กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L8009-2-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ 1.นายสมุทรสมัยอยู่ 2.นายสำราญช่วยหา 3. นางสมศรี มานะกล้า 4.นางวัลลี เกสง่า 5.นางมีย๊ะ สมัยอยู่
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 กุมภาพันธ์ 2561 - 28 กุมภาพันธ์ 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2561
งบประมาณ 16,048.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน
พี่เลี้ยงโครงการ นายลิขิตอังสุภาณิช
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ก.พ. 2561 7 มี.ค. 2561 16,048.00
รวมงบประมาณ 16,048.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมาโดยตลอดเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จังหวัดสตูลยังเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จังหวัดสตูลมีสถานการณ์ความรุนแรงของการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นในทุกอำเภอ จากข้อมูลของสำนักงานระบาดวิทยา กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล พบว่าผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมทางระบาดวิทยา ในวันที่ 1 มกราคม 2560 – 30 พฤศจิกายน 2560 มีรายงานผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกทั้งหมด 66 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 21.07 ต่อประชาการแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 3.03 มีการระบาดทุกอำเภอ อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ อำเภอมะนัง อัตราป่วยเท่ากับ 54.11 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ อำเภอทุ่งหว้า อำเภอท่าแพ อำเภอเมือง อำเภอละงู อำเภอควนกาหลง และอำเภอควนโดน อัตราป่วยเท่ากับ 42.30 , 42.05 , 22.44 , 11.31 , 8.78 และ 7.73 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับในส่วนของหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จังหวัด สตูล ไม่มีรายงานการป่วยด้วยโรคไข้เลือดเมื่อวิเคราะห์ค่าดัชนีทางกีฎวิทยา จากการสุ่มประเมินของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล พบว่าค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า HI , CI สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือนและต่อเนื่องต่อไป (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ ; 2560) และส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 10 – 14 ปี รองลงมา คือ อายุ 5 – 9 ปี และ 15 – 24 ปี เนื่องจากจังหวัดสตูลมีลักษณะภูมิประเทศ แบบมรสุมเขตร้อนซึ่งจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูฝน เพราะง่ายต่อการแพร่พันธุ์ของยุงลายซึ่งพาหะนำโรคไข้เลือดออก ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้แก่เยาวชนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นในชุมชนพร้อมทั้งหาวิธีแก้ไขปัญหา ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้เยาวชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้น และชักนำให้ประชาชน องค์กร ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการ ดังนั้นหมู่ที่ 3 บ้านในบ้านได้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ตำบลทุ่งหว้า
อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เพื่อให้โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกกลับมาเกิดขึ้นในชุมชนอีกต่อไป ซึ่งโครงการนี้หวังว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการและชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ อสม. น้อยจำนวน 70 คน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกวิธีและเหมาะสม

อสม.น้อยมีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสมร้อยละ 80 

0.00
2 ข้อที่2 เพื่อให้ อสม.น้อยจำนวน 70 คน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้

อสม.น้อยจำนวน 70 คน สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้

0.00
3 ข้อที่ 3เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชน

ชุมชมหมู่ที่ 3 ค่า HI,CI มีค่าเท่ากับ 0

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
4 - 18 ก.พ. 61 โครงการพัมนาศักยภาพ อสม.น้อย เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2561 70 16,048.00 16,048.00
รวม 70 16,048.00 1 16,048.00
  1. วิธีดำเนินการ
    • ประชุมกลุ่มเพื่อวางแผนการจัดการโครงการ
    • เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
    • เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
    • จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการ
    • ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย/วิทยากร
    • ประชาสัมพันธ์โครงการ
    • รับสมัครแกนนำ อสม. น้อย หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน -ก่อนดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ต้องทำการออกสำรวจลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือน แล้วคำนวณหาค่า House Index (HI), จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย container Index (CI) และจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อบ้านเรือนที่สำรวจทั้งหมด Breteau Index (BI) เพื่อนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบหลังการดำเนินงานโครงการแล้ว -รายละเอียดกิจกรรมภายในโครงการ อสม. น้อยเดินรณรงค์การประชาสัมพันธ์การกำจัดลูกน้ำยุงลายในหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน อสม. น้อย เข้าร่วมกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง “ไข้เลือดออก ภัยร้าย ใกล้ตัวคุณ”บรรยายโดยนางสุทิศา ล่าเต๊ะ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ -กิจกรรมระดมความคิดเรื่องการกำจัดลูกน้ำยุงลาย กิจกรรมสาธิตนวัตกรรมยาหม่องสมุนไพรไล่ยุง โดยนางอรุณวรรณ ดิลกคุณากุล
      -หลังดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ต้องทำการออกสำรวจลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือนอีกครั้งแล้วคำนวณหาค่า House Index (HI), จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย container Index (CI) และจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อบ้านเรือนที่สำรวจทั้งหมด Breteau Index (BI) เพื่อนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินงานโครงการ -ระยะสรุปผล รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผล สรุปผลการดำเนินงาน รายงานผลการดำเนินงาน
  2. ระยะดำเนินการ กุมภาพันธ์ – มีนาคม พ.ศ. 2561
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. อสม.น้อยมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่เยาวชนในชุมชนได้ 2. อสม.น้อยสามารถประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีการป้องกัน และสามารถควบคุมโรคด้วยตนเองให้กับประชาชนในชุมชนได้ 3. อสม.น้อยสามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2561 08:57 น.