กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนในชุมชนสุขภาพดี ด้วยวิถีชีวิตแบบแผนไทย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มหมอพื้นบ้าน
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 20 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 33,375.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประกาศ หมาดอี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ้ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
23.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
52.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
52.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แพทย์แผนไทยเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยเป็นเวลานาน เนื่องจากคนสมัยก่อนมีการพึ่งตนเองด้านการรักษาพยาบาล ด้วยเหตุสมัยก่อนยังไม่มีสถานบริการด้านสาธารณสุขบริการประชาชนอย่างทั่วถึงเหมือนปัจจุบัน เมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นในครอบครัว/ชุมชน จึงมีการนำสมุนไพร และวิธีการแบบแผนไทย มาใช้ในการรักษาเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น โดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ และปัจจุบันมีการสนใจใช้ยาสมุนไพร และวิธีการบำบัดรักษาสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากการรักษาแผนปัจจุบันบางครั้งมีผลข้างเคียงและมีขีดจำกัดในการรักษา และแพทย์แผนไทยก็เป็นทางเลือกหนึ่ง และเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสังคม ทำให้ประชาชนนิยมมาใช้บริการด้านสุขภาพกันมากขึ้น แพทย์แผนไทยปัจจุบันได้รับการส่งเสริมให้เป็นการแพทย์ทางเลือกอย่างหนึ่งแก่ผู้รับบริการ การนวด อบ ประคบสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพรมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ การปลูกสมุนไพรเพื่อนำมาใช้เองช่วยให้ชุมชนนำสมุนไพรที่มีมากมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ประชาชนชาวตำบลกำแพง มีความสนใจ มีความเชื่อศรัทธาในการรักษาของหมอพื้นบ้าน และประชาชนชาวตำบลกำแพงส่วนใหญ่นิยมหันมาใช้บริการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้นทุกปี จากข้อมูลการสุ่มสอบถามการเลือกใช้บริการของอาสาสมัครในหมู่บ้านจำนวน 295 คน ในหมู่ที่ ๕ บ้านปิใหญ่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ในปี ๒๕๕๘,๒๕๕๙,๒๕๖๐ พบมีผู้นิยมใช้แพทย์ทางเลือกในการรักษาพยาบาลสำหรับโรคเรื้อรังตามลำดับ ร้อยละ 35.59 40.68 และ 56.61 จะเห็นได้ว่าประชาชนในพื้นที่เป้าหมายมีแนวโน้มในการใช้บริการทางแพทย์ทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในปี 2558 -2560 พบมีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิต จำนวน 43 คน เบาหวานจำนวน 12 คน และปวดเมื่อยจำนวน 56 คน และในพื้นที่ตำบลกำแพงเองก็มีสมุนไพรอยู่มากมายที่สามารถนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนในการรักษาผู้เจ็บป่วยเบื้องต้น และไม่ให้สูญหายไปโดยไม่ได้รับการอนุรักษ์ไว้
ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย การนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างปลอดภัย ทั้งทางด้านส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเบื้องต้น และตอบสนองความต้องการของชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการปลูก การใช้ จนทำให้เกิดแหล่งสมุนไพรในชุมชน เพื่อให้เกิดการพึ่งตนเองด้านการดูแลสุขภาพโดยใช้สมุนไพรพื้นบ้าน และเกิดแหล่งเรียนรู้สมุนไพรในชุมชนเป็นการแสวงหาศักยภาพของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของความเข้มแข็งโดยการพึ่งตนเองและยึดหลักการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงานของชุมชนต่อไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จึงเน้นการให้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อชุมชน สร้างแกนนำด้านการแพทย์แผนไทย เป็นต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้กลุ่มแกนนำ ประชาชนทั่วไปมีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพร และใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร
  1. กลุ่มแกนนำและประชาชนทั่วไปในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรไทย

  2. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้ ร้อยละ 90

80.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้มีแหล่งการเรียนรู้ แหล่งศึกษาพืชสมุนไพรในชุมชน
  1. เป็นแหล่งการเรียนรู้ของประชาชนทั่วไปในชุมชนต่างๆ ร้อยละ 90
  2. มีการจัดตั้งห้องสมุดเกี่ยวกับสมุนไพรและแพทย์แผนไทย และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
  3. มีการรวบรวมสมุนไพรในพื้นที่ เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้คนในชุมชนได้ศึกษาถึงคุณประโยชน์ที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
  4. มีการแปรรูปสมุนไพรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือมีนวัตกรรมใหม่ๆ เกี่ยวกับสมุนไพร
90.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้ประชาชนสามารถประยุกต์และใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรได้
  1. ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 นำพืชสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์
60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 2 มี.ค. 61 กิจกรรมที่ 1.1 ประชุมแกนนำ 20 500.00 500.00
12 มี.ค. 61 กิจกรรมที่ 1.2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่มีอยู่ทั่วไปและสมุนไพรในท้องถิ่น แก่แกนนำและประชาชนทั่วไปในชุมชน 100 21,875.00 21,875.00
22 มี.ค. 61 กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรในชุมชน 1 500.00 500.00
15 ก.ค. 61 - 20 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 3 ดำเนินกิจกรรมในศูนย์การเรียนรู้ 0 9,500.00 9,500.00
1 - 20 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 4 ติดตามเยี่ยมผู้ที่สนใจในชุมชน 0 0.00 0.00
20 ก.ย. 61 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 0 1,000.00 1,000.00
รวม 121 33,375.00 6 33,375.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ และสามารถประยุกต์ใช้พืชสมุนไพรในชุมชนให้เกิดประโยชน์
  2. เกิดการเรียนรู้ มีแหล่งการเรียนรู้ แหล่งการศึกษาสมุนไพรในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2561 11:29 น.