กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด


“ โครงการใส่ใจสุขภาพ "ต้านโรคมะเร็งปากมดลูก" ปีงบประมาณ 2561 ”

ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางสมศรี คำคง

ชื่อโครงการ โครงการใส่ใจสุขภาพ "ต้านโรคมะเร็งปากมดลูก" ปีงบประมาณ 2561

ที่อยู่ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 30 มกราคม 2561 ถึง 20 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการใส่ใจสุขภาพ "ต้านโรคมะเร็งปากมดลูก" ปีงบประมาณ 2561 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการใส่ใจสุขภาพ "ต้านโรคมะเร็งปากมดลูก" ปีงบประมาณ 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการใส่ใจสุขภาพ "ต้านโรคมะเร็งปากมดลูก" ปีงบประมาณ 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 30 มกราคม 2561 - 20 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 1,404.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาสถิติ การคาดประมาณในปี ๒๕๔๓ ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่จำนวน ๔๖๖,๐๐๐ราย อยู่ในประเทศที่พัฒนา ๙๖,๐๐๐ ราย และในประเทศที่กำลังพัฒนา ๓๗๐,๐๐๐ ราย ทั่วโลกมีสตรีที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก ๒๓๑,๐๐๐ รายต่อปี และมากกว่าร้อยละ ๘๐ จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศไทยโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทยเริ่มพบก่อนอายุ ๒๐ปี แต่พบได้น้อยมากและพบมากที่สุดระหว่างอายุ ๔๕ – ๕๐ ปี และพบว่าเป็นชนิด Squamous cell carcinoma ร้อยละ ๘๐ – ๘๖และเป็นชนิดAdenocacinoma ร้อยละ ๑๒ – ๑๙ ของโรคมะเร็งปากมดลูกทั้งหมดจากสถิติใน ๕ จังหวัดที่ทำทะเบียนมะเร็งในระดับประชากร ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด๕ ปี เป็นร้อยละ ๖๘.๒ ในจังหวัดเชียงใหม่ และร้อยละ ๕๔.๕ ในจังหวัดขอนแก่น แต่อัตราการอยู่รอด ๕ ปีจะดีขึ้น ถ้าพบในระยะเริ่มแรกจากข้อมูลอัตราอุบัติการใน 5 จังหวัด ในแต่ละภาคของประเทศทำให้คาดประมาณได้ว่าจะมีผู้ป่วยใหม่ทั้งประเทศรวมกันไม่น้อยกว่า ๘,๐๐๐ รายในปี ๒๕๕๑ โรคมะเร็ง ปากมดลูกในสตรีไทยส่วนใหญ่เป็นมากเมื่อ อายุ ๓๕ ปีขึ้นไปการทำ Pap Smear๑ ครั้งทุก ๕ ปี เนื่องจากขบวนการเกิดโรคมะเร็งหลังจากที่มีการติดเชื้อ Hunman papilloma viruses ชนิด High – risk types จะใช้เวลานานกว่า ๑๐ ปี ในการทำให้เกิดเป็น Invasive cancer จากผลการศึกษาของ Internation Agency for Research on Cancer ( IARC/WHO) พบว่าถ้าทำ Pap Smear๑ครั้งทุกปี , ๑ ครั้งทุก ๒ ปี หรือ ๑ ครั้งทุก ๓ ปี จะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงร้อยละ ๙๑ – ๙๓ ทำ Pap Smear ๑ ครั้งทุก ๕ ปี จะลดลงร้อยละ ๘๔จึงเป็นการดีที่หากมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในช่วงอายุ และระยะเวลาที่กำหนด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทรตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เห็นความสำคัญของปัญหานี้ และเพื่อสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้ สตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ได้รับการตรวจภายในเพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของกลุ่มเป้าหมาย ในปี พ.ศ ๒๕60 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทรจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการใส่ใจสุขภาพต้านโรคมะเร็งปากมดลูก ในสตรีกลุ่มอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ดังกล่าวขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้สตรี อายุ ๓๐ – ๖๐ ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ โรคมะเร็งปากมดลูก
  2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้
  2. กิจกรรมตรวจภายในค้นหาเซลมะเร็ง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 702
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ สตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจหามะเร็งปากมดลูก ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๒๐
๒ สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ๓ สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบภาวะผิดปกติ ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วสามารถลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปากมดลูกระยะรุนแรงได้


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

วันที่ 22 พฤษภาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงอายุ 30-60 ปี โดยการแจกแผ่นพับพร้อมเอกสารใบความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกให้แก่สตรี ผู้เข้าร่วมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับเอกสารใบความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก จำนวน 702 คน ทำให้สตรีมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น

 

702 0

2. กิจกรรมตรวจภายในค้นหาเซลมะเร็ง

วันที่ 5 มิถุนายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

ให้บริการตรวจภายในค้นหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกให้แก่สตรี อายุ 30-60 ปี ในระหว่างวันที่ 6-7 มิถุนายน 2561 ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจภายในเพื่อค้นหาเซลมะเร็ง จำนวน 175 คน พบผลผิดปกติต้องรับประทานยา จำนวน 12 คน ส่งต่อพบแพทย์ จำนวน 1 คน
ผลการติดตามผลการตรวจเซลล์มะเร็งปากมดลูกจากโรงพยาบาลพัทลุง ไปรับการตรวจภายในค้นหาเซลล์มะเร็ง จำนวน 45 ราย พบผิดปกติ จำนวน 4 ราย ได้รับการผ่าุตัดมดลูก 1 ราย

 

140 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเป้าหมาย 702 คน ได้รับการรณรงค์ให้ความรู้โดยการแจกแผ่นพับเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก จำนวน 702 คน และรณรงค์ให้บริการตรวจภายในค้นหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกในวันที่ 5-7 มิถุนายน 2561 เวลา 09.00-16.00 น. ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ได้รับการตรวจภายใน 175 คน พบผิดปกติที่ต้องรับประทานยาและทายา จำนวน 12 คน ได้รับพบผิดปกติที่ต้องส่งต่อ จำนวน 1 คน และติดตามผลการตรวจเซลล์มะเร็งปากมดลูกจากโรงพยาบาลพัทลุง ไปรับการตรวจภายในค้นหาเซลล์มะเร็ง จำนวน 45 ราย พบผิดปกติ 4 ราย ได้รับการผ่าตัดมดลูก 1 ราย

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้สตรี อายุ ๓๐ – ๖๐ ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ โรคมะเร็งปากมดลูก
ตัวชี้วัด : สตรี อายุ ๓๐ – ๖๐ ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ โรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80
702.00 702.00

 

2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
ตัวชี้วัด : สตรีที่ตรวจพบเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาร้อยละ 100
0.00 175.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 702
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 702
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้สตรี อายุ ๓๐ – ๖๐ ปี  มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ โรคมะเร็งปากมดลูก (2) เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก  ระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้ (2) กิจกรรมตรวจภายในค้นหาเซลมะเร็ง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการใส่ใจสุขภาพ "ต้านโรคมะเร็งปากมดลูก" ปีงบประมาณ 2561 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสมศรี คำคง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด