กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนการดำเนินงานด้านสุขภาพอนามัยการออกกำลังกาย การกีฬาและนันทนาการ (ขยับกายสบายชีวี)
รหัสโครงการ 61-L2492-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต.โคกเคียน โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 5 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2561 - 10 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2561
งบประมาณ 131,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรุสลัน อารง
พี่เลี้ยงโครงการ นายนัศรุดดีน เจะแน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มี.ค. 2561 10 เม.ย. 2561 131,550.00
รวมงบประมาณ 131,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 780 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
1.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
30.00
3 ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน
20.00
4 ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน นับว่าเป็นปรากฏการณ์ของปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่ไม่สามารถจะมองข้ามได้ เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพจะส่งผลกระทบต่อปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา เป็นต้น ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดีของบุคคล เช่น โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคกระดูกและข้อ เป็นต้น ซึ่งโรคต่างๆเหล่านี้ เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และไม่ทำให้รัฐสิ้นเปลืองงบประมาณในการเยียวยารักษา ประกอบกับกระแสปฏิรูประบบสุขภาพของไทยในปัจจุบัน ที่เน้นการ "สร้าง" มากกว่าการ "ซ่อม" สุขภาพ เป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุกในการสร้างเสริมสุขภาพและได้กำหนดนโยบายหลัก 6 อ. ในการสร้างสุขภาพแก่ประชาชน ซึ่งประกอบด้วย ออกกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ อโรคยา อนามัยสิ่งแวดล้อม และอบายมุข
การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางกาย และเป็นหนึ่งหลักการสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ สามารถป้องกันโรคได้ไม่แพ้หลักการอื่นๆ ในหลัก 6 อ. ข้างต้น องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความว่า กิจกรรมทางกายไม่ได้จำกัดเฉพาะการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเท่านั้น แต่รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายใดๆ ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อและพลังงานในชีวิตประจำวันทั่วไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นในการทำงาน เช่น การขึ้นบันได การเดินระหว่างอาคาร การเดินทาง เช่น การเดิน หรือปั่นจักรยานไปยังสถานที่ต่างๆ หรือกิจกรรมนันทนาการ เช่น การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา การวิ่ง การว่ายน้ำ การเต้นแอโรบิค เป็นต้น เพราะฉะนั้นกิจกรรมทางกายจึงทำได้ทุกที่ทุกเวลาเพื่อสุขภาพที่ดี ภาครัฐจำเป็นต้องสนับสนุนองค์ความรู้และทักษะต่างๆและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรชุมชน ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดจนประชาชนทั่วไปในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมและตระหนักในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นสำคัญ ก่อให้เกิดการพัฒนาจนสามารถพึ่งพาตนเองแบบยั่งยืนได้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดและมีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะทางด้านสุขภาพได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพด้วยการมีกิจกรรมทางกายฃองประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดโครงการขยับกายสบายชีวีเพื่อชาวโคกเคียนขึ้น เพื่อการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดำเนินงานด้านสุขภาพไปด้วยกัน การแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจึงจะประสบผลสำเร็จ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอใน ผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

50.00
2 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงานอย่างเพียงพอและเหมาะสม

ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

30.00
3 เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 780 131,550.00 2 131,550.00
15 มี.ค. 61 - 10 เม.ย. 61 ให้ความรู้ ฝึกอบรม รณรงค์ และประชาสัมพันธ์ 780 125,550.00 125,550.00
18 มิ.ย. 62 จัดนิทัศการกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0 6,000.00 6,000.00
  1. จัดอบรมแกนนำพนักงาน คนในอาชีพต่างๆ ตัวแทนชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน และการบริโภคผักผลไม้ รวมทั้งมีทักษะในการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชน
  2. รณรงค์การออกกำลังกายด้วยวิธีการต่างๆ ทุกหมู่บ้าน
  3. จัดนิทรรศการกิจกรรมทางกาย เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เหมาะกับกลุ่มอาชีพต่างๆ
  4. จัดกิจกรรมบูรณาการการมีกิจกรรมทางกายควบคู่กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเช่น กิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมการจัดการขยะ การลงแขกทำเกษตรแปลงรวม การปั่นจักรยานสำรวจพืช สมุนไพรในชุมชน
  5. ร่วมกันจัดสภาพแวดล้อมในชุมชนให้สะอาด ปลอดภัยกับการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เช่น ทำความสะอาดเส้นทางสัญจรในชุมชนให้สะอาด ไม่มีสิ่งกีดขวางสำหรับการเดิน การปั่นจักรยานการลงแรงร่วมกันทำ
    ความสะอาด เก็บกิ่งไม้ สิ่งกีดขวางในพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการพักผ่อน วิ่งเล่น หรือออกกำลังกายอื่นๆ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ มีสุขภาพดี ห่างไกลจากโรค 2.ประชาชนได้รับการส่งเสริมสุขภาพและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยการมีกิจกรรมทางกายอย่างเหมาะสม 3.เกิดการรวมกลุ่มเพื่อออกกาลังกายมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2561 14:59 น.