กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
โครงการสารวัตรปราบลูกนำ้ยุงลาย ต้านภัยไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 256128 กุมภาพันธ์ 2561
28
กุมภาพันธ์ 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการ สารวัตรปราบลูกน้ำยุงลาย ต้านภัยไข้เลือดออกเครือข่ายโรงเรียนในเขตโรงพยาบาลทุ่งหว้าตำบลทุ่งหว้าอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ นักเรียนจำนวน๑๐๐คน มีความรู้ ความเข้าใจโรคไข้เลือดออก และการป้องกัน/ ควบคุมโรคที่ถูกวิธีและเหมาะสมมีกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายที่โรงเรียน บ้าน และชุมชนของนักเรียน โดยดำเนินโครงการในวันพุธ ที่๒๘กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น ๑๐๒ คน สำหรับผลการดำเนินจัดโครงการสรุปได้ดังนี้ ๑.๑ การประเมินความรู้จากแบบทดสอบความรู้ ก่อน-หลัง อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ผู้จัดทำโครงการได้จัดทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ โดยใช้แบบทดสอบประเมินความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑๐ ข้อ คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน ซึ่งผลสรุปจากการทดสอบความรู้ก่อนและหลังดังนี้ ตารางที่ ๑ แสดงการประเมินความรู้ก่อน และหลังการอบรมให้ความรู้ คะแนนที่ได้/จำนวนนักเรียน การทดสอบความรู้ คะแนนเต็มการทดสอบความรู้๑๐คะแนน/คน ๙คะแนน/คน๘คะแนน/คน ๗คะแนน/คน ๖คะแนน/คน ๕คะแนน/คน ๔คะแนน/คน๓คะแนน/คน ๒คะแนน/คน ๑ คะแนน/คน ก่อน ๑๐๐๑๐ ๒๒๑๔๗๓๗ ๖๓ ๐๑ หลัง ๑๐ ๒๑ ๑๗ ๓๒๑๑๗๓ ๔๓ ๒๐ ตารางที่ ๒ แสดงการประเมินความรู้ก่อน และหลังการอบรมให้ความรู้ การทดสอบความรู้ คะแนนเต็ม คะแนนสูงสุด คะแนนต่ำสุด คะแนนค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ ก่อน ๑๐ ๙ ๑ ๖.๒๕๖๒.๕๐ หลัง๑๐๑๐ ๒ ๗.๘๒๗๘.๒๐ ๑.๒ การประเมินผลของแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายจากการเดินรณรงค์สำรวจลูกน้ำ ของ สารวัตรปราบลูกน้ำยุงลาย ก่อน – หลังทำโครงการ โดยมีกิจกรรมการเดินรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จึงได้มีการประเมินผลจากค่าCI I ซึ่งผลจากการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายก่อนและหลังทำโครงการดังนี้ ตารางที่ ๓แสดงผลการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ระยะการสำรวจ จำนวนโรงเรียนที่สำรวจ จำนวนภาชนะที่สำรวจจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำ ค่า CI ก่อนทำโครงการ ๓๑๑๗ ๑๔๑๑.๙๖ หลังทำโครงการ ๓๑๐๑๑ ๐.๙๙ ผลการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายก่อนทำโครงการพบว่ามี ค่า CIเท่ากับ ๑๑.๙๖ และหลังทำโครงการพบว่า มีค่าCIเท่ากับ ๐.๙๙ สรุปได้ว่าผลการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายหลังทำโครงการลดลงการฝึกทักษะการลงข้อมูลหลังการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายให้เกิดกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่โรงเรียน บ้านและชุมชนของนักเรียน อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับสมุดบันทึกคู่มือรณรงค์ปราบลูกน้ำยุงลาย โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติในการปราบลูกน้ำยุงลาย - รับสมุดบันทึกกิจกรรมจากครู - กรอกชื่อ ชั้น โรงเรียน ชื่อครูประจำชั้น ชื่อผู้ปกครอง - ทุกวันศุกร์ นำสมุดกลับบ้านแจ้งให้ผู้ปกครองรับทราบ - ปฏิบัติการออกสำรวจภาชนะที่มีน้ำขัง บริเวณบ้าน ตรวจดูลูกน้ำ ถ้าพบให้ทำลายทันทีทุกภาชนะ - นำข้อมูลที่ได้ทำการสำรวจมากรอกในแบบฟอร์ม - นำแบบฟอร์มให้ผู้ปกครองเซ็นต์รับทราบ -นำสมุดแบบฟอร์มกลับมาให้ครูเซ็นต์รับรองในวันจันทร์ ๑.๓ ผลจากการทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ สารวัตรปราบลูกน้ำยุงลายต้านภัยไข้เลือดออกประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑จำนวน๑๐๐ชุด ดังนี้ ตารางที่ 1 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ระดับความพึงใจ ความพึงพอใจมากที่สุด (๕)มาก (๔) ปานกลาง(๓)น้อย(๒) น้อยที่สุด (๑) ค่า( x ) แปลผล
สถานที่จัดกิจกรรม ๘๐ ๑๖๔๐ ๐๔.๓๒มาก ความพร้อมในการจัดกิจกรรม๖๗ ๒๓ ๑๐๐ ๐ ๔.๕๗ มากที่สุด ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม ๖๘๒๖๓๒ ๐ ๔.๕๗ มากที่สุด การบริการอาหารและเครื่องดื่ม๗๑ ๒๘๑ ๐ ๐ ๔.๕๐ มาก วิทยากรอบรมให้ความรู้๗๔๑๗๙ ๐ ๐ ๔.๖๕ มากที่สุด กิจกรรมนันทนาการ๗๙๑๙ ๒ ๐ ๐ ๔.๗๗ มากที่สุด ความประทับใจที่ได้เข้าร่วมโครงการ๖๘๒๓๙ ๐ ๐ ๔.๕๙ มากที่สุด ภาพรวมของกิจกรรมทั้งหมด ๘๐๑๕ ๕ ๐ ๐ ๔.๗๕ มากที่สุด เกณฑ์การประเมินความพึงพอใจ
ค่าเฉลี่ย แปลค่า ๔.๕๑ – ๕.๐๐มากที่สุด ๓.๕๑ – ๔.๕๐มาก ๒.๕๑ – ๓.๕๐ ปานกลาง ๑.๕๑ – ๒.๕๐ น้อย ๑.๐๐ – ๑.๕๐น้อยที่สุด สรุปผล จากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการสารวัตรปราบลูกน้ำยุงลายต้านภัยไข้เลือดออกประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๑คิดเป็น ๔.๗๕อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยมากที่สุด ในการจัดทำโครงการ ครูอนามัยโรงเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และนักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี สนใจฟังในเนื้อหาวิชาการและมีความสนุกสนานในการถาม-ตอบมีรางวัล จากผลการติดตามโครงการ 1. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 2.1 การบรรลุตามวัตถุประสงค์ บรรลุตามวัตถุประสงค์ 1.2. จำนวนผู้เข้าร่วมใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ๑๐๒คน 2.การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้การอนุมัติ ๑๙,๗๗๐บาท งบประมาณที่เบิกจ่ายจริง๑๙,๗๗๐ บาท งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ 0บาท 3. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน ไม่มี 1. ปัญหา/ อุปสรรค (ระบุ)
- การประสานงานในการดำเนินกิจกรรมเกิดความล่าช้าเนื่องจากแต่ละโรงเรียนมีกิจกรรมไม่พร้อมกัน - ระยะเวลาในการทำโครงการใกล้ช่วงเด็กๆ ปิดเทอม และทางโรงเรียนมีกิจกรรมหลายอย่าง 2. ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ครู  นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนตระหนัก มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย จนเป็นกิจวัตรทั้งที่บ้าน  โรงเรียน และชุมชน
  2. นักเรียนสามารถประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีการป้องกัน ควบคุมโรคโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
  3. โรงเรียน บ้านและชุมชนของนักเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย