กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการป้องกันมลภาวะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย...... ”
อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี



หัวหน้าโครงการ
นายวิจิตร ด้วงอินทร์




ชื่อโครงการ โครงการป้องกันมลภาวะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย......

ที่อยู่ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2561

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการป้องกันมลภาวะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย...... จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการป้องกันมลภาวะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย......



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการป้องกันมลภาวะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย...... " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 489,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เทศบาลเมืองปัตตานีมีระบบกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนที่ถูกหลักสุขาภิบาลจำนวน 1 แห่ง เริ่มดำเนินการเมื่อพ.ศ.2545 มีหลุมฝังกลบขยะมูลฝอย จำนวน 4 บ่อ ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ห่างจากเขตเทศบาล 20 กิโลเมตร ห่างจากถนนสายหลัก 6 กิโลเมตร มีพื้นที่รวม 183 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของเทศบาลเอง บริเวณรอบ ๆ มีการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรม โดยมีแหล่งน้ำสาธารณะที่ใกล้ที่สุด คือ คลองตันหยง (คลองยามู) ซึ่งห่างเพียง 30 เมตร และห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ดำเนินการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอยเอง โดยมีการเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะมูลฝอยจากครัวเรือนในอัตราครัวเรือนละ 20 บาทต่อเดือน ซึ่งเทศบาลได้ออกเทศบัญญัติเรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอย และมีการเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดขยะมูลฝอยจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นและหน่วยงานต่างๆ ที่นำขยะมูลฝอยมาร่วมกำจัดในอัตราตันละ 520 บาททั้งนี้ ในการดำเนินงาน เทศบาลเมืองปัตตานีมีบุคลากรประจำระบบกำจัดขยะมูลฝอยเป็นพนักงานจ้าง จำนวน 5 คน แต่บุคลากรยังขาดความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาล
ปัจจุบันมีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้นสืบเนื่องมาจากการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของบ้านเมืองที่ กำลังพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยมีมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหามลพิษจากขยะ ปัญหาไฟไหม้บ่อขยะ น้ำจากบ่อขยะไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง หลุมฝังกลบขยะมูลฝอย จำนวน 4 บ่อ ได้ปิดการใช้งานไปแล้ว 2 บ่อ เนื่องจากฝังกลบขยะเต็มพื้นที่ ดำเนินการฝังกลบขยะในบ่อที่ 3 ซึ่งใกล้จะเต็มพื้นที่ ส่วนบ่อที่ 4 ยังไม่เปิดใช้งาน ปริมาณขยะมูลฝอยที่รองรับได้ประมาณวันละ 109 ตัน เป็นขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองปัตตานีประมาณ 50 ตัน/วัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียงและหน่วยงานราชการประมาณวันละ 59 ตัน ระบบบำบัดน้ำชะขยะมูลฝอยเป็นบ่อปรับเสถียร จำนวน 5 บ่อ สามารถใช้งานได้ทุกบ่อ จากการติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพการบำบัดน้ำชะขยะมูลฝอยในบ่อน้ำเข้าและบ่อน้ำออกจากระบบยังอยู่ในค่ามาตรฐานควบคุม ค่าบีโอดี มีค่าเกินมาตรฐานกำหนด น้ำใต้ดินมีค่าแมงกานีส เกือบเกินมาตรฐาน มีการร้องเรียนเรื่องกลิ่นรบกวนจากการดำเนินงานบริหารจัดการระบบกำจัดขยะมูลฝอยบ้างเป็นครั้งคราว มีมาตรการในการควบคุมผู้คุ้ยเขี่ยขยะมูลฝอยในสถานที่กำจัดขยะ แต่ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด ขาดการควบคุมป้องกัน บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยน้อย มีการวิเคราะห์ผลการดำเนินการและนำมาปรับปรุงแผนดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ การแต่งกายของผู้ปฏิบัติงานในบ่อขยะไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่มีการป้องกันสุขภาวะตนเองอาจก่อให้เกิดภาวะติดเชื้อโรคจากบ่อขยะได้ง่าย
เทศบาลเมืองปัตตานีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะผ่านกิจกรรรม ธนาคารขยะสะสมทรัพย์ กิจกรรมขยะแลกค่าธรรมเนียมสำหรับร้านค้าผู้ประกอบที่เข้าร่วมโครงการ กิจกรรมขยะอันตรายและต้นมะกรูดหรือพืชผักสวนครัว การจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียน การคัดแยกขยะในชุมชนตลาดเทศวิวัฒน์ ชุมชนมะกรูด และชุมชนอื่น ๆ รวม 19 ชุมชนโดยมีแผนการลงพัฒนาชุมชนของกองสาธารณสุขในวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ และสร้างแรงจูงใจให้ลดใช้ถุงพลาสติกโดยมีกิจกรรมร่วมกับตลาดมะกรูด กิจกรรมลดถุงพลาสติกแลกแต้ม
-2-

สะสมไว้แลกของรางวัลเช่นถุงผ้า ปิ่นโต ขวดน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ เทศบาลเมืองปัตตานีได้ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเปลี่ยนภาชนะบรรจุอาหารจากประเภทโฟมเป็นภาชนะที่ย่อยสลายได้ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และสามารถลดปริมาณกล่องโฟมได้เป็นจำนวนมาก จากเหตุผลข้างต้น งานส่วนช่างสุขาภิบาล สำนักการช่าง เทศบาลเมืองปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมป้องกันมลภาวะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยขึ้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกวิธี ถูกสุขลักษณะสามารถควบคุมป้องกันสุขภาวะของตนเองในการปฏิบัติงานและสามารถควบคุมป้องกันผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น กลิ่นเหม็น น้ำเสีย ฯลฯ จากการถูกร้องเรียนได้อย่างถูกวิธี
สารชีวบำบัด(ไบโอออร์แกนิค) คีนเอฟ.โอ.จี คลีนเนอร์ คือ ใช้ทำความสะอาดและกำจัดกลิ่น อเนกประสงค์สารย่อยสลายสิ่งสกปรก จำกัดกลิ่นเหม็นที่เกิดจากขยะ ไขมันและสิ่งปฏิกูล ล้างสลายคราบน้ำมัน จารบี ไขมันบนพื้นผิว ประกอบด้วยจุลินทรีย์ย่อยน้ำมันโดยเฉพาะเอนไซม์และสารสกัดจากพืช (สารเร่งย่อยสลายชีวภาพ) มีฤทธิ์เป็นกลางใกล้เคียงกับน้ำ ไม่กัดกร่อนพื้นผิว และไม่ติดไฟ ลดปัญหาแมลงวัน กลิ่นไม่พึงประสงค์ กลิ่นที่เกิดจากาการสะสมของไขมัน สามารถขจัดคราบสกปรก คราบน้ำมัน ไขมัน และสารอินทรีย์ ที่สะสมในท่อระบายน้ำ บ่อเกรอะ บ่อดักไขมัน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียขจัด-บำบัด-และเยียวยา ในขั้นตอนเดียว สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติโดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในสถานที่กำจัดขยะได้ถูกต้อง
  2. 2.เพื่อให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในสถานที่กำจัดขยะ สามารถควบคุมป้องกันสุขภาวะของตนเองได้
  3. 3.เพื่อให้สถานที่กำจัดขยะ มีมาตรฐานและเป็นต้นแบบในการกำจัดขยะมูลฝอย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. โครงการป้องกันมลภาวะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย 9.1.1 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน เดือนเมษายน 2561จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย(บ่อขยะหนองแรต) เรื่องการจัดการขยะ
  2. ทดลองใช้สารชีวบำบัด(ไบโอออร์แกนิค) ในบ่อขยะบ่อบำบัดน้ำชะขยะมูลฝอย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย มีความรู้ เข้าใจ ในการบริหารจัดการขยะมูลเพิ่มมากขึ้น
  2. ลดอัตราการเกิดโรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัสขยะมูลฝอยในสถานที่กำจัดขยะ
  3. ลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ของเทศบาลเมืองปัตตานี

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในสถานที่กำจัดขยะได้ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย มีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
0.00

 

2 2.เพื่อให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในสถานที่กำจัดขยะ สามารถควบคุมป้องกันสุขภาวะของตนเองได้
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย สามารถควบคุมป้องกันสุขภาวะของตนเองได้
0.00

 

3 3.เพื่อให้สถานที่กำจัดขยะ มีมาตรฐานและเป็นต้นแบบในการกำจัดขยะมูลฝอย
ตัวชี้วัด : ร้อยละ80 ของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยผ่านเกณฑ์มาตรฐานเรื่องผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบของท้องถิ่น จากการตรวจประเมินจากสิ่งแวดล้อมภาคที่16
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในสถานที่กำจัดขยะได้ถูกต้อง  (2) 2.เพื่อให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในสถานที่กำจัดขยะ สามารถควบคุมป้องกันสุขภาวะของตนเองได้ (3) 3.เพื่อให้สถานที่กำจัดขยะ มีมาตรฐานและเป็นต้นแบบในการกำจัดขยะมูลฝอย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) โครงการป้องกันมลภาวะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย 9.1.1 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน เดือนเมษายน 2561จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย(บ่อขยะหนองแรต) เรื่องการจัดการขยะ (2) ทดลองใช้สารชีวบำบัด(ไบโอออร์แกนิค) ในบ่อขยะบ่อบำบัดน้ำชะขยะมูลฝอย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการป้องกันมลภาวะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย...... จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายวิจิตร ด้วงอินทร์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด