กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ


“ โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2561 ”

ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางสาวปาซีลายูนุ๊

ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2561

ที่อยู่ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 61-L2536-1-09 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ถึง 30 เมษายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2561 จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 61-L2536-1-09 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 เมษายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 17,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปีพ.ศ. 2556ขององค์การอนามัยโลก พบว่า1ใน10ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและ1ใน3มีภาวะความดันโลหิตสูงนอกจากนี้พบว่าประมาณร้อยละ63ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลกเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับประเทศไทยรายงานจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่4พ.ศ.2551 – 2553พบความชุกของโรคเบาหวานในประชากรไทยอายุ15ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ6.9ทั้งนี้พบว่าหนึ่งในสามของผู้ที่เป็นเบาหวานไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมาก่อนและมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ3.3 ทั้งนี้สถิติจากประเทศต่างๆพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้มีประมาณร้อยละ20-70สำหรับความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรไทยอายุ15ปีขึ้นไปพบร้อยละ21.4โดยพบว่าร้อยละ60ในชายและร้อยละ40ในหญิงไม่เคยได้รับได้รับการวินิจฉัยมาก่อนและร้อยละ8-9ได้รับการวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง (เอกสารข้อมูลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (fact sheet) _สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์) การที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขพบว่าในปีพ.ศ. 2556อัตราการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 – 2555โดยพบว่าโรคความดันโลหิตสูงมีอัตราเพิ่มขึ้นจาก169.6เป็น760.5ต่อแสนประชากรและโรคเบาหวานมีอัตราเพิ่มขึ้นจาก175.7เป็น675.7ต่อแสนประชากรในพ.ศ. 2551และมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานในปีพ.ศ. 2552ประมาณ 7,019คนหรือประมาณวันละ19 คน โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่องก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกายทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังก่อให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควรส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตภาวะเศรษฐกิจของผู้ป่วยและครอบครัวรวมทั้งประเทศชาติภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า เป็นต้น ตำบลปูโยะเป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอสุไหงโก-ลก เดิมขึ้นกับอำเภอสุไหงปาดี แบ่งการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน คือบ้านลาแล บ้านปูโยะ บ้านโต๊ะเวาะ บ้านกูแบอีแก บ้านโต๊ะแดงและบ้านโคกสือแด มีประชากร 6,350คน 1,128หลังคาเรือน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 95 และพบว่าปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเมื่อลำดับความสำคัญของปัญหาในตำบล พบว่าโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาที่สำคัญของตำบล โดยพบว่าสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนจำนวน ๖0 คน คิดเป็นร้อยละ ๒.33และจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 2๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๖0 และพบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานจำนวน ๖ คน และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 8 คน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มป่วยที่ขาดการรับประทานยาที่ต่อเนื่อง อีกทั้งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด วันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปหรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ร้อยละ 30

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นผู้ป่วยขาดการดูแลที่ต่อเนื่องและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น คปสอ.สุไหงโก-ลก ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะและภาคีเครือข่าย จึงได้จัดทำโครงการ คัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนและมุ่งหวังในการที่จะเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรัง
  2. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม
  3. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังเช่น ความดันโลหิตสูง /เบาหวาน / หัวใจ / และหลอดเลือด
  4. เพื่อประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมการรณรงค์คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
  2. กิจกรรมอบรมผู้ดูแลกลุ่มป่วย (Care giver management)
  3. กิจกรรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยด้านอาหาร

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 2,201
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2. กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองHT/DMต้องเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามเกณฑ์คุณภาพคลินิกDPAC(3อ.2ส.) อย่างน้อยร้อยละ5 3. มี care giver ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมการรณรงค์คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

วันที่ 20 มีนาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมการรณรงค์คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจในกลุ่มประชาชนอายุ  35 ปีขึ้นไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑. กิจกรรมการรณรงค์คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจในกลุ่มประชาชนอายุ  35 ปีขึ้นไป ผลการคัดกรอง ตัวชี้วัด จำนวนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่ได้รับการคัดกรอง ร้อยละ กลุ่มปกติ ร้อยละ กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ กลุ่มสงสัยรายใหม่ ร้อยละ การคัดกรอง HT ในประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ๑,๕๖๕ ๑,๕๔๐ ๙๘.๔๐ ๕๐๕ ๓๒.๗๙ ๗๖๑ ๔๙.๔๒ ๒๗๑ ๑๗.๖๐ การคัดกรอง DM ในประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ๑,๙๑๕ ๑,๘๙๒ ๙๕.๖๑ ๑,๘๐๙ ๙๕.๖๑ ๖๑ ๓.๒๒ ๘ ๐.๔๒

 

2,116 0

2. กิจกรรมอบรมผู้ดูแลกลุ่มป่วย (Care giver management)

วันที่ 20 มีนาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมอบรมผู้ดูแลกลุ่มป่วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๒.กิจกรรมอบรมผู้ดูแลกลุ่มป่วย (๒๐ มีนาคม ๒๕๖๑) ได้มีการให้ความรู้กับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (care giver) จำนวน ๖๕ คน และมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ในเรื่องของการรับประทานอาหาร การรับประทานยา การมาพบแพทย์ตามนัด การดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้ สามารถดูแลผู้ป่วยได้ และผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับของโรคได้ และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้

 

65 0

3. กิจกรรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยด้านอาหาร

วันที่ 26 มีนาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยด้านอาหาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๓.กิจกรรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยด้านอาหาร (๒๖ มีนาคม ๒๕๖๑) กลุ่มป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารจำนวน ๕๐  คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ หลังจากที่ได้รับการปรับเปลี่ยนแล้ว ติดตาม ๓ เดือนหลังจากทำกิจกรรม พบว่าผู้ป่วยสามารคควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้นคิดเป็นร้อยละ ๘ และผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้นร้อยละ 32

 

50 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กลุ่มป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารจำนวน ๕๐ คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ หลังจากที่ได้รับการปรับเปลี่ยนแล้ว ติดตาม ๓ เดือนหลังจากทำกิจกรรม พบว่าผู้ป่วยสามารคควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้นคิดเป็นร้อยละ ๘ และผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้นร้อยละ ๓๒

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรัง
ตัวชี้วัด : ประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๙๐
0.00

 

2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม
ตัวชี้วัด : กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๘๐
0.00

 

3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังเช่น ความดันโลหิตสูง /เบาหวาน / หัวใจ / และหลอดเลือด
ตัวชี้วัด : กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง ร้อยละ ๕ และ ๑๐
0.00

 

4 เพื่อประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2201
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 2,201
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรัง (2) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม (3) เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังเช่น  ความดันโลหิตสูง /เบาหวาน / หัวใจ / และหลอดเลือด (4) เพื่อประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมการรณรงค์คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจในกลุ่มประชาชนอายุ  35 ปีขึ้นไป (2) กิจกรรมอบรมผู้ดูแลกลุ่มป่วย (Care giver management) (3) กิจกรรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยด้านอาหาร

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2561 จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 61-L2536-1-09

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวปาซีลายูนุ๊ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด