กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1.1 ประชุมแกนนำ

แกนนำเข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดแนวทาง/วางแผน การดำเนินงานโครงการคนในชุมชนสุขภาพดี ด้วยวิถีแบบแผนไทย


กิจกรรมที่ 1.2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่มีอยู่ทั่วไปและสมุนไพรในท้องถิ่น แก่แกนนำและประชาชนทั่วไปในชุมชน

แกนนำและประชาชนทั่วไปในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรไทยและสามารถนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้ จากการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยใช้แบบประเมินก่อน-หลัง อบรม จำนวน 10 ข้อ พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ก่อนการอบรมเพียงร้อยละ 38.92 และหลังจากได้รับความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรและสาธิตการแปรรูปสมุนไพรต่างๆมาใช้ในการรักษาโรคเบื้องต้นจากวิทยากร ผลการประเมินหลังการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.29 และสามารถบอกถึงประโยชน์และการนำสมุนไพรที่มีในพื้นที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม


กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรในชุมชน

มีแหล่งการเรียนรู้สมุนไพรในชุมชน โดยมีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับกลุ่มแกนนำในชุมชนและได้จัดตั้งคณะกรรมการกลุ่มขึ้น เพื่อการบริหารจัดการศูนย์ จัดหาพันธ์พืชสมุนไพรต่างๆมาปลูกในศูนย์การเรียนรู้ และจัดหาคู่มือตำราพืชสมุนไพรไว้ในศูนย์เรียนรู้


กิจกรรมที่ 3 ดำเนินกิจกรรมในศูนย์การเรียนรู้

เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนทั่วไปในชุมชนต่างๆ ร้อยละ 90 เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรให้กับผู้สนใจได้ศึกษา โดยมีการรวบรมสมุนไพร เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้ครในชุมชนได้ศึกษาถึงคุณประโยชน์ที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน


กิจกรรมที่ 4 ติดตามเยี่ยมผู้ที่สนใจในชุมชน

ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 นำพืชสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จากการติดตามเยี่ยม พบว่า ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจในสมุนไพรมากขึ้น โดยสมุนไพรที่ใช้ส่วนมากจะแปรรูปมาทำสมุนไพรในการรักษาอาการปวดเมื่อย โดยเฉพาะสมุนไพรพอกเข่าเพื่อบรรเท่าอาการปวดเข่าในกลุ่มผู้สูงอายุ และมีการปลูกพืชสมุนไพรไว้ในครัวเรือนเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมากถึง ร้อยละ 95 โดยสมุนไพรที่ใช้ปลูกกันในครัวเรือน เช่น พลู ว่านห่างจระเข้ กระเพรา ตะไคร้ มะกรูด มะนาว พริก ข่า โหรพา ฝรั่ง มะขาม มะพร้าว มะละกอ เป็นต้น และสามารถนำสมุนไพรที่ปลูกในครัวเรือนมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน

  1. การดำเนินกิจกรรมโครงการต้องมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดอบรมกระทันหัน เนื่องจากสถานที่เดิมมีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ จึงไม่สามารถที่จะขอใช้ได้ในเวลาที่กำหนด

ข้อเสนอแนะ

  1. กรรมการผู้ประสานงานด้านสถานที่ควรมีการวางแผนติดต่อล่วงหน้าไว้อย่างชัดเจน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้กลุ่มแกนนำ ประชาชนทั่วไปมีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพร และใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร
ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มแกนนำและประชาชนทั่วไปในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรไทย 2. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้ ร้อยละ 90
80.00 81.29

 

2 ข้อที่ 2 เพื่อให้มีแหล่งการเรียนรู้ แหล่งศึกษาพืชสมุนไพรในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. เป็นแหล่งการเรียนรู้ของประชาชนทั่วไปในชุมชนต่างๆ ร้อยละ 90 2. มีการจัดตั้งห้องสมุดเกี่ยวกับสมุนไพรและแพทย์แผนไทย และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 3. มีการรวบรวมสมุนไพรในพื้นที่ เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้คนในชุมชนได้ศึกษาถึงคุณประโยชน์ที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน 4. มีการแปรรูปสมุนไพรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือมีนวัตกรรมใหม่ๆ เกี่ยวกับสมุนไพร
90.00 90.00

 

