กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน


“ โครงการรณรงค์ ชุมชนน่าอยู่ ลด ละ เลิก การใช้ โฟมบรรจุอาหาร ”

ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาคร บุญนำ

ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ชุมชนน่าอยู่ ลด ละ เลิก การใช้ โฟมบรรจุอาหาร

ที่อยู่ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L5221-2-16 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการรณรงค์ ชุมชนน่าอยู่ ลด ละ เลิก การใช้ โฟมบรรจุอาหาร จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการรณรงค์ ชุมชนน่าอยู่ ลด ละ เลิก การใช้ โฟมบรรจุอาหาร



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการรณรงค์ ชุมชนน่าอยู่ ลด ละ เลิก การใช้ โฟมบรรจุอาหาร " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 61-L5221-2-16 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 34,236.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

อาหาร โดยความหมายของคนโดยทั่วไป มักหมายถึง สิ่งที่นำมาบริโภคเพื่อความอยู่รอดของชีวิต โดยมีหน้าที่เสริมสร้างร่างกาย ให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ฉะนั้นความปลอดภัยของอาหารจากสารปนเปื้อนและสารพิษ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี แต่จุดที่มักถูกมองข้าม คือ การปนเปื้อนจากภาชนะบรรจุอาหารเอง อันตรายที่เกิดจากสารเคมีของภาชนะบรรจุอาหาร มักไม่ได้รับความสนใจ หรือเพิกเฉย เนื่องจากมิได้เกิดในทันทีทันใด แต่หากจะค่อย ๆ สะสม จนเกิดอันตราย เป็นเวลากว่า ๕๐ ปีแล้ว ที่คนไทยนำพลาสติกและโฟม มาใช้แทนใบตอง กระดาษ โลหะหรือแก้ว ในการบรรจุอาหาร อาจเนื่องมาจาก พลาสติกและโฟม สามารถทำให้เกิดรูปทรงตามที่ต้องการได้ง่าย มีน้ำหนักเบาและราคาถูก จึงเป็นที่นิยมสืบต่อเรื่อยมา แต่จะมีผู้บริโภคสักกี่คนที่ตระหนักถึงอันตรายที่แฝงอยู่ในภาชนะบรรจุที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกล่องโฟมมักถูกนำมาบรรจุอาหารที่ทอดร้อน ๆ และมีน้ำมันขึ้นจากเตาใหม่ ๆ เช่น ข้าวผัด ข้าวกระเพาไข่ดาว ผัดไทย หอยทอด เป็นต้น ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถละลายสารบางชนิดออกจากกล่องโฟม และปนเปื้อนสู่อาหารได้
เมื่อโฟมถูกนำไปใช้บรรจุอาหารที่ร้อนจัดจะเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้สารอันตรายแตกตัวออกมาจากภาชนะโฟม เช่น สารสไตรีน (styrene) และ เบนซิน (Benzene) ที่มีส่วนในการทำลายไขกระดูก ทำลายตับ และไต มีผลต่อประสาท ส่วนกลางและส่วนปลายที่ทำให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวไม่ดี รวมทั้งอาจเป็นสารก่อมะเร็งซึ่งเป็นสาเหตุทำให้จำนวนเม็ดเลือดลดลงและทำลายระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายได้ ในเขตพื้นที่ตำบลท่าบอนก็เช่นกัน พ่อค้าแม่ค้าอาหารตามสั่ง อาหารสำเร็จรูป มักนิยมใช้กล่องโฟม เป็นภาชนะบรรจุอาหาร เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว โดยซึ่งผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารจำนวนมากยังขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายที่จะส่งผลต่อผู้บริโภค เนื่องจากกล่องโฟมเมื่อสัมผัสกับอาหารร้อนจัดเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ภาชนะเสียรูปและอาจหลอมละลายจนมีสาร “สไตรีน” ซึ่งเป็น สารก่อมะเร็งออกมาปนเปื้อนกับอาหารที่บรรจุอยู่ได้ โดยปริมาณการละลายออกมาของ สไตรีนจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่าง คือ ไขมันในอาหาร ระยะเวลา และอุณหภูมิระหว่างการสัมผัสของอาหารกับภาชนะ ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้มีการละลายออกมาของสไตรีนมากกว่าอาหารที่ไม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบเมื่อผู้บริโภคไม่บริโภคอาหารที่ใช้โฟมเป็นภาชนะในการบรรจุอาหารแล้ว ผู้จำหน่ายอาหารก็จำเป็นที่จะต้องหาวัสดุอื่นมาบรรจุอาหารเพื่อจำหน่ายต่อไป ดังนั้น ชมรมส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน จึงมีความจำเป็นที่จะจัดการอันตรายจากโฟมที่ใช้บรรจุอาหาร และเชิญชวนองค์กรต่างๆในตำบลท่าบอนให้เป็นหน่วยงานนำร่อง ในการเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ให้ได้ในระดับที่น่าพอใจ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อให้ผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร
  2. 2.เพื่อให้ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้บริโภคลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร
  3. 3 เพื่อให้โรงเรียน สถานที่ราชการ เป็นองค์กรต้นแบบ ลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร (NOFoam)

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และการเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
  2. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เรื่องโทษของการใช้โฟมบรรจุอาหาร ติดสติ้กเกอร์ “Say No To Foam” ติดในชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน สถานที่ราชการ
  3. มอบป้ายโฟมบอร์ด “ร้านนี้ปลอดภัย ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร”
  4. เชิญชวนโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการ องค์กรเอกชน ร่วมลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และให้เป็นองค์กรปลอดโฟมบรรจุอาหาร 100% โดยรับการประเมินและรับรองจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอระโนด
  5. สรุปและประเมินผลโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 84
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 84
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในตำบลท่าบอน ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร
  2. ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคมีความเข้าใจ ถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและสามารถเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
  3. มีพื้นที่ต้นแบบปลอดโฟมในการบรรจุอาหาร

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อให้ผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร
ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร ร้อยละ 70
0.00 85.00

 

2 2.เพื่อให้ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้บริโภคลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร
ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบการร้านอาหาร เขตตำบลท่าบอน ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ร้อยละ 70
0.00 73.34

 

3 3 เพื่อให้โรงเรียน สถานที่ราชการ เป็นองค์กรต้นแบบ ลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร (NOFoam)
ตัวชี้วัด : โรงเรียน สถานที่ราชการ มีนโยบายการประกาศเป็นสถานที่ปลอดโฟม(NOFoam)อย่างน้อย 1 แห่ง
0.00 2.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 168 168
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 84 84
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 0
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 84 84
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้ผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร (2) 2.เพื่อให้ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้บริโภคลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร (3) 3 เพื่อให้โรงเรียน สถานที่ราชการ เป็นองค์กรต้นแบบ ลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร (NOFoam)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และการเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ (2) จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร  เรื่องโทษของการใช้โฟมบรรจุอาหาร ติดสติ้กเกอร์ “Say No To Foam” ติดในชุมชน หมู่บ้าน  โรงเรียน สถานที่ราชการ (3) มอบป้ายโฟมบอร์ด “ร้านนี้ปลอดภัย  ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร” (4) เชิญชวนโรงเรียน  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  สถานที่ราชการ องค์กรเอกชน ร่วมลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และให้เป็นองค์กรปลอดโฟมบรรจุอาหาร 100%  โดยรับการประเมินและรับรองจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอระโนด (5) สรุปและประเมินผลโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการรณรงค์ ชุมชนน่าอยู่ ลด ละ เลิก การใช้ โฟมบรรจุอาหาร จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L5221-2-16

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาคร บุญนำ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด