กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสารวัตรปราบลูกน้ำยุงลาย ต้านภัยไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L8009-1-007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลทุ่งหว้า
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กุมภาพันธ์ 2561 - 28 กุมภาพันธ์ 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 19,770.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลทุ่งหว้า
พี่เลี้ยงโครงการ นายลิขิต อังสุภาณิช
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลตำบลทุ่งหว้า
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 ก.พ. 2561 30 ก.ย. 2561 19,770.00
รวมงบประมาณ 19,770.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมมือดำเนินการรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มาตั้งแต่ปี พ.ศ 2530 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม
สถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปีจังหวัดสตูลยังเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จังหวัดสตูลมีสถานการณ์ความรุนแรงของการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นในทุกอำเภอ จากข้อมูลของสำนักงานระบาดวิทยา กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล พบว่าผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมทางระบาดวิทยา ในวันที่ 1 มกราคม 2560 – 31 ธันวาคม 2560 มีรายงานผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกทั้งหมด 73 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 23.23 ต่อประชาการแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 2.74 มีการระบาดทุกอำเภอ อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ อำเภอทุ่งหว้า อัตราป่วยเท่ากับ 59.22 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คืออำเภอท่าแพอำเภอมะนัง อำเภอเมืองอำเภอละงู อำเภอควนกาหลงอำเภอควนโดน อัตราป่วยเท่ากับ 45.56 , 45.11 , 21.33 , 12.72 , 8.78 และ 7.73 ต่อประชากรแสนคน อาชีพที่มีผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน จำนวนผู้ป่วย 33 รายพบมากในกลุ่มเด็กอายุ 15 – 24 ปี จำนวนผู้ป่วย 33 ราย รองลงมา คือ อายุ 5 – 9 ปีจำนวน10 คนอำเภอทุ่งหว้ามีผู้ป่วยจำนวน 14 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 59.22 ต่อประชากรแสนคนดังนั้นจึงต้องดำเนินการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน บ้านและชุมชนของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความตระหนัก รู้ถึงภัยอันตรายจากโรคไข้เลือดออก ซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพและชีวิต ที่สำคัญคือให้นักเรียนได้สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้าน/ชุมชนเมื่อวิเคราะห์ค่าดัชนีทาง กีฏวิทยา จากการสุ่มประเมินของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล พบว่าค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า HI , CI สูงกว่า
เป้าหมายที่กำหนด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือนและต่อเนื่องต่อไป จังหวัดสตูลมีลักษณะภูมิประเทศ แบบมรสุมเขตร้อนซึ่งจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูฝน เพราะง่ายต่อการแพร่พันธุ์ของยุงลายซึ่งพาหะนำโรคไข้เลือดออก
โรงพยาบาลทุ่งหว้ามีความเห็นที่จะให้นักเรียนทุกโรงเรียนในเขตเทศบาลทุ่งหว้าเป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชน และร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน จึงได้ทำโครงการสารวัตรปราบลูกน้ำยุงลายต้านภัยไข้เลือดออก ปี2561 เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยให้ครอบคลุมโรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตเทศบาลอำเภอทุ่งหว้ายุทธศาสตร์ของโครงการเน้นให้นักเรียนกำจัดลูกน้ำยุงลาย ในบ้าน โรงเรียนและชุมชนของตนและให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกในพื้นที่มีจุดเน้นอย่างชัดเจนต่อชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่หรือโรงเรียน เพื่อหวังผลในการลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายซึ่งส่งผลให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกลดลงจนเหลือน้อยที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ นักเรียน จำนวน 100 คน มีความรู้ ความเข้าใจ โรคไข้เลือดออก และการป้องกัน/ควบคุมโรคที่ถูกวิธีและเหมาะสม

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ โรคไข้เลือดออก และการป้องกัน/ควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสมร้อยละ 80

0.00
2 ข้อที่2 เพื่อให้ นักเรียน จำนวน 100 คน มีกิจกรรมทำลายแหล่งพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย ที่โรงเรียน บ้าน และชุมชนของนักเรียน

โรงเรียน จำนวน 3 โรง ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน

โรงเรียนมีค่า  CI  เท่ากับ 0

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
30 ม.ค. 61 โครงการสารวัตรปราบลูกนำ้ยุงลาย ต้านภัยไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2561 100 19,770.00 19,770.00
รวม 100 19,770.00 1 19,770.00
  1. ระยะเตรียมการ
    • ประสานงานคุณครูเพื่อวางแผนการจัดการโครงการ
    • เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
    • แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน
    • เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
    • จัดทำแผนขออนุมัติออกปฏิบัติงาน
    • จัดทำหนังสือแจ้งโรงเรียน
    • จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการ
    • ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย/วิทยากร
  2. ระยะดำเนินการ 2.1 ก่อนดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม รณรงค์/สำรวจลูกน้ำยุงลายแต่ละโรงเรียน แล้วคำนวณหาค่า จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย container Index (CI)เปรียบเทียบหลังการดำเนินงานโครงการแล้ว 2.2 รายละเอียดกิจกรรมภายในโครงการ

- ตัวแทนนักเรียน เข้าร่วมกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคไวรัสซิกา
-กิจกรรมระดมความคิดเรื่อง“การป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนของหนู” - กิจกรรมตอบคำถามแจกรางวัล - แจกสมุดคู่มือรณรงค์ปราบลูกน้ำยุงลาย คนละ 1เล่ม
2.3 หลังดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม รณรงค์/สำรวจลูกน้ำยุงลายแต่ละโรงเรียนรอบที่สอง ภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย container Index เพื่อนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินงานโครงการ - ให้เด็กนักเรียนมีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง แล้วให้ลงบันทึกในสมุดคู่มือรณรงค์ปราบลูกน้ำยุงลาย
2.4 ระยะสรุปผล - รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผล - สรุปผลการดำเนินงาน - รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครูนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนตระหนัก มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย จนเป็นกิจวัตรทั้งที่บ้านโรงเรียน และชุมชน
  2. นักเรียนสามารถประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีการป้องกัน ควบคุมโรคโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
  3. โรงเรียน บ้านและชุมชนของนักเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2561 10:24 น.