โครงการพิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการพิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 68-L4123-01-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง |
วันที่อนุมัติ | 25 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 35,376.80 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางธัญรดี คงทน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ – ๑๔ ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก มีประชากรทั้งหมด 3,901 คน ในปีที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทั้งสิ้น 9 ราย จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมาการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชนด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัด ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการพิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก” เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก และให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ ตลอดจนผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก มีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 35,376.80 | 0 | 0.00 | |
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | (1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก | 0 | 12,500.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | (2)กิจกรรมพ่นหมอกควัน ในพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด มัสยิด เป็นต้น | 0 | 22,876.80 | - |
- ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
- ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคไข้เลือดออก
- ประชาชนให้ความร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
- ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2568 00:00 น.