กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 61-L5273-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 14 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญคือปัญหาผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ และโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเมื่อเป็นโรคเบาหวานระยะเวลาหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ไต ตา หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง เป็นต้น จากผลการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเบาหวานจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง โดยเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอหาดใหญ่ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ โดยให้บริการตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้น พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่และผู้มีภาวะเสี่ยงสูงจำนวนมากโดยเฉพาะในปี พ.ศ.2560 พบผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนถึง 25 คน และปัจจุบันแม้ว่าการรักษาโรคเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะดีขึ้น กล่าวคือ มีแพทย์ออกให้บริการตรวจรักษาถึงในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระบบการติดตามฟื้นฟู การให้ความรู้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกาย จิต และสังคมภายหลังการรัษา ก็ยังมีระบบที่ไม่ดีเพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยเรื้อรังดังกล่าวมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้นดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสรส้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและญาติในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1. เพื่อสร้างการเข้าถึงบริการในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและญาติในชุมชน

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและญาติในชุมชน เข้าถึงบริการในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพ

0.00
2 ข้อ 2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในด้านการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ

ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมในคลีนิกเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 อบรมในเรื่องการแนะนำเมนูสุขภาพแก่ผู้ป่วยเรื้อรังในวันคลีนิก 50 15,000.00 5,000.00
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและญาติในวันที่มารับการรักษา 0 0.00 0.00
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดกิจกรรมออกกำลังกายพร้อมกันในวันคลินิก 0 0.00 0.00
รวม 50 15,000.00 3 5,000.00

1.มีการประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง2.นำเสนอปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ รพ.สต.ฉลุง 3.เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุน 4.ประสานงานกับหน่วยงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินตามโครงการ 5.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานตามโครงการ 6.กำหนดกิจกรรมในการดำเนินงานในคลินิก โดยการให้บริการผู้ป่วยในคลินิกโรคเรื้อรัง ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินค่าดัชนีมวลกาย วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเข้าร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน สอนและสาธิตการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ผู้ป่วยรับการรักษาโดยทีมแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ป่วยรับยา 7.ตรวจสุขภาพประจำปีให้กับผู้ป่วยตามเกณฑ์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 8.ทีมสุขภาพประชุม และวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย 9.ทีมสุขภาพร่วมกับ อบต.ฉลุงในการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี10.สรุปและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นที่ตำบลฉลุงได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและญาติ มีส่วนร่วมในด้านการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2561 11:44 น.