ส่งเสริมการดูแลภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วยการพอกยาสมุนไพร
ชื่อโครงการ | ส่งเสริมการดูแลภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วยการพอกยาสมุนไพร |
รหัสโครงการ | 68 – L1513 – 01 – 013 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ฯ จังหวัดตรัง |
วันที่อนุมัติ | 17 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 24,705.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายทวี จบสองชั้น |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนเมา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of the Knee) เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนผิวข้อที่ผ่านการใช้งานเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้มีอาการปวดข้อ เข่าฝืดยึด ข้อบวม และเคลื่อนไหวลำบาก โดยมักพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม อีกทั้งยังอาจทำให้โรคประจำตัวอื่น เช่น โรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง กำเริบได้ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเหมาะสมปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมมีหลากหลาย ทั้งจากความเสื่อมของร่างกายตามอายุ การใช้งานข้อเข่าไม่เหมาะสมตั้งแต่วัยหนุ่มสาว น้ำหนักตัวมากเกินไป หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า รวมถึงการติดเชื้อและโรคไขข้อบางชนิด เช่น โรครูมาตอยด์ การรักษาส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพาการใช้ยาเป็นหลัก ซึ่งหากใช้เป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร หรือผลกระทบต่อตับและไต นอกจากนี้ ผู้ป่วยจำนวนมากยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง ส่งผลให้ไม่สามารถจัดการภาวะข้อเข่าเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ฯ จังหวัดตรัง มีผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ ทั้งหมด 1,005 คน คิดเป็นร้อยละ 21.34 ของประชากรทั้งหมด สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ฯ จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมการดูแลภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วยการพอกยาสมุนไพร” ขึ้น เพื่อคัดกรองภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุตามแบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่า มีความรู้ความเข้าใจในสาเหตุ อาการ การป้องกัน และการจัดการภาวะปวดเข่า เพื่อช่วยจัดการภาวะปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ได้ส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยที่สามารถหาได้ง่ายในชุมชน ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดและการอักเสบ มาใช้ในการพอกเข่า ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพ ลดการพึ่งพาการใช้ยาแผนปัจจุบัน และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะข้อเข่าเสื่อม โดยใช้แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะข้อเข่าเสื่อมตามแบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมหรืออาการปวดเข่า มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การป้องกัน และแนวทางการจัดการภาวะปวดเข่าได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมหรืออาการปวดเข่า มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การป้องกัน และแนวทางการจัดการภาวะปวดเข่าได้อย่างถูกต้อง |
0.00 | |
3 | เพื่อส่งเสริมการจัดการภาวะปวดเข่าและข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ด้วยวิธีที่ปลอดภัย เหมาะสม ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีอาการปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อมลดลง |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
23 ก.ค. 68 | อบรมให้ความรู้ | 0 | 11,650.00 | - | ||
23 ก.ค. 68 | พอกเข่าด้วยสมุนไพร | 0 | 10,040.00 | - | ||
23 ก.ค. 68 | คัดกรองภาวะข้อเข่าเสื่อม | 0 | 3,015.00 | - | ||
รวม | 0 | 24,705.00 | 0 | 0.00 |
1.ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะข้อเข่าเสื่อม ตามแบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score)
2.ผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมหรืออาการปวดเข่า มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การป้องกัน และแนวทางการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม
3.ผู้สูงอายุมีปัญหาข้อเข่า มีอาการปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อมลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2568 00:00 น.