กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ21 พฤศจิกายน 2562
21
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำรูปเล่มรายงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้จัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเยี่ยมผู้ที่สนใจในชุมชน1 กันยายน 2561
1
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ติดตามเยี่ยมผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในชุมชน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ

  2. ประเมินผลการดำเนินโครงการ เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อปรับเปลี่ยนกลวิธีดำเนินงานให้เหมาะสม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 นำพืชสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จากการติดตามเยี่ยม พบว่า ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจในสมุนไพรมากขึ้น โดยสมุนไพรที่ใช้ส่วนมากจะแปรรูปมาทำสมุนไพรในการรักษาอาการปวดเมื่อย โดยเฉพาะสมุนไพรพอกเข่าเพื่อบรรเท่าอาการปวดเข่าในกลุ่มผู้สูงอายุ และมีการปลูกพืชสมุนไพรไว้ในครัวเรือนเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมากถึง ร้อยละ 95 โดยสมุนไพรที่ใช้ปลูกกันในครัวเรือน เช่น พลู ว่านห่างจระเข้ กระเพรา ตะไคร้ มะกรูด มะนาว พริก ข่า โหรพา ฝรั่ง มะขาม มะพร้าว มะละกอ เป็นต้น และสามารถนำสมุนไพรที่ปลูกในครัวเรือนมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

กิจกรรมที่ 3 ดำเนินกิจกรรมในศูนย์การเรียนรู้15 กรกฎาคม 2561
15
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่ 3 ดำเนินกิจกรรมในศูนย์การเรียนรู้

  - เปิดเป็นแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรให้กับผู้สนใจทั่วไป และเป็นแหล่งศึกษาดูงานจากหน่วยงานต่างๆ

  - ดำเนินการปลูกพืชสมุนไพรโดยแกนนำและประชาชนในชุมชน

  - สาธิต/ผลิต ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับผู้สนใจ

  - เปิดเป็นห้องสมุดเกี่ยวกับสมุนไพรและแพทย์แผนไทย

  - เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้นอกสถานศึกษาให้กับเด็กในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ อบต.กำแพง

  - เป็นวิทยากรในการให้ความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป

  - เป็นแหล่งรวบรวมสมุนไพรในชุมชน เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้คนในชุมชนได้ศึกษาถึงคุณประโยชน์ที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนทั่วไปในชุมชนต่างๆ ร้อยละ 90 เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรให้กับผู้สนใจได้ศึกษา โดยมีการรวบรมสมุนไพร เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้ครในชุมชนได้ศึกษาถึงคุณประโยชน์ที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรในชุมชน15 กรกฎาคม 2561
15
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กลุ่มแกนนำและประชาชนในชุมชนร่วมวางแผนการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมุนไพร
  2. ดำเนินการปลูกพืชสมุนไพรโดยแกนนำและประชาชนในชุมชน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรในชุมชน

มีแหล่งการเรียนรู้สมุนไพรในชุมชน โดยมีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับกลุ่มแกนนำในชุมชนและได้จัดตั้งคณะกรรมการกลุ่มขึ้น เพื่อการบริหารจัดการศูนย์ จัดหาพันธ์พืชสมุนไพรต่างๆมาปลูกในศูนย์การเรียนรู้ และจัดหาคู่มือตำราพืชสมุนไพรไว้ในศูนย์เรียนรู้

กิจกรรมที่ 1.2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่มีอยู่ทั่วไปและสมุนไพรในท้องถิ่น แก่แกนนำและประชาชนทั่วไปในชุมชน11 กรกฎาคม 2561
11
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. บรรยาย เรื่องข้อมูลทั่วไปของพืชสมุนไพร สรรพคุณและประโยชน์ของสมุนไพร
  2. บรรยาย เรื่องการเก็บรักษาสมุนไพร และการประยุกต์นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
  3. การประยุกต์ใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวัน
  4. สอน/แนะนำ การปลูกสวนสมุนไพรในครัวเรือน
  5. ประเมินความรู้ของผู้เข้าอบรมก่อน-หลังอบรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่มีอยู่ทั่วไปและสมุนไพรในท้องถิ่น แก่แกนนำและประชาชนทั่วไปในชุมชน

แกนนำและประชาชนทั่วไปในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรไทยและสามารถนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้ จากการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยใช้แบบประเมินก่อน-หลัง อบรม จำนวน 10 ข้อ พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ก่อนการอบรมเพียงร้อยละ 38.92 และหลังจากได้รับความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรและสาธิตการแปรรูปสมุนไพรต่างๆมาใช้ในการรักษาโรคเบื้องต้นจากวิทยากร ผลการประเมินหลังการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.29 และสามารถบอกถึงประโยชน์และการนำสมุนไพรที่มีในพื้นที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

กิจกรรมที่ 1.1 ประชุมแกนนำ29 มิถุนายน 2561
29
มิถุนายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เชิญแกนนำร่วมประชุมกำหนดแนวทาง/วางแผน การดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำเข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดแนวทาง/วางแผน การดำเนินงานโครงการคนในชุมชนสุขภาพดี ด้วยวิถีแบบแผนไทย