กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านหัวควน หมู่ที่ 6 ใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ปีพ.ศ.2561
รหัสโครงการ 61-LNK-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพบ้านหัวควน หมู่ที่6
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2561
งบประมาณ 21,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหัศดินทร์สุวรรณรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นางประภัสสร ขวัญกะโผะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.744,101.155place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2561 30 เม.ย. 2561 21,800.00
รวมงบประมาณ 21,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่พบในทุกประเทศอัตราความชุกของโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขมากมายซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงและเป็นปัญหาสาธารณสุขของหลายๆประเทศทำให้ส่งผลกระทบต่อครอบครัวเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมหาศาล (อมรรัตน์ภิรมย์ชมและอนงค์หาญสกุล,๒๕๕๕) สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวนมากรวมทั้งมีอัตราป่วยและตายสูงขึ้นอันเนื่องจากพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหารการออกกำลังกายการจัดการความเครียดที่ไม่เหมาะสม การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆเช่นประชาชนขาดความรู้ การรับรู้และแรงจูงใจด้านสุขภาพ ทั้งนี้โรคความดันโลหิตสูงก่อให้เกิดความเสียหายด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็นจำนวนมาก (กรมควบคุมโรค,๒๕๕๐) ทำให้ประเทศไทยต้องแบกภาระไปกับการรักษาพยาบาลและสูญเสียภาวะทางเศรษฐกิจไปมิใช่น้อยซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัวและการดำรงชีวิต การปฏิบัติงาน เศรษฐกิจ การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ด้วยเหตุนี้กระทรวงสาธารณสุขจึงปรับแนวคิดในการทำงานด้านสุขภาพด้วยการกระตุ้นให้ประชาชนมีการตื่นตัวและเน้นการ“สร้างสุขภาพ” มากกว่าการ “ซ่อมสุขภาพ” โดยการส่งเสริมสุขภาพประชาชนที่ยังไม่ป่วยและป้องกันโรคไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อลดภาระทางด้านการรักษาพยาบาลและยังทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี
จากข้อมูลอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรังจังหวัดปัตตานี พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๔๘,๘๕๘ คน คิดเป็นอัตราผู้ป่วยเท่ากับ ๙,๙๒๒ ต่อแสนประชากร ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน ๑๗,๗๐๓ คน คิดเป็นอัตราผู้ป่วยเท่ากับ ๓,๕๒๓ ต่อประชากรแสน ในเขตอำเภอโคกโพธิ์พบว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๖,๔๔๘ คน คิดเป็นอัตราผู้ป่วยเท่ากับ ๑๓,๓๑๒ ต่อแสนประชากรโรคเบาหวาน จำนวน ๒,๓๙๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๔,๙๔๒ ต่อแสนประชากร
สำหรับหมู่ที่ ๖ บ้านหัวควน ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีประชากรทั้งหมด ๖๙๓ คน จำนวนประชากรที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปมีทั้งหมด ๔๓๘ คน ชาย ๑๙๗ คน หญิง ๒๔๑ คน(ข้อมูลจาก ทะเบียนผู้ป่วยเรื้อรัง รพ.สต.นาเกตุ) และจากการศึกษาสำรวจถึงสภาพชุมชน จากการลงพื้นที่คัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวานในพื้นที่หมู่ที่ ๖ บ้านหัวควน ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี พบว่า จำนวนประชากรที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ๓๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๙ และป่วยเป็นโรคเบาหวาน ๒๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๓ จำนวนประชากรที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๑ จำนวนประชากรที่เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ๖๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๗ และเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๗ จากการสำรวจพบว่าสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคดังกล่าว เนื่องจากประชาชนยังไม่เห็นความสำคัญของโรคและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เน้นอาหารหวานมันเค็ม ขาดการออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การเผชิญกับภาวะเครียดในการใช้ชีวิตประจำวัน และที่สำคัญคือขาดความตระหนักในการดูแลตนเองทั้งในภาวะปกติและยามเจ็บป่วย ส่งผลทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น
ดันนั้นจึงได้จัดทำโครงการบ้านหัวควน หมู่ ๖ใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิต โดยการส่งเสริมให้มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก ๓อ.๒ส. เป็นหลักเพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้านหลังการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเพื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับความรู้เรื่่องโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานโรคความดัน

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปมีความรู้เรื่่องโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานโรคความดัน

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย3อ2ส

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย3อ2ส

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปมีภาวะเสี่ยงลดลง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปมีภาวะเสี่ยงลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,800.00 1 21,800.00
กิจกรรมการให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 21,800.00 21,800.00

๑. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการแก่ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
๒. จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาเกตุ
๓. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๔. จัดเตรียมเอกสาร/แบบฟอร์มบันทึกการตรวจคัดกรองความเสี่ยง ๕. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนจัดเตรียมสถานที่สำหรับจัดกิจกรรม ๖. ดำเนินงานจัดกิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พร้อมแจ้งผลการคัดกรองให้กลุ่มเป้าหมายทราบ ๗. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรค ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โรคความดันสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย ๓ อ. ๒ ส. กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๖๓ คน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน ๙ คน รวม ๗๒ คน
๘. ประเมินผลโครงการ ๑. จากการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยง ก่อนและหลังดำเนินงาน ๒. จากแบบทดสอบความรู้ ก่อนและหลังการอบรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปในพื้นที่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้ครอบคลุมมากขึ้น ๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับความรู้เรื่องโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โรคความดันสูง ๓. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปมีภาวะเสี่ยงลดลง ๔. ประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปมีภาวะเสี่ยงลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2561 17:12 น.