กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ประจำปี 2561 ”

อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางบงกชพันธ์คงพยาบาลวิชาชีพชำชาญการพิเศษ

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ประจำปี 2561

ที่อยู่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L7250-1-12 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ประจำปี 2561 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ประจำปี 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ประจำปี 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 61-L7250-1-12 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 25,800.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากสถานการณ์ของประเทศไทย พบการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคต่าง ๆ ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง อุบัติเหตุและโรคอุบัติต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขทั้งในระดับประเทศและระดับชุมชน จากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ พบปัญหา คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวาย หัวใจและหลอดเลือดสมองมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก) กลุ่มเด็ก 0 - 5 ปี(พัฒนาการล่าช้า) กลุ่มโรคติดต่อ ไข้เลือดออก วัณโรค อุจจาระร่วง ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยทีมสุขภาพ ที่มีความเข้าใจ ตั้งใจ มั่นใจในการให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน จนเกิดความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ความศรัทธาและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในพื้นที่โดยการมีส่วนร่วม ของเทศบาลนครสงขลา ภาคประชาชนต่างๆ รวมทั้งการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นแนวคิดด้านสุขภาพที่มองบุคคลทั้งชีวิตครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ วิญญาณและสังคมที่มีความเชื่อมโยงเป็นเป็นหนึ่งเดียวกัน ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ร่วมกันดูแลประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบทั้ง 10 ชุมชน ให้ได้รับบริการขั้นพื้นฐานของชีวิตมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและเหมาะสมตามกลุ่มวัยอายุ ศูนย์สุขบริการสาธารณสุขสระเกษ มีประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 5,056 คน 2,262 ครัวเรือน ซึ่งประชาชนเหล่านี้ต้องได้รับบริการด้านสาธารณสุขทั้งเชิงรุกในชุมชนและเชิงรับในศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจพัฒนาการตามกลุ่มวัย
  2. 2. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง
  3. 3. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาตามมาตรฐาน และลดภาวะแทรกซ้อนของโรค

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 35
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจพัฒนาการครอบคลุมตามกลุ่มวัยในทุกชุมชน
    2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    1. กิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิดเห็นในการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาในชุมชน ร่วมกับ บุคลากรสาธารณสุข อสม. และแกนนำสุขภาพ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้  ครั้งที่ 1 วันที่ 20 เมษายน  2561  ครั้งที่ 2 วันที่ 21 พฤษภาคม 2561  ครั้งที่ 3 วันที่ 20 มิถุนายน  2561  ครั้งที่ 4 วันที่ 20 กรกฎาคม  2561
    2. กิจกรรม งานโรคไม่ติดต่อ กิจกรรมชมรมโรคเรื้อรัง

    2.1 กิจกรรมให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันภาวะแทรกซ้อน ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้

     ครั้งที่ 1 วันที่ 3 เมษายน 2561 ให้ความรู้เรื่อง งาดำ สรรพคุณของงาดำ ทานงาดำอย่างไรให้ได้ประโยชน์ที่สุดรวมถึง วิธีการเลือกซื้อเมล็ดงาดำ

     ครั้งที่ 2 วันที่ 6 มิถุนายน 2561 ให้ความรู้เรื่อง โรคกลุ่ม NCD คืออะไร ซึ่ง NCD เป็นโรคที่เราสร้างขึ้นเอง โรคกลุ่ม NCD มีโรคอะไรบ้าง ตลอดจนการป้องกันตัวเองจากโรคกลุ่ม NCD และให้ความรู้เรื่อง อาหารต้องห้าม ยิ่งกินยิ่งแก่

     ครั้งที่ 3 วันที่ 3 สิงหาคม 2561 ให้ความรู้เรื่องการบริหารกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและลิ้น และการสาธิตการบริหารกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและลิ้น

    2.2 จัดกิจกรรมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตาม 1-3-6 เดือน จำนวน 3 ครั้ง ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ดังนี้


     ครั้งที่ 1 ติดตาม 1 เดือน วันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ประเมินภาวะสุขภาพ (ชั่งน้ำหนัก/วัดความดันโลหิต/วัดรอบเอว) ให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของน้ำผัก & น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ผลการประเมินภาวะสุขภาพ พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 7.69 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 15.38 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 7.69 และกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มป่วยเบาหวาน พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 4.54 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 18.18 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 9.09

     ครั้งที่ 2 ติดตาม 3 เดือน วันที่ 4 กรกฎาคม 2561 ประเมินภาวะสุขภาพ (ชั่งน้ำหนัก/วัดความดันโลหิต/วัดรอบเอว) ให้ความรู้เรื่อง 10 ประโยชน์ของเมี่ยงคำ อาหารช่วยบำรุงธาตุ กินแล้วสุขภาพดี ไม่ป่วยง่าย ผลการประเมินภาวะสุขภาพ พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 15.38 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 38.46 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 7.69 และกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มป่วยเบาหวาน พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 4.54 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 31.82 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 22.73

     ครั้งที่ 3 ติดตาม 6 เดือน วันที่ 5 กันยายน 2561 ประเมินภาวะสุขภาพ (ชั่งน้ำหนัก/วัดความดันโลหิต/วัดรอบเอว) ให้ความรู้เรื่อง        ข้อดีของการเต้นออกกำลังกาย ผลการประเมินภาวะสุขภาพ พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 15.38 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 46.15 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 15.38 และกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มป่วยเบาหวาน พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 4.54 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 36.36 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 27.27

    1. งานอนามัยแม่และเด็ก
      กิจกรรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองพัฒนาการกลุ่มปฐมวัย จำนวน 5 ครั้ง ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ดังนี้

     ครั้งที่ 1 วันที่ 31 พฤษภาคม 2561 แนะนำคู่มือการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) และแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการประเมินพัฒนาการ รวมถึงสาธิตวิธีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 9 เดือน, อายุ 18 เดือน (1 ปี 6 เดือน), อายุ 30 เดือน (2 ปี 6 เดือน), อายุ 42 เดือน          (3 ปี 6 เดือน) ผลการประเมินพัฒนาการ ทั้งหมด 11 ราย พบว่า พัฒนาการปกติ จำนวน 7 ราย และพัฒนาการล่าช้า จำนวน 4 ราย

     ครั้งที่ 2 วันที่ 22 มิถุนายน 2561 อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการประเมินพัฒนาการ รวมถึงสาธิตวิธีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 9 เดือน, อายุ 18 เดือน (1 ปี 6 เดือน), อายุ 30 เดือน (2 ปี 6 เดือน), อายุ 42 เดือน (3 ปี 6 เดือน) ผลการประเมินพัฒนาการ ทั้งหมด 9 ราย พบว่า พัฒนาการปกติ จำนวน 4 ราย และพัฒนาการล่าช้า จำนวน 5 ราย

     ครั้งที่ 3 วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 แนะนำคู่มือการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) และแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการประเมินพัฒนาการ รวมถึงสาธิตวิธีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 9 เดือน, อายุ 18 เดือน (1 ปี 6 เดือน), อายุ 30 เดือน (2 ปี 6 เดือน), อายุ 42 เดือน          (3 ปี 6 เดือน) ผลการประเมินพัฒนาการ ทั้งหมด 7 ราย พบว่า พัฒนาการปกติ จำนวน 5 ราย และพัฒนาการล่าช้า จำนวน 2 ราย

     ครั้งที่ 4 วันที่ 20 สิงหาคม 2561 แนะนำคู่มือการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) และแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการประเมินพัฒนาการ รวมถึงสาธิตวิธีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 9 เดือน, อายุ 18 เดือน (1 ปี 6 เดือน), อายุ 30 เดือน (2 ปี 6 เดือน), อายุ 42 เดือน          (3 ปี 6 เดือน) ผลการประเมินพัฒนาการ ทั้งหมด 7 ราย พบว่า พัฒนาการปกติ จำนวน 6 ราย และพัฒนาการล่าช้า จำนวน 1 ราย

     ครั้งที่ 5 วันที่ 27 สิงหาคม 2561 สรุปผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ทั้งหมด 34 ราย พบว่า พัฒนาการปกติ จำนวน 22 ราย และพัฒนาการล่าช้า จำนวน 12 ราย

    1. การประเมินผล สรุปโครงการ

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจพัฒนาการตามกลุ่มวัย
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของเด็กอายุ 0 - 5 ปี พัฒนาการสมวัย
    0.00 100.00

    เด็กอายุ 0 - 5 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการและพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 100 (จากแบบประเมิน DSPM)

    2 2. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : 2. ร้อยละ 80 ของกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
    0.00 100.00

    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 100 (จากแบบประเมิน)

    3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาตามมาตรฐาน และลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
    ตัวชี้วัด : 3. ร้อยละ 85 ของผู้ป่วยวัณโรคที่รักษาหาย
    0.00

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 175 175
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 60
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 35 35
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 80
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจพัฒนาการตามกลุ่มวัย  (2) 2. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง  (3) 3. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาตามมาตรฐาน และลดภาวะแทรกซ้อนของโรค

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ประจำปี 2561 จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 61-L7250-1-12

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางบงกชพันธ์คงพยาบาลวิชาชีพชำชาญการพิเศษ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด