กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง


“ บ้านโคกสักออก รักษ์สุขภาพด้วย 3อ.2ส. ”

ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายอมรเทพ บุญรอด

ชื่อโครงการ บ้านโคกสักออก รักษ์สุขภาพด้วย 3อ.2ส.

ที่อยู่ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2561


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านโคกสักออก รักษ์สุขภาพด้วย 3อ.2ส. จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านโคกสักออก รักษ์สุขภาพด้วย 3อ.2ส.



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านโคกสักออก รักษ์สุขภาพด้วย 3อ.2ส. " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 14 กุมภาพันธ์ 2561 - 28 กุมภาพันธ์ 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 13,130.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ทั้งโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมาก โดยเมื่อเทียบจากปี พ.ศ.2557-2558 พบว่าอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นคิดเป็น 1,710.89 คน และ 1,894.46 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ตามลำดับ และโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นคิดเป็น 1,032.50 คน และ 1.233.35 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนตามลำดับ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข, 2558) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ ครั้งล่าสุด ปี 2558 พบว่ามีความชุกของภาวะน้ำหนักเกินร้อยละ 30.5ภาวะอ้วนร้อยละ 7.5การสูบบุหรี่ในปัจจุบันร้อยละ 21.3 การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปัจจุบันร้อยละ 36.2 และการรับประทานผักและผลไม้เฉลี่ยมากกว่า 5 หน่วยมาตรฐานต่อวัน ภายใน 7 วันที่ผ่านมาร้อยละ 24.3 (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2559) จากฐานข้อมูล JHCIS โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วงปี 2560 พบว่าหมู่ที่ 4 บ้านโคกสักออก มีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป จำนวน 381 คน มีภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 3 ลำดับแรก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 66 ราย โรคเบาหวาน จำนวน 22 ราย และโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 10 ราย ซึ่งสอดคล้องกับการเก็บข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของตัวแทนครัวเรือน 56 ครัวเรือน จาก 222 ครัวเรือน เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 พบว่ามีสมาชิกของครัวเรือนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 13 ครัวเรือน และโรคเบาหวานจำนวน 6 ครัวเรือน และโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 4 ครัวเรือน โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ คือ การบริโภคอาหารรสหวาน ได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลร้อยละ 55.35 และเติมน้ำตาลเพิ่มในอาหารแต่ละมื้อ ร้อยละ 14.29 การบริโภคอาหารที่มีเกลือสูงโดยการเติมเครื่องปรุงรสเค็มร้อยละ 30.36 การบริโภคอาหารไขมันสูงโดยการรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง ร้อยละ 32.14 รับประทานอาหารทอด ร้อยละ 21.43 และรับประทานอาหารหรือขนมที่ปรุงด้วยกะทิ ร้อยละ 5.36 นอกจากนี้ ยังพบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่ไม่ออกกำลังกายร้อยละ 62.50และมีพฤติกรรมสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 39.41 และ 51.79 ตามลำดับ ผลจากการทำประชาคมเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 17 คน ประกอบด้วย รองนายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วง ตัวแทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ประธานกลุ่มต่าง ๆ คุณครูโรงเรียนบ้านปลักคล้า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และตัวแทนชาวบ้าน หมู่ที่ 4 บ้านโคกสักออก ได้มีมติเห็นตรงกันว่า ควรมีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจากโมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้กล่าวไว้ว่าบุคคลไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้จากการคิดเพียงครั้งเดียว แต่จะค่อยๆพัฒนาการคิดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปทีละขั้น ซึ่งจะต้องเกิดจากการมีความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (กุลธิดา และอติพร, 2556) ดังนั้นจึงต้องมีการให้ความรู้และการกระตุ้นให้คนในชุมชนหันมาออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และลดพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อลดปัญหาโรคเรื้อรังต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
ดังนั้น ทางกลุ่มนักศึกษาร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านโคกสักออก จึงได้จัดทำโครงการ “บ้านโคกสักออก รักษ์สุขภาพด้วย 3อ.2ส.” เพื่อให้ประชาชนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความตระหนัก และทักษะในการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งจะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีของคนในชุมชนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  3. เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. โครงการบ้านโคกสักออก รักษ์สุขภาพด้วย 3อ.2ส.

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
  2. ประชาชนกลุ่มที่ตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อรายชื่อแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง เพื่อการดูแลรักษาและติดตามอย่างต่อเนื่อง
  3. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความตระหนัก และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติ เพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการ การดำเนินการจัดโครงการสุขภาพเป็นไปตามแบบแผนที่วางไว้ โดยมีการจัดทำประชาคมเพื่อร่วมกันค้นหาประเด็นปัญหาและความต้องการของชุมชนในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 และได้มีการกำหนดวันการทำโครงการ “บ้านโคกสักออก รักษ์สุขภาพด้วย 3อ.2ส.” ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 การดำเนินโครงการเป็นไปตามแผนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2.ประเมินประสิทธิผล ประสิทธิผลโครงการ=  (ผลลัพธ์ที่ทำได้ ×100)/เป้าหมายที่กำหนดไว้ เป้าหมายที่ 1 ร้อยละ 35 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ผลการประเมิน: มีประชากรกลุ่มเสี่ยงมารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 63 คน จากทั้งหมด 251 คน คิดเป็นร้อยละ 25.1  ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผล ได้ดังนี้
ประสิทธิผลโครงการ =    (25.1 × 100)/35 =    71.71 % ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่าประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากประชากรกลุ่มเสี่ยงบางส่วน ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ เพราะยังประกอบอาชีพกรีดยางและเก็บน้ำยางหรือปฏิบัติภารกิจส่วนตัวไม่เสร็จ รวมทั้งอาจมีความเหนื่อยล้าจากการทำงาน นอกจากนี้ยังมีประชากรบางส่วน ที่มีชื่ออยู่ภายในหมู่บ้าน แต่ไม่ได้อาศัยอยู่ภายในหมู่บ้าน
เป้าหมายที่ 2 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 60 คน จากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 66 คน คิดเป็นร้อยละ 90.91 ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผล ได้ดังนี้
ประสิทธิผลโครงการ =    (90.91 × 100)/80       =    113.64
ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ตามเป้าหมาย ซึ่งแปลผลได้ว่า การดำเนินโครงการในวัตถุประสงค์นี้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความน่าสนใจ เนื้อหาไม่มากจนเกินไป เข้าใจง่าย เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และใช้เวลาในการไม่มากจนเกินไปในการให้ความรู้ เป้าหมายที่ 3 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการสาธิตการจัดเมนูอาหารใน 1 มื้อ ทั้งหมด 53 คน จากผู้เข้าร่วมโครงการ 66 คน คิดเป็นร้อยละ 80.3 ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผล ได้ดังนี้ ประสิทธิผลโครงการ =    (80.3 ×100)/80     = 100.38 ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการสาธิตการจัดเมนูอาหารใน 1 มื้อ ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งแปลผลได้ว่า ผลการดำเนินโครงการนี้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากอาหารที่ได้ยกตัวอย่าง เป็นอาหารที่ชาวบ้านมักจะทานเป็นประจำ และมีความคุ้นชินอยู่เดิมแล้ว จึงทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เป้าหมายที่ 4 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 50 คน จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 53 คน คิดเป็นร้อยละ 94.34 ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผล ได้ดังนี้ ประสิทธิผลโครงการ =  (94.34 × 100)/80     =  117.92 ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ตามเป้าหมาย ซึ่งแปลผลได้ว่า การดำเนินโครงการในวัตถุประสงค์นี้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการ มีความสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังกาย และให้ความสำคัญในการออกกำลังกายมาก อีกทั้งการให้ความรู้ในเรื่องของการออกกำลังกาย ยังมีสื่อให้กับผู้ที่สนใจ สามารถนำไปปฏิบัติต่อที่บ้าน เป้าหมายที่ 5 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการสาธิตย้อนกลับการบริหารท่ามณีเวช ทั้งหมด 47 คน จากผู้เข้าร่วมโครงการ 53 คน คิดเป็นร้อยละ 88.67 ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผล ได้ดังนี้ ประสิทธิผลโครงการ = (88.67 ×100)/80    = 110.83
ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการสาธิตย้อนกลับการบริหารท่ามณีเวชได้ตามเป้าหมาย ซึ่งแปลผลได้ว่า ผลการดำเนินโครงการนี้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการให้ความสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายเป็นอย่างมาก และการบริหารร่างกายด้วยมณีเวช เป็นการออกกำลังกายที่เข้าใจง่าย สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เป้าหมายที่ 6 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 49 คน จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 49 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผล ได้ดังนี้ ประสิทธิผลโครงการ =    (100 x 100)/80      =    125 ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ตามเป้าหมาย ซึ่งแปลผลได้ว่าการดำเนินโครงการในวัตถุประสงค์นี้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจาก ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางส่วน มีความตระหนักในการลด ละ เลิก บุหรี่และสุราอยู่แล้ว อีกทั้งการให้ความรู้ในเรื่องของบุหรี่และสุรา เป็นการเน้นการให้บริการรายบุคคล ทำให้ผู้เข้าร่วมบริการมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักมาก

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 35 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
35.00

 

2 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
80.00

 

3 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (2) เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (3) เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) โครงการบ้านโคกสักออก รักษ์สุขภาพด้วย 3อ.2ส.

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


บ้านโคกสักออก รักษ์สุขภาพด้วย 3อ.2ส. จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอมรเทพ บุญรอด )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด