กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลดุซงญอ ”

ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นายอับดุลมูบิง ยูโซ๊ะ

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลดุซงญอ

ที่อยู่ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 61-L2476-3-39 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 26 มิถุนายน 2561 ถึง 26 มิถุนายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลดุซงญอ จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลดุซงญอ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลดุซงญอ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 61-L2476-3-39 ระยะเวลาการดำเนินงาน 26 มิถุนายน 2561 - 26 มิถุนายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 32,410.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ผู้สูงอายุ คือ มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ได้มีการสั่งสมวิชาความรู้ต่าง ๆ มามากมายตลอดชีวิต เมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกาย จิตใจ ตลอดจนการดำรงอยู่ในสังคมของผู้สูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากวัยอื่น เนื่องจากมีความเสื่อมของการทำงานระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ มักจะเกิดขึ้นช้า ๆ ในภาวะปกติอวัยวะของระบบต่าง ๆ ยังทำหน้าที่ได้อย่างปกติ แต่ในภาวะบีบคั้น ไม่ว่าจะเกิดจากทางอารมณ์ หรือทางร่างกาย หรือสังคม จะทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถรักษาสภาวะสมดุลของร่างกายไว้ได้ ทำให้เกิดอาการผิดปกติ และทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่าย ผู้ที่ร่วงเข้าวัยผู้สูงอายุนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งอาหารการกิน ความเป็นอยู่ การรักษาตัว การตรวจสุขภาพ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ตลอดจนการเอาใจใส่ของบุตรหลานเพื่อให้พวกเขาทั้งหลายสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสภาวะจิตร่าเริงสดใสและไม่เป็นภาระของสังคม
วัยสูงอายุ เป็นวัยที่ไม่เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางตรงด้านร่างกายเท่านั้น แต่มีการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมด้วย ซึ่งผลกระทบทั้งต่อผู้สูงอายุ ลูกหลาน และบุคคลใกล้ชิด วัยผู้สูงอายุจะเป็นวัยของการพัฒนาความมั่นคงทางใจหรือความสิ้นหวัง ขึ้นอยู่กับพัฒนาการอันเนื่องมาจากวัยก่อน ถ้าชีวิตดำเนินมาด้วยความเชื่อมั่นว่าตนได้กระทำสิ่งที่เหมาะสมเป็นประโยชน์ ทำให้บุคคลนั้นมีความสงบสุขทั้งกายและใจ แต่ถ้าช่วงชีวิตผ่านมาตนไม่รู้สึกว่าประสบความสำเร็จบุคคลนั้นจะเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ เนื่องจากหมดโอกาสที่จะแก้ไขได้อีก ทำให้รู้สึกว่ามีชีวิตอยู่โดยปราศจากคุณค่า และสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี มีความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจที่มีต่อตนเองในวัยสูงอายุที่ปรากฏและมีการเตรียมตัวช่วยให้เปลี่ยนวัยแห่งการสูญเสียเป็นวัยแห่งโอกาส ได้แก่ โอกาสทำในสิ่งที่ปรารถนา โอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม โอกาสพัฒนาส่งเสริมสุขภาพกายและจิต โอกาสเลือกวิถีทางดำรงชีวิตที่เหมาะสมและโอกาสเข้าถึงศาสนา มีทัศนคติต่อวัยสูงอายุ การที่ผู้สูงอายุมีความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึกที่มีต่อตนเองในภาพรวมและในแต่ละคุณลักษณะได้แก่ ความสวยงาม ความสามารถ ความดี ความถูกต้อง ความภูมิใจในตนเองนั้นจะทำให้เกิดความพึงพอใจในชีวิต และเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณค่าทางสังคม ประสบความสำเร็จในชีวิต
โดยทั่วไปการจัดบริการด้านสุขภาพอนามัยสำหรับผู้สูงอายุ จะมุ่งแก้ปัญหาและสนองความต้องการของผู้สูงอายุทุกภาวะสุขภาพ โดยมีเป้าหมายคือการมีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีจะสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี แต่ยังคงมีความจำเป็นที่จะได้รับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วย เพื่อดำรงภาวะสุขภาพที่ดีไว้ บริการที่จัดให้ผู้สูงอายุในกลุ่มนี้ จะครอบคลุมการให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวต่าง ๆ การสนับสนุน ส่งเสริม ชี้แนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บริการต่าง ๆ เหล่านี้สามารถดำเนินการทั้งในสถานบริการและในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย จะต้องการบริการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ เพื่อให้หายจากโรคและกลับคืนสู่ภาวะปกติ การดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จะต้องดำเนินการอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ในตำบลดุซงญอ เพื่อให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในตำบลสามารถเข้าถึงบริการได้ ผู้สูงอายุกำลังจะกลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ในประเทศ ประชากรกลุ่มนี้มีแบบแผนการดำเนินชีวิต แบบแผนการเจ็บป่วย ความต้องการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม เศรษฐกิจ ที่แตกต่างจากประชากรวัยอื่นด้วย รวมทั้งจะเป็นผู้ใช้แหล่งประโยชน์ทางสุขภาพสูงกว่าประชากรวัยอื่น ดังนั้นการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้พัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองได้นานที่สุด การจัดระบบบริการทางสุขภาพให้สอดคล้องเหมาะสมกับปัญหา และความต้องการของผู้สูงอายุได้มากที่สุด จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกฝ่ายควรสนใจ และให้ความร่วมมือในการดำเนินการ
ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2560 ข้อ 1 ได้กำหนดให้ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน ที่มีสิทธิขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก
ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและการขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้ภารกิจด้านการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส การจัดสวัสดิการสังคม เป็นภารกิจที่ต้องถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาจเลือกทำตามอำนาจหน้าที่ ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นหลักประกันด้านพื้นฐานของการบริการสาธารณะของรัฐ ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ จึงมีภารกิจเกี่ยวกับการให้บริการสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้ประสบปัญหาทางสังคมให้สอดคล้องกับศักยภาพและบริบทความพร้อมด้านทรัพยากรชุมชนท้องถิ่นที่มีอยู่ ซึ่งการจัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ต้องทำเป็นการทำงานแบบพหุภาคี ประกอบกับนโยบายของรัฐบาล “สูงวัย สูงคุณค่า ร่วมพัฒนาประเทศไทย 4.0” ” โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเห็นความสำคัญของผู้อายุ และกิจกรรมต่าง ๆ ของที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพโดยจัดให้มีการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพ สุขอนามัยผู้สูงอายุ เช่น การตรวจสุขภาพฟัน การตรวจสายตา การตรวจสุขภาพเบื้องต้น การตรวจวัดความดัน เบาหวาน เป็นต้น ดังนั้น ศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟู และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ตำบลดุซงญอ จึงได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกาเต๊าะ ในการบริการสวัสดิการทางสังคม ประกอบกับในปัจจุบันและอนาคตผู้สูงอายุจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศไทยมากขึ้นทุกขณะ การดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุนับว่าเป็นภารกิจที่สำคัญสำหรับครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม เพื่อให้เกิดการดูแล เอื้ออาทรแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งนับว่าเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชนและสังคมมาก่อน จนถึงวัยที่ท่านสมควรได้รับการตอบแทน โดยการดูแลและห่วงใยท่านเช่นเดียวกับสิ่งที่ท่านได้ทำมา และเพื่อเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุการดูแลผู้สูงอายุและการให้ความรู้กับประชาชนด้านการสาธารณสุขและการให้การสงเคราะห์กับผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสทางสังคมเป็นงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของ อปท. รวมทั้งได้เห็นประโยชน์และความสำคัญในเรื่องของการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนให้ห่างไกลโรค จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเป็นการตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคเบื้องต้น หากพบความผิดปกติ จะได้ให้คำแนะนำและ/หรือให้ไปตรวจรักษาต่อที่ รพ.สต.ในตำบลต่อไป
  2. เพื่อให้ความรู้ทางด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้สูงอายุและครอบครัว เพื่อให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และเพื่อให้คนในครอบครัวเข้าใจและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม
  3. เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนเห็นคุณค่าในตนเองและลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
  4. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ อันจะช่วยให้เกิดผลดีต่อผู้สูงอายุ ครอบครัว และสังคม และมีโอกาสพบปะพูดคุยระหว่างผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์
  5. เพื่อเป็นการแสดงความรัก ความห่วงใย กตัญญูกตเวที และดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
  6. เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ และจัดหาวิทยากรให้ความรู้ 2.ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ตรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น วัดความดันโลหิตสูง คัดกรองเบาหวาน ชั่งน้ำหนัก ฯลฯ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 130
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข
  2. ผู้สูงอายุได้รู้จักวิธีดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง
  3. คนในชุมชนเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ
  4. เกิดการประสานงานระหว่างหน่วยงานราชการ
  5. ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุมากขึ้น
  6. ผู้สูงอายุมีโอกาสแสดงความรู้สึกและประสบการณ์ในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง
  7. สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ และจัดหาวิทยากรให้ความรู้ 2.ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ตรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น วัดความดันโลหิตสูง คัดกรองเบาหวาน ชั่งน้ำหนัก ฯลฯ

