กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันดี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาแย
รหัสโครงการ 61-L2476-3-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาแย
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กันยายน 2561 - 20 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 4,692.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซาบารีอะ สามะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีสุขภาพดี การป้องกันโรคฟันผุสุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคนโดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยโรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรกและอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ1 – 3 ปีสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธีและมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรงทำให้เด็กมีความเจ็บปวดเคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้เด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิตเด็กจึงควรได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและเหมาะสมเพื่อให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์และมีพัฒนาการตามวัยอย่างไรก็ตามจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบันส่งผลให้เด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่น้อยลงเด็กส่วนหนึ่งต้องมีปัญหาสุขภาพอนามัยซึ่งส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของเด็กในด้านสติปัญญาและความสามารถในการเรียนรู้โรคฟันผุในเด็กเล็กนับเป็นปัญหาที่พบมากอีกทั้งฟันผุในฟันน้ำนมมีการลุกลามถึงโพรงประสาทฟันได้อย่างรวดเร็วกว่าฟันแท้เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันน้อยกว่าฟันแท้และฟันผุในระยะแรกแรกสามารถลุกลามเป็นรูผุได้ในเวลา6 – 12เดือนเด็กที่เริ่มมีฟันผุในอายุน้อยมีการลุกลามได้เร็วและเริ่มผุในช่วงขวบปีแรกอัตราการผุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 – 3 ปี การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยที่สำคัญในช่วงนี้ได้แก่ การควบคุมอาหารหวาน และการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์วันละ ๒ ครั้ง ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันโรคฟันผุอื่น ๆ เช่น การใช้สารฟลูออไรด์ชนิดทา ร่วมกับการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ และการให้ทันตสุขศึกษา การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันฟันผุในเด็กต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของครอบครัว อสม.ชุมชน รวมทั้งครอบครัว(ผู้ปกครอง)ต้องให้ความสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านของลูกน้อย การเกิดฟันผุในฟันน้ำนมนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้วยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วยกล่าวคือฟันน้ำนมที่เสียถูกถอนหรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวนเกล้มเอียงเข้าหาช่องว่างทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติอาจจะขึ้นมาในลักษณะปิดซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็กซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาแยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการการส่งเสริมดูแลสุขภาพฟันและการป้องกันโรคในช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพฟันและช่องปากที่แข็งแรงจึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยฟันดีของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาแยขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากและเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย ในการดูแลช่องปากและฟันของเด็กให้ฟันดีห่างไกลโรคฟันผุอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ

จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)

100.00 56.00
2 เพื่อส่งเสริมความรู้ให้ผู้ปกครอง ในเรื่องทันตอนามัยในเด็กปฐมวัย

ผู้ปกครองมีความรู้ เรื่องทันตอนามัยมากขึ้นลดปัญหาฟันผุให้กับลูก

56.00
3 เพื่อสร้างสุขนิสัยและฝึกทักษะการดูแลความสะอาดช่องปากให้แก่เด็กและผู้ปกครอง

ผู้ปกครองมีทักษะ และมีสุขนิสัย ในการดูแล ทำความสะอาดช่องปากให้กับเด็กเป็นประจำทุกวัน

56.00
4 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่ดี และมีประโยชน์ต่อสุขภาพฟัน

อัตราการเกิดฟันผุในเด็กเล็กลดลง 

56.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,692.00 1 4,692.00
20 ก.ย. 61 1. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย โภชนาการที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพฟัน 2.จัดให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน 3.ร่วมกันจัดทำสื่อฟันกับชุมชน และผู้ปกครองของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาแย 0 4,692.00 4,692.00

1.ขั้นเตรียมการ 1.1จัดประชุมคณะกรรมการ ศพด.บ้านกาแยเพื่อขออนุมัติโครงการ ฯและเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ดุซงญอ 1.2ขออนุมัติโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ 1.3จัดประชุมชี้แจงการจัดทำตามโครงการ ฯ ให้กับคณะกรรมการ ศพด.บ้านกาแยและคณะทำงานเพื่อเตรียมและกำหนดกิจกรรมดำเนินการ 1.4จัดหาวิทยากรให้ความรู้ทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย โภชนาการที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพฟัน 2. ขั้นดำเนินการ 2.1จัดอบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย โภชนาการที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพฟัน และชี้แจงโครงการแก่ผู้ปกครองคณะกรรมการ ศพด. บ้านกาแยครูครูผู้ดูแลเด็กและครูสอนศาสนา 2.2จัดให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันโดยมีผู้ปกครองครูครูผู้ดูแลเด็กเป็นผู้ควบคุมในการแปรงฟันอย่างถูกต้อง 2.3ร่วมกันจัดทำสื่อฟันกับชุมชนและผู้ปกครองของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาแย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี 2.ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน 3.ชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน 4.ผู้ปกครองครูและครูผู้ดูแลเด็กมีทัศนคติที่ดีมีความรู้และทักษะในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันของเด็กก่อนวัยเรียนและการให้โภชนาที่ถูกต้องสำหรับเด็กตามวัย 5.มีกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและรณรงค์การป้องกันฟันผุ 6.อัตราของการเกิดฟันผุลดลงในเด็กก่อนวัยเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2561 19:20 น.