กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านสวยใส ใส่ใจคัดแยกขยะ
รหัสโครงการ 68-L5275-02-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก(อถล.) หมู่ที่ ๗
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 พฤษภาคม 2568 - 30 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกมลรัตน์ สังขะกูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (25,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนพรุชบา หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีครัวเรือนทั้งหมด 987 ครัวเรือน มีประชากรจำนวน 2,734 คน (อ้างอิง งานทะเบียนราษฎร์เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ณ เดือน เมษายน ๒๕๖๘) คาดการณ์ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ประมาณวันละ 3,๔๖0 กิโลกรัมต่อวัน(อัตราการเกิดขยะมูลฝอย ปี 2567 เท่ากับ 1.1๒ กิโลกรัมต่อคนต่อวัน) (อ้างอิง รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖ : กรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ประกอบกับชุมชนพรุชบาเป็นเส้นทางผ่านน้ำตกโตนงาช้างซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา โดยมีสถานประกอบการจำหน่ายอาหารและร้านค้าตลอดสองข้างทาง แม้ว่าเทศบาลได้มีการณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกและภาชนะโฟมบรรจุอาหาร แต่ยังพบว่าประชาชนยังมีพฤติกรรมใช้และทิ้งถุงพลาสติกหรือภาชนะโฟมบรรจุอาหารในที่ทางสาธารณะทำให้ชุมชนพรุชบาไม่สะอาด ไม่เป็นระเบียบ และอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะนำโรคในชุมชน เช่น หนู แมลงตอม ยุง เป็นต้น ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากถุงพลาสติกและโฟมบรรจุอาหารมีระยะเวลาในการย่อยสลายเองตามธรรมชาติยาวนาน ทั้งนี้จากการที่ครัวเรือนขาดความตระหนักในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เทศบาลดำเนินการเก็บขนมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีขยะตกค้างในชุมชนหรือครัวเรือน
เครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) บ้านพรุชบา ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ดูแล รวมทั้งรายงานสถานการณ์การบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ จึงได้จัดทำ “โครงการบ้านสวยใส ใส่ใจคัดแยกขยะ” เพื่อรณรงค์การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ในการคัดแยกขยะมูลฝอย เพื่อส่งเสริมการลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกและโฟมบรรจุอาหาร เพื่อความสะอาดเป็นระเบียบของชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะมูลฝอย

1.ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน

มี “ธรรมนูญหมู่บ้าน” ในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยของชุมชน - ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมหรือมาตรการในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,000.00 0 0.00 25,000.00
1 พ.ค. 68 - 30 ส.ค. 68 1.ประชุมสมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก จำนวน 2 ครั้ง 0 1,250.00 - -
1 - 30 มิ.ย. 68 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การคัดแยกขยะมูลฝอยและการนำไปใช้ประโยชน์ของขยะมูลฝอยชุมชน 0 12,004.00 - -
1 - 30 มิ.ย. 68 3.กิจกรรมรับฟังความคิดเห็นและกำหนดแนวทางลดปริมาณขยะมูลฝอยของชุมชนพรุชบา 0 8,432.00 - -
1 มิ.ย. 68 - 30 ส.ค. 68 4.กิจกรรมลงนามความร่วมมือ “สัญญาคนพรุชบาสะอาด...ลดและคัดแยกขยะ” 0 2,682.00 - -
1 มิ.ย. 68 - 30 ส.ค. 68 5.กิจกรรม “พกถุงผ้า พรุชบาสะอาด” 0 432.00 - -
1 ส.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 6. ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงาน 0 200.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 25,000.00 0 0.00 25,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะมูลฝอยครัวเรือน 2.ประชาชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน 3.ชุมชนสะอาดเป็นระเบียบ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2568 09:22 น.