วันที่ 16 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ตรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น วันความดันโลหิตสูง คัดกรองเบาหวาน ชั่งน้ำหนัก วัดเอว รณรงค์ลดพุง (โรงอ้วน) ตรวจสุขภาพฟัน (ฟันปลอม) เป็นต้น 2. ตรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ เช่นวัดความดันโลหิตสูง คัดกรองเบาหวาน ชั่งน้ำหนัก วัดเอว รณรงค์ลดพุง ตรวจสุขภาพฟัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุข
  2. วิทยากร ให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ
  3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น รพ.สต.ดุซงญอ รพ.สต.บ้านกาเต๊าะ รพ.สต.จะแนะ ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ และส่งต่อคนไข้ กรณีคัดกรองแล้วความดันโลหิตสูงเกินมาตรฐานที่กำหนด
  4. ตรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น วัดความดันโลหิตสูง คัดกรองเบาหวาน ชั่งน้ำหนัก วัดเอว รณรงค์ลดพุง ตรวจสุขภาพฟัน เป็นต้น
  5. สรุปผลและประเมินผลโครงการ โดยสอบถามความพึงพอใจในโครงการ

 

130 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเป็นการตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคเบื้องต้น หากพบความผิดปกติ จะได้ให้คำแนะนำและ/หรือให้ไปตรวจรักษาต่อที่ รพ.สต.ในตำบลต่อไป
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข
130.00

 

2 เพื่อให้ความรู้ทางด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้สูงอายุและครอบครัว เพื่อให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และเพื่อให้คนในครอบครัวเข้าใจและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุได้รู้จักวิธีดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และสมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
130.00

 

3 เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนเห็นคุณค่าในตนเองและลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : คนในชุมชนเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ
130.00

 

4 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ อันจะช่วยให้เกิดผลดีต่อผู้สูงอายุ ครอบครัว และสังคม และมีโอกาสพบปะพูดคุยระหว่างผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีโอกาสแสดงความรู้สึกและประสบการณ์ในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง
130.00

 

5 เพื่อเป็นการแสดงความรัก ความห่วงใย กตัญญูกตเวที และดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
ตัวชี้วัด : คนในชุมชนเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ
130.00

 

6 เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ
15.00 15.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 130
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 130
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเป็นการตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคเบื้องต้น  หากพบความผิดปกติ  จะได้ให้คำแนะนำและ/หรือให้ไปตรวจรักษาต่อที่ รพ.สต.ในตำบลต่อไป    (2) เพื่อให้ความรู้ทางด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้สูงอายุและครอบครัว เพื่อให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเอง  และเพื่อให้คนในครอบครัวเข้าใจและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม (3) เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนเห็นคุณค่าในตนเองและลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (4) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ อันจะช่วยให้เกิดผลดีต่อผู้สูงอายุ  ครอบครัว  และสังคม  และมีโอกาสพบปะพูดคุยระหว่างผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (5) เพื่อเป็นการแสดงความรัก  ความห่วงใย  กตัญญูกตเวที  และดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (6) เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ และจัดหาวิทยากรให้ความรู้ 2.ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ  ตรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น วัดความดันโลหิตสูง คัดกรองเบาหวาน ชั่งน้ำหนัก ฯลฯ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลดุซงญอ จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 61-L2476-3-39

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอับดุลมูบิง ยูโซ๊ะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด