กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์


“ โครงการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาการทางร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย ”

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางทสมา มงคลรัตน์

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาการทางร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย

ที่อยู่ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 2561-L7257-2-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ถึง 30 พฤศจิกายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาการทางร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาการทางร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาการทางร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 2561-L7257-2-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 พฤศจิกายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

หลักสูตรหรือแนวการจัดประสบการณ์ ปรัชญาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยนั้น มุ่งพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม โดยคำนึงถึงแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ การเรียนรู้ การเล่นของเด็ก วัฒนธรรมและสังคม ซึ่งต้องสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากวัยและประสบการณ์ของเด็กบนพื้นฐานของประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ที่เด็กจะได้รับซึ่งต้องมีความหมายกับตัวเด็ก โดยให้โอกาสทั้งเด็กปกติ เด็กด้อยโอกาส และเด็กพิเศษ ให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ หลักสูตรการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยนั้นจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายที่เจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข มีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจ ที่ดีงาม ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว รักการออกกำลังกาย มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาเหมาะสมกับวัย เป็นต้น (กรมวิชาการ.2546. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545.) หากแต่ในความเป็นจริงจากการสำรวจพัฒนาการเด็กอายุ 1-5 ปี ของศูนย์อนามัยที่ 3 กรมอนามัยในปี 2557 พบว่า เด็กมีพัฒนาการรวมทุกด้านปกติเพียงร้อยละ 72.5 เป็นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย ร้อยละ 27.5 หรือประมาณ 1 ล้านคนทั่วประเทศ (เด็ก 0-5 ปี ในปี 2553 มีจำนวน 4,548, 245 คน ; สำนักงานสถิติแห่งชาติ , 2557) ซึ่งใกล้เคียงกับการสำรวจพัฒนาการในครั้งก่อนๆ ของกรมอนามัย (สำนักส่งเสริมสุขภาพ , 2552) สอดคล้องกับผลการวิจัยของคณะวิจัยศูนย์อนามัยที่ 1-12 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่พบว่า พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าร้อยละ 27.2 โดยล่าช้าด้านภาษามากที่สุดร้อยละ 19.7 รองลงมาด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านสังคมและการช่วยเหลือตัวเอง และด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ร้อยละ 8.9 , 7.5 และ 6.7 ตามลำดับ โดยจากการศึกษาปัจจัย ที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก ที่ศูนย์อนามัยที่ 3 ได้ศึกษาในปีพ.ศ.2557 พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ได้แก่การศึกษาของแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก รายได้ การได้รับนมแม่ และการได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสมทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์

ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในฐานะสถานศึกษาซึ่งมีหน้าที่ดูแลเด็กระดับปฐมวัยหรือก่อนวัยเรียนสามารถส่งเสริมให้เด็กมีลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาการจัดการศึกษาปฐมวัย และช่วยแก้ไขปัญหาพัฒนาการล่าช้าในเด็กปฐมวัยที่เกิดขึ้นได้ โดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งการส่งเสริมกิจกรรมด้านกีฬาถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดลักษณะอันพึงประสงค์ได้ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามหลักสูตร แนวการจัดประสบการณ์ และปรัชญาการจัดการศึกษาปฐมวัยดังกล่าวข้างต้น นอกเหนือจากกิจกรรมเสริมประสบการณ์หลักที่ผู้ดูแลเด็กจัดให้แก่เด็กในแต่ละวัน เพราะการเล่นกีฬานอกจากส่งผลให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ส่งเสริมและแก้ปัญหาพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยแล้ว ยังช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดีจากการออกกำลังกายกลางแจ้งซึ่งเด็กควรใช้ช่วงเวลานี้มากกว่าการเรียนรู้ในชั้นเรียน นอกจากนี้ยังส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา โดยสอนให้เด็กรู้จักบทบาทของตนเองในการเล่น ฝึกการคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจ เกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การคาดคะเน รวมถึงพัฒนาการทางสังคมผ่านการเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม การรักษากฎ กติกามารยาท เป็นต้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ผ่านการเรียนรู้เรื่องการแพ้ – ชนะ และการให้อภัย

ด้วยประโยชน์ของกีฬาดังกล่าวงานการศึกษาปฐมวัยฝ่ายบริหารการศึกษากองการศึกษา เทศบาลเมืองคอหงส์จึงขอเสนอโครงการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาการทางร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมให้เด็กผู้เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ โดยอาศัยทักษะด้านกีฬาเป็นพื้นฐานจากผู้มีความรู้ความชำนาญด้านกีฬา ทั้งในเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการตามวัย และเด็กพิเศษที่มีพัฒนาการล่าช้าไม่สมวัย อันเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยผู้เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์มีพัฒนาการสมวัยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดหาวิทยากรด้านกีฬา

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 300
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กปฐมวัยผู้เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย รวมถึงพัฒนาการด้านอื่นๆ อาทิ พัฒนาการด้านสังคม และสติปัญญา เป็นต้น


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดหาวิทยากรด้านกีฬา

วันที่ 27 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

จัดหาวิทยากรด้านกีฬา จำนวน 1 คน เพื่อสอนกีฬาสำหรับเด็กปฐมวัยตลอดปีการศึกษา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ด้านร่างกาย - พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ - พัฒนาการการเคลื่อนไหวร่างกาย - พัฒนาการการประสานงานของอวัยวะต่าง ๆ ที่ดีขึ้น เช่น ตา มือ เท้า
  2. ด้านจิตใจ อารมณ์ - เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน - มีความผ่อนคลายในการเรียน
  3. ด้านสังคม - ความมีน้ำใจ - การเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี - รู้จักกฎกติกา มารยาทในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
  4. ด้านสติปัญญา - ความจำเกี่ยวกับทักษะกีฬาต่าง ๆ
    - การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า - มีประสาทสัมผัสที่ดีขึ้น

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยผู้เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์มีพัฒนาการสมวัยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
ตัวชี้วัด : 1. เด็กปฐมวัยผู้เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์ มีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาเพิ่มมากขึ้น จากการใช้ศาสตร์ด้านกีฬา โดยการประเมินผ่านสมุดประจำตัวเด็ก หรือ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) หรือแบบประเมินที่ผู้สอนจัดทำขึ้น
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 300
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยผู้เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์มีพัฒนาการสมวัยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดหาวิทยากรด้านกีฬา

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาการทางร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 2561-L7257-2-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางทสมา มงคลรัตน์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด