โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดพุง ลดโรค
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดพุง ลดโรค |
รหัสโครงการ | L5227-02-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักปลัด องค์การบริการส่วนตำบลระวะ |
วันที่อนุมัติ | 4 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 ธันวาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 มกราคม 2569 |
งบประมาณ | 26,314.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวศรินรัตน์ ทองปานทิวัตถ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ. 2ส. ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว การเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย และไม่ค่อยสนใจเรื่องอาหารที่มีประโยชน์ พฤติกรรมที่เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้เช่น ความอ้วน ความเครียด การขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของบุคคลเกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังดังกล่าว
จากข้อมูลการตรวจสุขภาพบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลระวะ ปีงบประมาณ 2567 พนักงานและเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลระวะ ทั้งหมด 56 คน ได้รับการตรวจสุขภาพ จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 50 มีผลการตรวจสุขภาพปกติ2 คน คิดเป็นร้อยละ 7.14 ผิดปกติและกลุ่มเสี่ยง 26 คน คิดเป็นร้อยละ 92.86 มีค่าดัชนีมวลกายกลุ่มปกติจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 25.๐๐ ค่าดัชนีมวลกายน้ำหนักเกิน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน จำนวน 14 คน คิดเป็น 50.00 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 21.43 กลุ่มเสี่ยงโรคความดัน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.57 กลุ่มเสี่ยงไขมัน จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00
ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. (อาหาร ออกกำลังกาย, อารมณ์,สุรา,บุหรี่) การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) เป็นการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานและเจ้าหน้าที่ ให้มีความสามารถและทักษะในการเข้าถึงข้อมูล ความเข้าใจ เพื่อวิเคราะห์ แปลความหมาย ประเมินข้อมูลข่าวสารและบริการทางด้านสุขภาพที่ได้รับการถ่ายทอดและเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้เกิดการจูงใจให้ตัดสินใจเลือกวิถีทางในการดูแลสุขภาพตนเองและคงรักษาสุขภาพที่ดีของตนเองไว้เสมอ
ทางสำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลระวะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดพุง ลดโรค เพื่อให้พนักงานและเจ้าหน้าที่ กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อตนเอง ลดการเป็นผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคเรื้อรัง และในกลุ่มป่วยเกิดความตระหนักดูแล ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น พนักงานและเจ้าหน้าที่ ในหน่วยงานเกิดภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง รวมทั้งชี้แนะสุขภาพส่วนบุคคล ครอบครัวและชุมชนเพื่อสุขภาพที่ดี การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมที่ถูกต้อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดพุงลดโรค ตามหลัก ๓อ.๒ส. พนักงานและเจ้าหน้าที่ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ในการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. |
0.00 | |
2 | เพื่อมีบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 30 | 26,314.00 | 0 | 0.00 | 26,314.00 | |
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ออกกำลังกาย ลดพุง ลดโรค | 0 | 13,882.00 | - | - | ||
30 ส.ค. 68 | อบรมให้ความรู้ 3อ.2ส. | 30 | 12,432.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 30 | 26,314.00 | 0 | 0.00 | 26,314.00 |
- พนักงานและเจ้าหน้าที่ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ในการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.
- พนักงานและเจ้าหน้าที่มีความรู้และมีทักษะการออกกำลังกายสามารถเลือกวิธีการออกกำลังกายได้ที่ถูกต้อง
- พนักงานและเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมโครงการมีน้ำหนักที่ลดลง
- มีบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพในหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลระวะ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2568 15:46 น.