กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา


“ โครงการป้องกันเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ปี 2561 ”

อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางวสุธิดานนทพันธ์พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ชื่อโครงการ โครงการป้องกันเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ปี 2561

ที่อยู่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L7250-1-11 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการป้องกันเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ปี 2561 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการป้องกันเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ปี 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการป้องกันเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ปี 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 61-L7250-1-11 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 159,550.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ และนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เรื้อรังได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมองจอประสาทตาเสื่อม ไตวาย โรคหัวใจขาดเลือด แผลเรื้อรัง จากโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการหลายประการ ได้แก่ อัมพฤกษ์ อัมพาต ตาบอด หรือถูกตัดขา ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและเศรษฐกิจของครอบครัว จากข้อมูลการดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมโรคไม่ติดต่อในเขตเทศบาลนครสงขลาปี ๒๕๖๐ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง พบว่าประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๓,๑๑๘ คน ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง จำนวน ๒,๔๓๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๐๙ พบกลุ่มเสี่ยงสูงมาก ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๖๔ และคัดกรองเบาหวาน จำนวน ๒,๘๕๒ คน ร้อยละ ๙๑.๔๗ พบกลุ่มเสี่ยงสูงมาก ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๓๘ และพบกลุ่มป่วยเรื้อรังรายใหม่ ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๐๖ กลุ่มสตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี จำนวน ๑,๙๖๕ คน ได้รับการสอนการตรวจเต้านม สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเอง ๑,๒๙๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๖๕ พบผู้ป่วยรายใหม่ ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๐๕ ตรวจรักษาตามมาตรฐานเฉพาะโรค มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตรับผิดชอบ จำนวน ๕๖๕ คน จากการดำเนินงานดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง เทศบาลนครสงขลาได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันเฝ้าระวัง และควบคุมโรคไม่ติดต่อ มีเป้าหมายการลดปัจจัยเสี่ยงและลดการเกิดโรครายใหม่ โดยการคัดกรองสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เข้มข้นและการติดตามดูแลผู้ป่วย โรคเรื้อรังให้สามารถดูแลตนเอง พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ ฝึกทักษะให้กับญาติผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข มีสภาพร่างกาย จิตใจที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาวเท่าคนปกติทั่วไป จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ๑.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองสุขภาพตามเกณฑ์
  2. ๒. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรครายใหม่
  3. ๓. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพและลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
  4. ๔. เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพที่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 345
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,764
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ๑.ประชาชนกลุ่มปกติได้รับการคัดกรองสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ๒.ประชากรชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการติดตามดูแลสุขภาพไม่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ สามารถดูแล สุขภาพตัวเองได้กลับไปเป็นกลุ่มปกติ ๓.ประชาชนกลุ่มป่วยได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพแบบองค์รวม สามารถดูแลตัวเองได้อย่าง เหมาะสม ไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีคุณภาพชีวิตที่ดี ๔.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีแกนนำดูแลสุขภาพที่มีทักษะในการดูแลสุขภาพ


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    กิจกรรมที่ ๑ งานภาคประชาชน 1.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาในชุมชน ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง จำนวน 4 ครั้ง   - วันที่ 16 พฤษภาคม 2561   - วันที่ 20 มิถุนายน  2561 - วันที่ 25 กรกฎาคม  2561   - วันที่ 15 สิงหาคม  2561 กิจกรรมที่ ๒ งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ 2.1 กิจกรรมการคัดกรองสุขภาพและการให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมในชุมชน เขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง จำนวน 7 ชุมชน ระหว่างวันที่  7 – ๑๖ มิถุนายน 2561 และวันที่ 21 - 30 มิถุนายน 2561 2.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงสูงเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังผู้ป่วยเรื้อรัง รายใหม่ จำนวน 3 ครั้ง -  ครั้งที่ 1 ติดตาม วันที่ 25 มิถุนายน 2561  ณ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนท่าสะอ้าน -  ครั้งที่ 2 ติดตาม วันที่ 23 กรกฎาคม 2561  ณ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนท่าสะอ้าน -  ครั้งที่ 3 ติดตาม วันที่ 27 สิงหาคม  2561  ณ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนท่าสะอ้าน 2.3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านมด้วยตนเองในชุมชน  โดยให้ความรู้ในการตรวจเต้านมด้วยตนเองและให้คำแนะนำในการรับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง หรือ โรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 23 – 2๖ กรกฎาคม 2561 2.4 กิจกรรมจัดฐานการเรียนรู้ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งจัดกิจกรรมในวันที่ 21 มิถุนายน 2561 ณ อาคารอเนกประสงค์ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 80 คน และจัดฐานการเรียนรู้ จำนวน 5 ฐาน ดังนี้   * ฐานที่ 1 ฐานการดูแลสุขภาพช่องปากแล * ฐานที่ 2 ฐานอาหารและโภชนาการ * ฐานที่ 3 ฐานให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อน * ฐานที่ 4 ฐานมณีเวชในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง * ฐานที่ 5 ฐานการออกกำลังกายและสันทนาการ 2.5 กิจกรรมการเฝ้าระวังประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งจัดในวันที่ ๒๕ – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๑ ณ ชุมชนในเขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง จำนวน 100 คน โดยใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนตามแบบประเมินขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL –BREF - THAI). จำนวน 26 ข้อ

    ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้

    การประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยใช้แบบสอบถามเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL - BREF – THAI) มีข้อคำถามซึ่งถามถึงประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามสำรวจตนเองและประเมินเหตุการณ์หรือความรู้สึกของตนเอง ซึ่งมีคำถาม 5 ตัวเลือก คือ ไม่เลย หมายถึง  ท่านไม่มีความรู้สึกเช่นนั้นเลย รู้สึกไม่พอใจมาก หรือรู้สึกแย่มาก เล็กน้อย หมายถึง ท่านมีความรู้สึกเช่นนั้นนานๆ ครั้ง รู้สึกเช่นนั้นเล็กน้อย รู้สึกไม่พอใจหรือรู้สึกแย่
    ปานกลาง หมายถึง ท่านมีความรู้สึกเช่นนั้นปานกลาง รู้สึกเช่นนั้นระดับกลางๆ หรือรู้สึกแย่ระดับกลางๆ มาก หมายถึง  ท่านรู้สึกเช่นนั้นบ่อยๆ รู้สึกพอใจหรือรู้สึกดี มากที่สุด หมายถึง  ท่านมีความรู้สึกเช่นนั้นเสมอ รู้สึกเช่นนั้นมากที่สุด หรือรู้สึกว่าสมบูรณ์ รู้สึกพอใจ
                    มาก รู้สึกดีมาก จากการสุ่มประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้ง 7 ชุมชน ในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุข เตาหลวง จำนวน 100 คน ได้ข้อมูลดังนี้ ชุมชนหัวป้อม จำนวน 14 ราย ชุมชนนอกสวน จำนวน 15 ราย ชุมชนศาลาหัวยาง จำนวน 12 ราย ชุมชนวังเขียว-วังขาว จำนวน 15 ราย ชุมชนสวนมะพร้าว จำนวน 10 ราย ชุมชนท่าสะอ้าน จำนวน 18 ราย ชุมชนหลังวัดอุทัย จำนวน 16 ราย แยกกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน (คน) เบาหวาน 25 ความดันโลหิตสูง 59 เบาหวานและความดันโลหิตสูง 16 รวม 100 จากการประเมิน พบว่า ระดับพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีดังนี้ ระดับพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง คิดเป็นร้อยละ มากที่สุด 11.00 มาก 76.00 ปานกลาง 6.00 เล็กน้อย 5.00 ไม่เลย 2.00 รวม 100.00 - จัดซื้ออุปกรณ์ในการช่วยเหลือผู้ป่วย / ผู้พิการ ซึ่งดำเนินการมอบอุปกรณ์ให้ผู้ป่วย / ผู้พิการในเขตเทศบาลนครสงขลา ดังนี้ 1. เก้าอี้นั่งถ่าย  จำนวน 10 ตัว 2. ไม้เท้าสามขา  จำนวน 2 ตัว ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างน้อยปีละครั้ง หรือติดตามเยี่ยมประเมินทุก 6 เดือนในกรณีที่ผู้ป่วยมีความรู้สึกไม่เลย 2.6 กิจกรรมค้นหาและเยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ของ PCU ซึ่งจัดในวันที่ ๑4 - 18 สิงหาคม ๒๕๖๑ ณ ชุมชนในเขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง   - ค้นหาและเยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ของ PCU ในชุมชนเขตพี้นที่รับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุข
    เตาหลวง จำนวน 20 คน สรุปดังนี้ จากการสำรวจค้นหาและเยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ของ PCU ในชุมชนทั้ง 7 ชุมชน เขตรับผิดชอบศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง พบว่า การประเมินปัญหาสำคัญและโรคที่พบบ่อย

