โครงการการลดภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ และการป้องกันด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการการลดภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ และการป้องกันด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5281-2-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง |
วันที่อนุมัติ | 5 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 19,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | 1 นายมนต์ชัย มรรคาเขต 2 นายอาบูบากาด หยาหลี 3 นางสาวโรจนา อาหลี 4 นายวิโรจน์ จุลภักดิ์ 5 นางหยาด จิสวัสดิ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.871,100.144place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลล่าสุดในปี 2568 แนวโน้มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในไทย ที่เผยแพร่โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า โรคหลอดเลือดสมองยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในประเทศไทย โดยมีผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองจำนวนมากขึ้นทุกปี สถิติในปี 2567 ชี้ให้เห็นว่าประมาณ 7-8% ของการเสียชีวิตในประเทศไทยมาจากโรคหลอดเลือดสมอง โดยส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการพบโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มวัยกลางคน (อายุ 30-50 ปี) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยง เช่น การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ปัจจุบันประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่าง ๆ ใกล้ตัวมากมาย สมุนไพรไทยถือเป็นทางเลือกที่คนทั่วไปนิยมใช้ดูแลสุขภาพในเบื้องต้น กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงได้จัดทำคู่มือ 10 พืชสมุนไพรประจำบ้าน เพื่อใช้ดูแลสุขภาพ ได้แก่ กระเพราแดง, ขิง, ตะไคร้, ช้าพลู, บัวบก, ฟ้าทะลายโจร, มะกรูด, มะระขี้นก, ว่านหางจระเข้ และสะระแหน่ สมุนไพรดังกล่าวสามารถหาซื้อได้จากท้องตลาดทั่วไปและสามารถปลูกได้เอง
ที่บ้าน
ดังนั้น ชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง เห็นความสำคัญในการป้องกันของโรคดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ การลดภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ และ
การป้องกันด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจ ได้หลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงของการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจ ได้หลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงของการป่วยโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
||
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจ มีความรู้และความเข้าใจในการป้องกันภาวะเสี่ยงของการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจ มีความรู้และความเข้าใจในการป้องกันภาวะเสี่ยงของการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 19,050.00 | 0 | 0.00 | |
31 ก.ค. 68 | กิจกรรม การลดภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ด้วยการป้องกันด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน | 100 | 19,050.00 | - |
ขั้นเตรียมการ
1. จัดทำประชาคมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ
2. สำรวจ และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นดำเนินการ
1. ประชุมชี้แจงสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. จัดอบรม ให้ความรู้ เรื่อง การลดภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ และการป้องกันด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน
ขั้นประเมินผล
1. ประเมินผล โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มเป้าหมาย
2. รายงานผลโครงการ
- ผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจ สามารถหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงของการป่วยโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ 2. ผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจ มีความรู้และความเข้าใจในการป้องกันภาวะเสี่ยงของการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2568 10:19 น.