กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์


“ โครงการ E.Q. ดีด้วยดนตรีเด็กเล็ก ”

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางทสมา มงคลรัตน์

ชื่อโครงการ โครงการ E.Q. ดีด้วยดนตรีเด็กเล็ก

ที่อยู่ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 2561-L7257-2-01 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ถึง 30 พฤศจิกายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ E.Q. ดีด้วยดนตรีเด็กเล็ก จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ E.Q. ดีด้วยดนตรีเด็กเล็ก



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ E.Q. ดีด้วยดนตรีเด็กเล็ก " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 2561-L7257-2-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 พฤศจิกายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากผลการแถลงข่าวของอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2555 ได้กล่าวถึงปัญหาพัฒนาการทางด้านอารมณ์ (E.Q.) ของเด็กไทยว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยจะเห็นได้จากข้อมูลในปีพ.ศ.2551 เด็กมีปัญหาพัฒนาการทางด้านอารมณ์ คิดเป็นร้อยละ 13.3 ในขณะที่ปีพ.ศ.2554 คิดเป็นร้อยละ 14.4 ซึ่งแนวโน้มของปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กเป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการแก้ไข เนื่องจาก E.Q. (Emotional Quotient) หรือความฉลาดทางอารมณ์เกี่ยวข้องกับความสามารถในการรับรู้และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตนเองและผู้อื่น ตลอดจนสามารถปรับหรือควบคุมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ อันถือเป็นปัจจัยสำคัญเบื้องต้น ในการส่งเสริมความพร้อมของเด็ก เพราะหากเด็กรู้จักการปรับตัว รู้จักอารมณ์ และการจัดการกับอารมณ์ของตนเองอย่างเหมาะสมตามวัยจะส่งผลให้เด็กเกิดความพร้อมในด้านพฤติกรรม และการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ต่อไปตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมในการควบคุมอารมณ์และ ความต้องการของตนเอง ความเห็นใจ มีน้ำใจต่อผู้อื่น ความรับผิดชอบ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ความภาคภูมิใจ ในตนเอง ทักษะทางสังคมด้านต่างๆ เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กต่อไปในระยะยาว โดยเฉพาะในช่วงปฐมวัยซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเริ่มต้นพัฒนารากฐานด้านต่างๆ ของเด็กให้มีศักยภาพสูงสุด ถือเป็นโอกาสทองที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กมีความเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

ดังที่ วิรัตน์ บัวขาว (2543. การเตรียมคนและพัฒนาคนเข้าสู่ยุคปฏิรูปการศึกษา. วารสาร วิชาการ – กรมวิชาการ. หน้า 2-7) กล่าวว่าการจัดการศึกษาปฐมวัยมีปรัชญาอยู่ที่การให้ความรัก ความอบอุ่นที่มุ่งเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก ให้เกิดวุฒิภาวะทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีพัฒนาการถึงระดับหนึ่งเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสอคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่กำหนดโครงสร้างในการเรียนรู้หรือแนวการจัดประสบการณ์สำคัญ แบ่งเป็น 4 ด้าน เพื่อให้เด็กมีพัฒนากรที่ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยการส่งเสริมพัฒนาการผ่านกิจกรรมด้านดนตรีเป็นส่วนหนึ่งตามโครงสร้างหลักสูตรดังกล่าว ในลักษณะของการส่งเสริมให้เด็กแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี การเล่นเครื่องดนตรีง่ายๆ เช่น เครื่องดนตรีประเภทเคาะ ประเภทตี ฯลฯ และการร้องเพลง เป็นต้น นอกจากนี้ศาสตร์ทางด้านดนตรียังช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีความสนใจต่ำ เด็กที่มีสมาธิสั้น เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด ปัญหาทักษะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การปรับตัว ความคิดและจินตนาการ สายตา การอยู่ร่วมกัน ประการสำคัญดนตรีสามารถนำไปใช้บำบัดเด็กพิการด้านการพูด ตา หู ร่างกาย สมอง หรือแม้กระทั่งเด็กที่มีปัญหาหรือความบกพร่องทางอารมณ์
จากประโยชน์ของดนตรีดังที่กล่าวมาข้างต้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์ในฐานะหน่วยงานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ จึงมีแนวคิดในการนำศาสตร์ดังกล่าว มาส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย นอกเหนือจากการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์หลัก ทั้งนี้ เพื่อปรับพฤติกรรมหรือเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งเด็กที่มีพัฒนาการตามวัยและควรได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเด็กพิเศษที่มีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านอารมณ์ และการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งควรได้รับการแก้ไขและพัฒนา

ที่ผ่านมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์จึงได้จัดกิจกรรมเสริม โดยการให้ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีจัดทำแผนการเรียนรู้และจัดกิจกรรมเกี่ยวกับดนตรีแก่เด็กตามช่วงวัย โดยเน้นศาสตร์ด้านดนตรีไทยเป็นหลัก ทำให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้ที่จะปรับตัว รับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ฝึกวินัย การรอคอย การเป็นผู้นำและผู้ตาม การเข้าใจคำสั่ง ความสามัคคี ความมีน้ำใจ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมพัฒนาการโดยเฉพาะในเรื่องของการส่งเสริม E.Q. หรือความฉลาดทางอารมณ์แก่เด็ก เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และปรับพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยผู้เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์ ทำให้เด็กเกิดความพร้อมทั้งในเรื่องของการสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ การปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตต่อไปในอนาคต

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ (E.Q.) ให้แก่เด็กปฐมวัยผู้เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดหาวิทยากรด้านดนตรี

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 300
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กปฐมวัยผู้เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ (E.Q.) ผ่านการเรียนดนตรี


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดหาวิทยากรด้านดนตรี

วันที่ 27 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

จัดหาวิทยากรด้านดนตรี จำนวน 1 คน เพื่อจัดให้มีการสอนด้านดนตรีแก่เด็กปฐมวัยตลอดทั้งปีการศึกษา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เรียนมีพัฒนาการทางอารมณ์ E.Q.(Emotional Quotient)หรือความฉลาดทางอารมณ์
      - ผู้เรียนมีความสามารถในการรับรู้และเข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น       - ผู้เรียนสามารถปรับหรือควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
      - ผู้เรียนมีน้ำใจ มีความรับผิดชอบต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น       - ผู้เรียนมีสุนทรียภาพเหมาะสมตามวัย

 

1 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ (E.Q.) ให้แก่เด็กปฐมวัยผู้เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์
ตัวชี้วัด : เด็กปฐมวัยผู้เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์ มีพัฒนาการทางอารมณ์ (E.Q.) ผ่านพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มมากขึ้น อาทิ การรู้จักควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง ความมีน้ำใจ ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การมีสมาธิ เป็นต้น จากการใช้ศาสตร์ด้านดนตรี โดยการประเมินผ่านสมุดประจำตัวเด็ก หรือ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) หรือแบบประเมินที่ผู้สอนจัดทำขึ้น
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 300
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ (E.Q.) ให้แก่เด็กปฐมวัยผู้เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดหาวิทยากรด้านดนตรี

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ E.Q. ดีด้วยดนตรีเด็กเล็ก จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 2561-L7257-2-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางทสมา มงคลรัตน์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด