กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส. สู่สุขภาพดี รพ.สต.ทุ่งตำเสา ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L5275-01-012
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,132.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนินราหม๊ะ หมัดอะดัม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 พ.ค. 2568 30 ก.ย. 2568 50,132.00
รวมงบประมาณ 50,132.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึ่งประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ จากสถิติการเจ็บป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ความเครียด ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่ถูกส่วน การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ถ้าหากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่มากขึ้น คือ 35 ปีขึ้นไป ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงได้ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต หรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากผลการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 1,2 และ 10 ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่าประชาชนในเขตรับผิดชอบที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 2,459 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 2,367 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.26 ตรวจพบประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มปกติ 2,272 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.99 กลุ่มเสี่ยง 78 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.30กลุ่มเสี่ยงสูงสงสัยป่วย 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.68 ตามลำดับ และประชาชนในเขตรับผิดชอบที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2,006 ราย ได้รับการตรวจคัดกรอง จำนวน 1,920 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.71 ตรวจพบประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มปกติ 1,831 ราย กลุ่มเสี่ยง 42 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.19 และกลุ่มเสี่ยงสูงต่อ ความดันโลหิตสูงมาก จำนวน 42ราย คิดเป็นร้อยละ 2.19 ของประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งมีผู้ป่วยบางรายเกิดภาวะแทรกซ้อน เกิดความพิการทางกายและการเคลื่อนไหว เป็นภาระให้แก่ครอบครัวและชุมชน ดังนั้นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชน จะช่วยทำให้กลุ่มเสี่ยงมีความตระหนัก สามารถปรับเปลี่ยนการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก 3อ.2ส. เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่องตามตัวชี้วัดของสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ประชาชนในพื้นต้องคัดกรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และกลุ่มเสี่ยงสงสัยป่วยได้รับการตรวจยืนยันวินิจฉัย (FPG) ทางห้องปฏิบัติการมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มก/ดล.จึงจะยืนยันเป็นผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา ได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส. สู่สุขภาพดี รพสต.ทุ่งตำเสา ปี 2568 โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับกลุ่มปกติ และกลุ่มเสี่ยง เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองได้

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเรื้อรัง เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ 90

0.00
2 2.เพื่อให้ในชุมชนมีแกนนำสุขภาพ

2.มีแกนนำในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเรื้อรังในชุมชนอย่างน้อยหมู่ละ 1 กลุ่ม

0.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ได้รับการติดตาม/ประเมินภาวะสุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 90

0.00
4 4.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่

4.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังไม่เกิดโรคเรื้อรังร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 30 เม.ย. 68 1.กิจกรรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส. สู่สุขภาพดี รพสต.ทุ่งตำเสา ( ผู้ดำเนินโครงการ จำนวน 10 คน ) จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ ครึ่งวัน 2 ครั้ง 0 50,132.00 -
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 2.กิจกรรมติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล จำนวน 6 ครั้ง 0 0.00 -
รวม 0 50,132.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ 90 2.มีแกนนำในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังในชุมชนอย่างน้อยหมู่ละ 1 กลุ่ม 3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังได้รับการติดตาม/ประเมินภาวะสุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 90
4.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังไม่เกิดโรคเรื้อรังร้อยละ 90

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2568 09:49 น.