โครงการบูรณาการครอบครัวรักลูก ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการบูรณาการครอบครัวรักลูก ปี 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถนน |
วันที่อนุมัติ | 11 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 4 มิถุนายน 2568 - 22 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 21,150.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวไฮฟะ ยีกาเดร์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลถนน |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 52 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 87 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด– 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม การเลี้ยงดูที่เหมาะสมและมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย การสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กแรกเกิด – 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคน จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็กแรกเกิด–5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถนน ตกพบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 10 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 5 ปี กว่าร้อยละ 70 ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ นอกจากนี้การดำเนินงานในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีประชากรเด็กอายุครบ 5 ปีงบประมาณ 2567 จำนวน 44 คนได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ 7 คนคิดเป็นร้อยละ 15.91ซึ่งยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือความครอบคลุมการได้รับวัคซีนให้ได้ร้อยละ90 ดังนั้นการดำเนินงานในกิจกรรมนี้จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรชุมชนเช่นผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และอสม. ในการติดตามเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถนนได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการบูรณาการครอบครัวรักลูกขึ้นโดย บูรณาการร่วมมือกับชุมชนด้วยการพัฒนาเครื่องมือให้อาสาสมัครสาธารณสุขช่วยเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงอายุเพื่อช่วยค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติด้านต่างๆ เร็วขึ้น และกระตุ้นให้ อสม. มีการติดตามเชิงรุกอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจ เกิดความตระหนัก และกระตุ้นให้ผู้ปกครองพาเด็ก ๐-5 ปี รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของเด็ก และเพื่อป้องกันหรือลดการระบาดของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่ให้น้อยลง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 21,150.00 | 0 | 0.00 | 21,150.00 | |
??/??/???? | กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ผู้นำชุมชน แกนนำให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเสริมพัฒนาการบุตรหลาน การรับวัคซีนในแต่ละช่วงวัย | 0 | 21,150.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 21,150.00 | 0 | 0.00 | 21,150.00 |
1.เด็ก0 – 5 ปีได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานจากบุคลกรด้านสาธารณสุข ให้มีภาวะโภชนาการและพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย และได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 2.เด็ก 0 – 5 ปีไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน 3.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของลูกได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำไปปฏิบัติได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2568 10:54 น.