กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์


“ โครงการชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง ประจำปี ๒๕๖๑ ”

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวจรัญยา เสลา

ชื่อโครงการ โครงการชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง ประจำปี ๒๕๖๑

ที่อยู่ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 2561-L7257-1-07 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2561 ถึง 31 สิงหาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง ประจำปี ๒๕๖๑ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง ประจำปี ๒๕๖๑



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง ประจำปี ๒๕๖๑ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 2561-L7257-1-07 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 49,100.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ด้วยเทศบาลเมืองคอหงส์ มีปัญหาด้านสภาพแวดล้อมเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีการขยายตัวของเมือง และการมีจำนวนประชากรแฝงเพิ่มขึ้นในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ทำให้เกิดปัญหาสำคัญๆ ดังนี้
๑. ปริมาณมูลฝอยเพิ่มขึ้นและตกค้างตามถนน คูระบายน้ำ และมีการทิ้งเศษวัสดุ เหลือใช้ต่างๆ มากมาย ตามสถานที่สาธารณะริมถนน ดินของเอกชน เช่น วัสดุก่อสร้าง ของใช้ภายในบ้านต้นไม้กิ่งไม้ เป็นต้นซึ่งเป็นที่อาศัยของพาหะนำโรค เช่น หนู แมลงวัน อันเป็นบ่อเกิดของโรคติดต่อทางน้ำได้ เช่น อุจจาระร่วง อหิวาตกโรค เป็นต้น

๒. คูระบายน้ำอุดตัน เพราะลักษณะคูเป็นคูระบายน้ำแบบเปิดทำให้มีเศษดิน ทราย หญ้า และขยะมูลฝอยอุดตันจำนวนมากซึ่งส่งผลกระทบ เช่น น้ำไม่ระบายทำให้น้ำท่วมขังก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น เป็นที่เพาะพันธ์ของยุงต่างๆ เข่น ยุงลาย ยุงรำคาญ ซึ่งนำโรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา โรคเท้าช้าง เป็นต้น

๓. มีหญ้าขึ้นปกคลุมริมถนนและริมคูระบายน้ำ เนื่องจากพื้นผิวถนนของเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ขยายไม่ถึง คูระบายน้ำ และพื้นที่ตรงข้ามกับถนนยังเป็นที่ดินว่างเปล่าอยู่มาก ทำให้มีหญ้าขึ้นปกคลุมถนนและคูระบายน้ำและยังทำให้คูระบายน้ำอุดตันอีกด้วยอาจมีน้ำขังบ่อเกิดของพาหะนำโรคติดต่อ โดยแมลงประกอบกับในขณะนี้จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกของพื้นที่ตำบลคอหงส์ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายที่ก่อให้เกิดยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก

ทั้งนี้ปัญหาทั้ง ๓ ปัญหาเป็นภารกิจที่เทศบาลจะต้องดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขปัญหา เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนทั้งด้านคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัย แต่ทางเทศบาลเมืองคอหงส์ ขาดกำลังคน เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการให้ทั่วถึง

ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง ซึ่งเป็นภารกิจงานเพิ่มเติมจากงานประจำของเทศบาล เนื่องจากยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้เพื่อดูแลความสะอาดและสิ่งแวดล้อมในชุมชน การรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆ ร่วมกับคณะกรรมการชุมชนและหน่วยงานต่างๆเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนในเทศบาลเมืองคอหงส์ มีสุขภาพดี ตลอดไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการร่วมกันจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาวะของประชาชนในชุมชน
  2. 2. เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อโดยสัตว์และแมลงในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมคณะกรรมการแกนนำชุมชน
  2. จัดทำแผนการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคร่วมกับชุมชน
  3. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ชุมชนสะอาด น่าอยู่ ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของสัตว์นำโรคติดต่อนำโดยสัตว์ และแมลงต่างๆ

  2. ประชาชนมีความปลอดภัยจากโรคติดต่อในท้องถิ่น

  3. ประชาชนมีจิตสำนึกที่ดีในการร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมและมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะกรรมการแกนนำชุมชน

วันที่ 10 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

มีการประชุมคณะกรรมการแกนนำชุมชน แกนนำอสม. ในการจัดดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งเพาะพันธ์ุพาหะนำโรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง จำนวน 3 ครั้ง 3 โซนพื้นที่ ผู้เข้าร่วมประชุม รวมจำนวน 110 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นแกนนำชุมชน แกนนำอสม. ประชาชนทั่วไป รวมจำนวน 110 คน
โดยมีรายละเอียด คือ
ครั้งที่ 1 จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2561 โซนพื้นที่ชุมชนบ้านทุ่งรี บ้านทุ่งโดนและบริเวณคลองเรียน จำนวน 30 คน ครั้งที่ 2 จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 28 ก.ค.2561 โซนพื้นที่ชุมชนบ้านคลองหวะและบริเวณคลองหวะ จำนวน 40 คน ครั้งที่ 3 จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 10 ส.ค.2561 โซนพื้นที่ชุมชนบ้านคลองเตย บ้านคอหงส์ บ้านคลองเปลและบริเวณคลองระบายน้ำ 5 จำนวน 40 คน

 

40 0

2. จัดทำแผนการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคร่วมกับชุมชน

วันที่ 10 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

มีการประชุมร่วมกันของแกนนำชุมชน แกนนำอสม. ในการร่วมกันจัดทำแผนการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุพาหะนำโรค จำนวน 3 ครั้ง 3 โซนพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมจัดทำแผนรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุพาหะนำโรค  รวมจำนวน 110 คน
โดยมีรายละเอียด คือ
ครั้งที่ 1 จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2561 โซนพื้นที่ชุมชนบ้านทุ่งรี บ้านทุ่งโดนและบริเวณคลองเรียน จำนวน 30 คน ครั้งที่ 2 จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 28 ก.ค.2561 โซนพื้นที่ชุมชนบ้านคลองหวะและบริเวณคลองหวะ จำนวน 40 คน ครั้งที่ 3 จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 10 ส.ค.2561 โซนพื้นที่ชุมชนบ้านคลองเตย บ้านคอหงส์ บ้านคลองเปลและบริเวณคลองระบายน้ำ 5 จำนวน 40 คน

 

0 0

3. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง

วันที่ 10 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง พร้อมลงพื้นที่รณรงค์ทำความสะอาดแหล่งเพาะพันธ์ุโรค โดยการพัฒนาความสะอาดและปรับปรุงสภาพแวดล้อม จำนวน 3 ครั้ง 3 โซนพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง พร้อมลงพื้นที่รณรงค์ทำความสะอาดแหล่งเพาะพันธ์ุโรค โดยการพัฒนาความสะอาดและปรับปรุงสภาพแวดล้อม ขุดลอกคูคลอง ฉีดล้างถนน เก็บขยะ ตัดหญ้า เดินรณรงค์แจกแผ่นพับ  รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยแมลง  จำนวน 3 ครั้ง 3 โซนพื้นที่
โดยมีรายละเอียด คือ
ครั้งที่ 1 จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2561 โซนพื้นที่ชุมชนบ้านทุ่งรี บ้านทุ่งโดนและบริเวณคลองเรียน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้บริหารเทศบาล เจ้าหน้าที่เทศบาล คณะกรรมการชุมชน สมาชิก อสม. กรมทหารราบที่ 5 และปรชาชนทั่วไป จำนวน 140 คน ครั้งที่ 2 จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 28 ก.ค.2561 โซนพื้นที่ชุมชนบ้านคลองหวะและบริเวณคลองหวะ โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้บริหารเทศบาล เจ้าหน้าที่เทศบาล คณะกรรมการชุมชน สมาชิก อสม. บุคลากรกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 5 มณฑลทหารบกที่ 42 เรือนจำจังหวัดสงขลา บุคลากรสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหาดใหญ่ นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองหวะ นักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และประชาชนทั่วไป จำนวน 120 คน ครั้งที่ 3 จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 10 ส.ค.2561 โซนพื้นที่ชุมชนบ้านคลองเตย บ้านคอหงส์ บ้านคลองเปลและบริเวณคลองระบายน้ำ 5 โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้บริหารเทศบาล เจ้าหน้าที่เทศบาล คณะกรรมการชุมชน สมาชิก อสม. บุคลากรกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 5  บุคลากรเรือนจำจังหวัดสงขลา  และประชาชนทั่วไป จำนวน 146 คน

 

300 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการร่วมกันจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาวะของประชาชนในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของกลุ่ม เป้าหมายที่กำหนด 2. จำนวนชุมชนที่ได้รับการพัฒนาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของชุมชนทั้งหมด
0.00 0.00

 

2 2. เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อโดยสัตว์และแมลงในชุมชน
ตัวชี้วัด : 2. อัตราการเกิดโรคที่มีสัตว์และแมลงเป็นพาหะนำโรคลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว
0.00 0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการร่วมกันจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาวะของประชาชนในชุมชน (2) 2. เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อโดยสัตว์และแมลงในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะกรรมการแกนนำชุมชน (2) จัดทำแผนการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคร่วมกับชุมชน (3) จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง ประจำปี ๒๕๖๑ จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 2561-L7257-1-07

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวจรัญยา เสลา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด