กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา


“ โครงการบ้านสะอาด ปลอดขยะ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2561 ”

อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายวรกรจันทร์แก้ว อสม.ชุมชนสวนพระนิเทศ

ชื่อโครงการ โครงการบ้านสะอาด ปลอดขยะ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2561

ที่อยู่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L7250-2-27 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบ้านสะอาด ปลอดขยะ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2561 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบ้านสะอาด ปลอดขยะ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการบ้านสะอาด ปลอดขยะ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 61-L7250-2-27 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 6,350.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ซึ่งสามารถแพร่พันธุ์ได้ดีในช่วงฤดูฝน การรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน/ชุมชนจำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดเชื้อโรคไข้เลือดออกและจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดโรคในพื้นที่ จึงจะสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกให้สงบได้ จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2560 พบว่า อัตราป่วยสะสมของโรคไข้เลือดออก สัปดาห์ที่ 39 ปี 2560 ตั้งแต่ 1 มกราคม - 3 ตุลาคม 2560 ของจังหวัดสงขลา มีผู้ป่วย จำนวน 2,744 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร 195.17 (สำนักงานโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค, 2560) และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน 2560 พบผู้ป่วยสะสมโรคไข้เลือดออกจำนวน 23 ราย (อัตราป่วย 529.93 ต่อแสนประชากร) ในขณะที่ชุมชนสวนพระนิเทศ ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ของชุมชนที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ มีผู้ป่วยจำนวนสูงสุดถึง 9 ราย เนื่องจากมีประชากรที่หนาแน่นหลายพันครัวเรือนการปลูกอาคารบ้านเรือนที่หนาแน่น และชุมชนแออัด ส่งผลให้การดูแลทำความสะอาดถนน คูระบายน้ำ และพื้นที่สาธารณะต่างๆ ไม่ทั่วถึง อีกทั้งขาดความร่วมมือเอาใจใส่จากประชาชนในชุมชน จึงก่อให้เกิดการแพร่พันธ์ยุงลายในบริเวณกว้าง ทำให้มีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออก ทุกกลุ่มอายุและทุกวัย โดยคาดว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดปี หากไม่มีการเร่งรัดป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก โดยเป้าหมายหลักคือ ต้องร่วมมือกันจำกัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค จากปัญหาดังกล่าว ทางชุมชนสวนพระนิเทศ ได้เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยมีความเห็นร่วมกันที่จะให้ แกนนำ อสม. เป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชนและร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในโรคไข้เลือดออก การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง และการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมโรคและป้องกันโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้จึงได้จัดทำโครงการ “บ้านสะอาด ปลอดขยะ” ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ2561 ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรค ไข้เลือดออก 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  2. 3. เพื่อลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน 10 และ CI เท่ากับ 0 4. เพื่อประกาศเกียรติคุณชุมชน/ซอย ที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก
    2. ลดการแพร่ระบาดของโรคและลดอัตราป่วย/ของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    1. สรุปกิจกรรม ที่ได้ดำเนินการ มีดังนี้
      1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง/คณะทำงานและ แกนนำ อสม./ประชาชนในชุมชนเพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ รายละเอียดกิจกรรม และติดตามการดำเนินงานโครงการ
      2. แกนนำ อสม./ประชาชน ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทางหอกระจายข่าว
      3. เดินรณรงค์ ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลาย โดยวิธี การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ใช้สารเคมี โดยการใส่ทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และสนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ รวมถึงแจกเอกสารแผ่นพับเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
      4. สำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลาย ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน ตามมาตรการหลัก 3 เก็บ + 5ป. 1ข. + 5ส. ดังนี้ 3 เก็บ คือ เก็บบ้าน เก็บน้ำ เก็บขยะ 5ป. 1ข. คือ 1. ปิดภาชนะใส่น้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายวางไข่ ในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ หรือให้ใส่เกลือ น้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอกลงในจานรองตู้กับข้าวเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ได้ 2. เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ จานรองขาตู้กับข้าว และภาชนะใส่น้ำที่ให้สัตว์เลี้ยงต่างๆ ภายในบ้านเรือน เช่น นก ไก่ สุนัข แมว ทุกสัปดาห์หรือใส่เกลือแกง น้ำส้มสายชู ล้างภาชนะน้ำดื่ม น้ำใช้ ทุก 7 วัน เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่ 3. ปล่อยปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ในโอ่งน้ำ บ่อน้ำ หรืออ่างน้ำ อ่างบัว เพื่อทำลายลูกน้ำยุงลาย 4. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ทั้งภายในและภายนอก ที่สาธารณะ ไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เก็บคว่ำ ทำลายภาชนะน้ำขังที่ไม่ใช้ เช่น กระป๋อง ยางรถยนต์ เศษวัสดุอื่นที่เวลาฝนตกแล้วจะทำให้เกิดน้ำขังได้ หรือเก็บเข้าไว้ในร่ม หมั่นทำความสะอาดบริเวณบ้านและสวน ไม่ให้มีใบไม้สะสม ที่อาจเป็นแหล่งน้ำขัง และแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เวลาฝนตกใส่ทรายอะเบทในภาชนะน้ำขังที่ไม่สามารถล้างได้ทุกๆ 7 วัน กำจัดยุงลายตัวแก่ โดยวิธี ฉีดยากันยุง ใช้ไม้ตียุงไฟฟ้า จุดยากันยุง ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยนอนกางมุ้ง ไม่อยู่ในที่มืด และทายากันยุง 5. ปฏิบัติประจำจนเป็นนิสัย โดยปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และ 6. ขัดล้างไข่ยุงลายบริเวณขอบภาชนะ เพื่อขัดไข่ยุงลายออกก่อนล้างภาชนะทุกครั้ง และ 5ส. คือ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ        สร้างนิสัย
      5. สรุปผลการดำเนินงาน

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรค ไข้เลือดออก 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
    ตัวชี้วัด : 1. จำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ลดลง
    0.00 1.00

    มีผู้ป่วย 1 ราย
    (จากทะเบียนผู้ป่วยไข้เลือดออก PCU สระเกษ ปี 2561 ซึ่งรับข้อมูลจาก Mail SRRT รพ.สงขลา)

    2 3. เพื่อลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน 10 และ CI เท่ากับ 0 4. เพื่อประกาศเกียรติคุณชุมชน/ซอย ที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก
    ตัวชี้วัด : 2. ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน 10 และ CI เท่ากับ 0
    0.00 0.00

    ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย
      เดือน มิถุนายน ค่า HI 9.41 %
                ค่า CI 13.85 %   เดือน กรกฎาคม ค่า HI 9.12 %
                ค่า CI 10.13 %   เดือน สิงหาคม  ค่า HI  8.54 %
                ค่า CI 11.11 %   (จากแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย)

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 25 25
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 0
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 25
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรค ไข้เลือดออก 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ (2) 3. เพื่อลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน 10 และ CI เท่ากับ 0 4. เพื่อประกาศเกียรติคุณชุมชน/ซอย ที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการบ้านสะอาด ปลอดขยะ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2561 จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 61-L7250-2-27

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายวรกรจันทร์แก้ว อสม.ชุมชนสวนพระนิเทศ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด