กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ลดการใช้กล่องโฟมเพื่อสุขภาพที่ดีของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
รหัสโครงการ 61-L2492-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์
วันที่อนุมัติ 5 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 สิงหาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 27,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัสวาณีย์ เปาะเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง การใช้ชีวิตที่ต้องมีความเร่งรีบทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านจำหน่ายอาหารมากขึ้นถึงแม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการรณรงค์ ลด ละ เลิกการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีร้านอาหารจำนวนไม่น้อยที่มีการใช้ภาชนะโym]ฟมบรรจุอาหารเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยและทั่วโลก เนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความตระหนักของร้านค้าถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค การใช้กล่องโฟมอย่างผิดประเภท เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้คนไทยเจ็บป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มมากขึ้นทุกปี การรับประทานอาหารบรรจุกล่องโฟมทุกวัน วันละอย่างน้อย 1 มื้อ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ก็จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงกว่าคนปกติถึง 6 เท่า
โฟม (Foam) ที่ใช้โฟมที่ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารผลิตมาจากวัสดุโพลิเมอร์ชนิดโพลิสไตรีน(Polystyrene) การนำภาชนะโฟมมาบรรจุอาหารร้อนสูงหรือมีไขมันเป็นเวลานาน ทำให้โฟมเสียรูปทรงและอาจหลอมละลายจนมีสารเคมีปนเปื้อนมากับอาหารได้สารเคมีที่พบในโฟม ได้แก่ สารสไตรีน (Styrene)ซึ่งจัดอยู่ในสารก่อมะเร็งในกลุ่ม 2B (Carcinogen Group 2B) ก่อให้เกิดอันตรายเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมในผู้หญิง มะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชายและมีโอกาสสูงต่อการเป็นมะเร็งตับ มีผลต่อสมองและเส้นประสาท ทำให้อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย นอนหลับยาก ประจำเดือนมาไม่ปกติ สมองเสื่อมง่าย ความจำเสื่อม สมาธิสั้น ชาปลายมือปลายประสาทส่วนสารเบนซิน (Benzene)ที่มีอยู่ในกล่องโฟมจะละลายได้ดีในน้ำมัน ส่งผลต่อร่างกายมีความเป็นพิษสูงและเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เกิดอาการวิงเวียน อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ถ้าได้รับสารเป็นเวลานานทำให้เป็นโรคโลหิตจาง (Anemia) มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia)นอกจากนี้ยังพบสารพทาเลท(Phthalate) เป็นสารที่มีพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้เป็นหมันในผู้ชาย หญิงมีครรภ์อาจทำให้กำเนิดลูกที่มีอาการดาวน์ (Down Syndrome) ทำลายไตและระบบทางเดินอาหาร
นอกจากผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ภาชนะโฟม นั้นมีอายุการย่อยสลายยาวนานถึง 1,000 ปี ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงมากนักและผลิตได้ครั้งละมากๆ ทำให้เกิดการใช้จนไม่เสียดาย เพราะใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ส่งผลให้ขยะจากพลาสติกเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในทุกปี โดยไทยมีปริมาณขยะพลาสติกและโฟมมากถึง 2.7 ล้านตัน หรือ เฉลี่ย 7,000 ตันต่อวัน แบ่งเป็นถุงพลาสติกร้อยละ 80 หรือ 5,300 ตันต่อวัน ส่วนที่เหลือเป็นขยะโฟมประมาณ 700,000 ตัน หากใช้วิธีฝังกลบจะใช้พื้นที่มากกว่าขยะปกติถึง 3 เท่า และมีสารตกค้างในสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก เกิดการปนเปื้อนของสารตกค้างในดินและน้ำ ส่งผลก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก สาเหตุของภาวะโลกร้อน หากยังคงมีการใช้ภาชนะโฟมต่อไปจะยิ่งเพิ่มปัญหาในการจัดการขยะที่เป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศไทยยิ่งขึ้น จากสาเหตุดังกล่าวที่ทวีความรุนแรงต่อสังคมและคุณภาพชีวิตประชาชนไทยอย่างเห็นได้ชัดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เล็งเห็นถึงความสำคัญและเป็นก้าวแรกของการรณรงค์ให้นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ หันกลับมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยทดแทนการใช้โฟม เช่น การใช้กล่องอาหาร กล่องอาหารชานอ้อย เป็นต้น และให้เกิดความตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากกล่องโฟม ลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ลดการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารแก่นักศึกษา บุคลากรและร้านอาหารในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

นักศึกษา บุคลากร และร้านอาหารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ให้ความร่วมมือในการรณรงค์โดยการเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 

0.00
2 เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้กล่องโฟม

นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้กล่องโฟม ร้อยละ 60

0.00
3 เพื่อสร้างความตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ กล่องโฟม ของนักศึกษา บุคลากร และร้านอาหาร ใน มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

นักศึกษา บุคลากร และร้านอาหาร ในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ แสดงทัศนคติที่แสดงถึงความตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม ร้อยละ 70

0.00
4 เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หันมาใช้กล่องอาหารที่ปลอดภัยแทนกล่องโฟม และเลือกซื้ออาหารจากร้านที่ปลอดกล่องโฟม

นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสรานครินทร์หันมาใช้กล่องอาหารที่ปลอดภัยแทนกล่องโฟม จากการติดตามต่อเนื่อง
ร้อยละ 60

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,880.00 3 27,500.00
26 เม.ย. 61 ให้ความรู้เพื่อลดการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารแก่นักศึกษา บุคลากรและร้านอาหารในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 0 27,500.00 24,620.00
31 ส.ค. 61 ติดตามพฤติกรรมการใช้กล่องโฟม ของนักศึกษา บุคลากรแลร้านอาหารหลังการรณรงค์โครงการ 0 1,380.00 1,380.00
30 พ.ย. 61 จัดกิจกรรมรณรงค์โครงการลดการใช้กล่องโฟมเพื่อสุขภาพที่ดีของ ในกลุ่มนักศึกษา บุคลากร และร้านอาหารในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 0 0.00 1,500.00
  1. สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการใช้กล่องโฟมของนักศึกษา บุคลากรและร้านอาหาร ในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  2. ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนจัดทำโครงการ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการภายในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  4. จัดอบรมให้ความรู้เพื่อให้เกิดความตระหนักเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร แก่แกนนำนักศึกษาและบุคลากรจากคณะต่างๆของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  5. จัดกิจกรรมรณรงค์โครงการลดการใช้กล่องโฟมเพื่อสุขภาพที่ดีของ ในกลุ่มนักศึกษา บุคลากร และร้านอาหารในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  6. ติดตามพฤติกรรมการใช้กล่องโฟมของนักศึกษา บุคลากรและร้านอาหารหลังการรณรงค์โครงการ ทุก 1 เดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน
  7. ออกประกาศณียบัตรแก่คณะต้นแบบที่ชนะการประกวดและออกป้ายสัญลักษณ์ร้านปลอดโฟมแก่ร้านที่ไม่มีการใช้กล่องโฟม
  8. สรุปและประเมินผลโครงการ และรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของ นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ให้หันมาใช้บรรจุภัณฑ์ เช่น กล่องใส่อาหาร ปิ่นโต เป็นต้น แทนการใช้กล่องโฟม
  2. สามารถสร้างความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัวของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ หลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษจากกล่องโฟม
  3. ร้านอาหารต่างๆ ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย เกิดความตระหนักถึงอันตรายในการใช้บรรจุภัณฑ์อาการประเภทกล่องโฟม และหันมาใช้บรรจุภัณฑ์อื่นทดแทนกล่องโฟม
  4. สามารถเป็นแบบอย่างในการรณรงค์ลดการใช้กล่องโฟมแก่ชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2561 12:03 น.