กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2482-1-007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 42,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดาราวัลย์ บั้นบูรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฮายาตี นาปี
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 42,500.00
รวมงบประมาณ 42,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกินประชาชนในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านโคกมือบา ต.โฆษิต มีภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมของตนเอง แต่ขาดการเฝ้าระวัง ขาดการป้องกัน การบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น บูดู ปลาเค็ม และเนื้อหมัก ซึ่งจะมีรสชาติที่เค็มมาก และยังนิยมบริโภคอาหารที่มีรสหวาน รสมัน และพฤติกรรมการบริโภคน้ำชา กาแฟ เป็นกิจวัตรประจำวัน ประกอบกับการขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้องตามรูปแบบและยังมีพฤติกรรมที่ไม่นิยมรับประทานผัก จึงส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีภาวะป่วยด้วยโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของตนเอง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคหัวใจและหลอดเลือด ขาดการป้องกันโรค รอจนป่วย แล้วค่อยเยียวยารักษา ขณะเดียวกันผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ยังไม่ตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ถูกตัดแขน ขา กลายเป็นผู้พิการ กลายเป็นผุ้ป่วยติดเตียง เป็นภาระแก่บุคคลในครอบครัว และชุมชน ซึ่งกลุ่มป่วยในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.โคกมือบา ทั้งสามหมู่บ้าน มีภาวะแทรกซ้อนในแต่ละปี เช่น ถูกตัดขา แผลเรื้อรัง มีภาวะของโรคหัวใจและหลอดเลือด กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง และยังมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ที่รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง รับประทานยาบ้าง ไม่รับประทานยาบ้าง หรือรับประทานยาแต่ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอื่นๆ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีภาวะเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนต่างๆสูงมาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล่านี้มาหลายปี แต่ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งกลุ่มผู้ป่วย และกลุ่มเสี่ยงได้ จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในประชาชน

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองไม่น้อยกว่า

90.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเอง จากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในเรื่องปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค

80.00
3 เพื่อให้ผู้ตรวจคัดกรองพบภาวะเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
  1. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 50
  2. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้ง ร้อยละ 50
  3. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการส่งพบแพทย์เพื่อรับการส่งพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องร้อยละ 80
80.00
4 เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย
  1. ผู้ป่วยโรคเรื่อรังได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องร้อยละ 80
  2. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนรายใหม่ลดลงร้อยละ 10
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 52,500.00 2 42,500.00
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ ไม่เกิน 50 คน 0 42,500.00 25,000.00
5 ก.ย. 61 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 10,000.00 17,500.00
  1. จัดทำฐานข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป
  2. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ต.โฆษิต
  3. ประสานอสม. แกนนำสุขภาพและผู้นำชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองตามวันและเวลาที่กำหนดในแผนปฏิบัติการ
  4. ดำเนินการตรวจคัดกรองและให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคและส่งต่อ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง กรณีที่ตรวจคัดกรองพบความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวาน
  5. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงในเรื่อง3 อ. 2ส
  6. ติดตามกลุ่มป่วยเพื่อดูแลให้ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  7. รวบรวมข้อมูลและสรุปผลการดำเนินงานพฤติกรรมในเรื่อง 3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือดร้อยละ 90
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีได้รับความรู้ในการปฏิบัติและป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนจากโรคดังกล่าว
  3. ผู้ที่ตรวจคัดกรองพบความเสี่ยงได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์วินิจฉัยและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  4. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน
  5. ลดภาวะแทรกซ้อนใหม่ในกลุ่มป่วย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2561 15:39 น.