    โรค จำนวน (คน) ร้อยละ เบาหวาน 11 55.00 ความดันโลหิตสูง 5 25.00 เบาหวานและความดันโลหิตสูง 4 20.00 รวม 20 100


    กิจกรรมที่ ๓ งานคุ้มครองผู้บริโภค กิจกรรมตรวจร้านอาหารสำหรับคณะทำงาน ซึ่งจัดกิจกรรมในวันที่ ระหว่างวันที่ 3 - 9 กรกฎาคม 2561 ณ ชุมชนในเขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง โดยใช้แบบฟอร์มการตรวจร้านอาหารตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร ทางด้านกายภาพ จำนวน 15 ข้อ พบว่า ร้านอาหารที่มีการสุ่มตรวจ จำนวน 25 ร้าน ด้านกายภาพ
    สุ่มตรวจประเมิน จำนวน 25 ร้าน พบผ่านเกณฑ์ด้านกายภาพจำนวน 20 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 80 ของร้านที่สุ่มตรวจ ไม่ผ่านด้านกายภาพจำนวน 5 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 20 ของร้านที่สุ่มตรวจ
    ปัญหาและข้อเสนอแนะ     จากผลการสุ่มประเมินพบว่าร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษามาตรฐานที่ได้รับโดยประเด็นสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารไม่สามารถรักษามาตรฐานคือพฤติกรรมของผู้ประกอบการเองที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเกณฑ์ข้อกำหนดด้านกายภาพของร้านอาหาร โดยแนวทางแก้ไขคือ
    1. ควรมีการตรวจแนะนำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการประเมินคุณภาพ ต่ออายุการรับรองมาตรฐาน Clean Food Good Taste และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการรักษามาตรฐานตามเกณฑ์ข้อกำหนดดังกล่าว 2. ควรมีการจัดอบรมฟื้นฟูความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร/สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร/ข้อกำหนดร้านอาหาร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการฟื้นฟูความรู้สำหรับผู้ประกอบการรายเก่าและเป็นการให้ความรู้สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ 3. ควรมีการผลักดันและสนับสนุนการจัดตั้งชมรมผู้ประกอบการโดยให้มีกิจกรรมและดำเนินงาน        อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองสุขภาพตามเกณฑ์
    ตัวชี้วัด : ๑.ประชาชนอายุ๓๕ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสุขภาพ ร้อยละ๙๐ ๑.๑กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ๘๐ ๑.๒กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเรื้อรังเกิดเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่น้อยกว่า ร้อยละ๓
    0.00 91.75
    1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปทั้งหมด 3,116 ราย คิดเป็นร้อยละ 38.28 และได้รับการคัดกรองสุขภาพ จำนวน 2,859 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.75
    2 ๒. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรครายใหม่
    ตัวชี้วัด : ๒.กลุ่มโรคเรื้อรังที่ได้รับการรักษาที่ PCU ได้รับการดูแลตามมาตรฐานเฉพาะโรค ร้อยละ ๙๐
    0.00 82.66

    กลุ่มโรคเรื้อรังที่ได้รับการรักษาที่ PCU ได้รับการดูแลตามมาตรฐานเฉพาะโรค ร้อยละ 82.66

    3 ๓. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพและลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
    ตัวชี้วัด : ๓.หญิงอายุ๓๐-๗๐ปีสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ร้อยละ๘๐
    0.00 84.43
    1. หญิงอายุ 30 - 70 ปี จำนวน 1,690 ราย ตรวจเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 1,425 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.43
    4 ๔. เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพที่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    ตัวชี้วัด : ๔.หญิงอายุ๓๐-๖๐ปีสามารถตรวจมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ๒๐
    0.00 29.53
    1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่มีภาวะแทรกซ้อน คิดเป็นร้อยละ 0

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 3109
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 345
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,764
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๑.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองสุขภาพตามเกณฑ์ (2) ๒.  เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรครายใหม่ (3) ๓.  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพและลดภาวะแทรกซ้อนของโรค (4) ๔.  เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพที่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการป้องกันเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ปี 2561 จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 61-L7250-1-11

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางวสุธิดานนทพันธ์พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด