โครงการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะและโรคอุบัติใหม่ในพื้นที่ตำบลยะหา ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะและโรคอุบัติใหม่ในพื้นที่ตำบลยะหา ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 100,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
“โรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะและโรคอุบัติใหม่” เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ หากทุกคนให้ความสำคัญ และตระหนักถึงอันตรายของโรค รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาโรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะและโรคอุบัติใหม่ โดยเน้นให้ประชาชนมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง อันจะทำให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหาเกิดความยั่งยืนโดยมุ่งพัฒนาให้มีระบบเฝ้าระวังสภาวการณ์ผิดปกติในชุมชน รวมถึงการเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน สร้างเครือข่ายเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมอันจะทำให้เกิดประสิทธิผล ต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ได้ทันท่วงทีโรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะและโรคอุบัติใหม่ สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคต่างๆ ชุกชุม เมื่อมีการติดต่อถ่ายทอดไปยังผู้อื่น ก็จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น จึงจะต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตรฐานในแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคตาแดง ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินจำนวนมาก นั้น
ประกอบกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา ถือเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการด้านการสนับสนุน ส่งเสริม ฟื้นฟู และระงับโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน ตามมาตรา 67 (3) กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังโรคติดต่อเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะและโรคอุบัติใหม่ในพื้นที่ตำบลยะหา ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลยะหา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะและโรคอุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้อง
|
100.00 | 1.00 |
2 | 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลยะหา สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลยะหา |
100.00 | 1.00 |
3 | 3 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังสภาวการณ์การเกิดโรค การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะและโรคอุบัติใหม่ในพื้นที่ตำบลยะหา ในพื้นที่ตำบลยะหา มีสภาวการณ์การเกิดโรคที่ไม่อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายและไม่มีผู้ที่เสียชีวิต จากโรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะและโรคอุบัติใหม่ |
100.00 | 1.00 |
4 | 4.เพื่อชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนทุกพื้นที่ในเขตตำบลยะหา |
100.00 | 1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 100,000.00 | 0 | 0.00 | |
??/??/???? | 1. อบรมให้ความรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่อโดยมีแมลงเป็นพาหะและโรคอุบัติใหม่ | 0 | 17,600.00 | - | ||
30 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 2. กิจกรรมรณรงค์ เฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อโดยมีแมลงเป็นพาหะ จำนวนเงิน 20,200 บาทรายละเอียดดังนี้ | 0 | 20,200.00 | - | ||
30 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 3. กิจกรรมพ่นสารเคมี (หมอกควัน) จำนวนเงิน 62,200 บาท รายละเอียดดังนี้ | 0 | 62,200.00 | - |
- เด็ก เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ตำบลยะหา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะและโรคอุบัติใหม่ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลยะหา
- ในพื้นที่ตำบลยะหา มีสภาวการณ์การเกิดโรคที่ไม่อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายและไม่มีผู้ที่เสียชีวิต
จากโรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะและโรคอุบัติใหม่
- ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนทุกพื้นที่ในเขตตำบลยะหา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2568 10:36 น.