3 ข้อที่ 3 เพื่อให้ประชาชนสามารถประยุกต์และใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรได้
ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 นำพืชสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์
60.00 60.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ปัจจุบันมีการสนใจใช้ยาสมุนไพร และวิธีการบำบัดรักษาสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากการรักษาแผนปัจจุบันบางครั้งมีผลข้างเคียงและมีขีดจำกัดในการรักษา แพทย์แผนไทยก็เป็นทางเลือกหนึ่ง และเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสังคม ทำให้ประชาชนให้บริการด้านสุขภาพมากขึ้น แพทย์แผนไทยปัจจุบันได้รับการส่งเสริมให้เป็นแพทย์ทางเลือกอย่างหนึ่งแก่ผู้รับบริการ การปลูกสมุนไพรเพื่อนำมาใช้เองช่วยให้ชุมชนนำสมุนไพรที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ชาวตำบลกำแพงมีความสนใจ มีความเชื่อศรัทธาในการรักษาของหมอพื้นบ้าน และส่วนใหญ่นิยมหันมาใช้บริการแพทย์แผนไทยเพิ่มมากขึ้นทุกปี และเพื่อเป็นการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย การนำภูมิปัญญามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างปลอดภัย ทั้งทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การรักาาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเบื้องต้น และตอบสนองความต้องการของชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการปลูก การใช้ จนทำให้เกิดแหล่งสมุนไพรในชุมชน เป็นการแสวงหาศักยภาพของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของความเข็มแข้งโดยการพึ่งตนเอง และยึดหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงานของชุมชนต่อไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จึงเน้นการให้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อชุมชน สร้างแกนนำด้านการแพทย์แผนไทย ผลการดำเนินโครงการพบว่า

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่มีอยู่ทั่วไปและสมุนไพรในท้องถิ่น แก่แกนนำและประชาชนทั่วไปในชุมชน แกนนำและประชาชนทั่วไปในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรไทยและสามารถนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้ จากการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยใช้แบบประเมินก่อน-หลัง อบรม จำนวน 10 ข้อ พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ก่อนการอบรมเพียงร้อยละ 38.92 และหลังจากได้รับความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรและสาธิตการแปรรูปสมุนไพรต่างๆมาใช้ในการรักษาโรคเบื้องต้นจากวิทยากร ผลการประเมินหลังการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.29 และสามารถบอกถึงประโยชน์และการนำสมุนไพรที่มีในพื้นที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

กิจกรรมจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรในชุมชน มีแหล่งการเรียนรู้สมุนไพรในชุมชน โดยมีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับกลุ่มแกนนำในชุมชนและได้จัดตั้งคณะกรรมการกลุ่มขึ้น เพื่อการบริหารจัดการศูนย์ จัดหาพันธ์พืชสมุนไพรต่างๆมาปลูกในศูนย์การเรียนรู้ และจัดหาคู่มือตำราพืชสมุนไพรไว้ในศูนย์เรียนรู้

กิจกรรมในศูนย์การเรียนรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนทั่วไปในชุมชนต่างๆ ร้อยละ 90 เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรให้กับผู้สนใจได้ศึกษา โดยมีการรวบรมสมุนไพร เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้ครในชุมชนได้ศึกษาถึงคุณประโยชน์ที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมติดตามเยี่ยมผู้ที่สนใจในชุมชน ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 นำพืชสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จากการติดตามเยี่ยม พบว่า ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจในสมุนไพรมากขึ้น โดยสมุนไพรที่ใช้ส่วนมากจะแปรรูปมาทำสมุนไพรในการรักษาอาการปวดเมื่อย โดยเฉพาะสมุนไพรพอกเข่าเพื่อบรรเท่าอาการปวดเข่าในกลุ่มผู้สูงอายุ และมีการปลูกพืชสมุนไพรไว้ในครัวเรือนเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมากถึง ร้อยละ 95 โดยสมุนไพรที่ใช้ปลูกกันในครัวเรือน เช่น พลู ว่านห่างจระเข้ กระเพรา ตะไคร้ มะกรูด มะนาว พริก ข่า โหรพา ฝรั่ง มะขาม มะพร้าว มะละกอ เป็นต้น และสามารถนำสมุนไพรที่ปลูกในครัวเรือนมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh