กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรม พ่นสารเคมีตกค้างพื้นที่แหล่งโรค (A1, A2) และการค้นหาผู้ป่วย12 พฤศจิกายน 2561
12
พฤศจิกายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลปะแต
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สำรวจพื้นที่แหล่งโรค (A1, A2) เพื่อเตรียมการพ่นสารเคมีตกค้าง กำหนดแผนการลงพื้นที่ พื้นที่แหล่งโรค (A1, A2)
ดำเนินการพ่นสารเคมีตกค้างพื้นที่แหล่งโรค (A1, A2) และการค้นหาผู้ป่วย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พ่นสารเคมีตกค้าง จำนวน 3,239  หลังเรือน
  • อัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลงมกกว่า ร้อยละ 50 จากปีที่ผ่านมา
กิจกรรม เจาะเลือดคัดกรองมาลาเรียเพื่อค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่แหล่งโรค A1,A24 ตุลาคม 2561
4
ตุลาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลปะแต
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ประชุมทำความเข้าใจกับผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และตัวแทนประชาชน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ในการเจาะคัดกรองมาลาเรียในพื้นที่เสี่ยง A1/A2 2. ดำเนินการสุ่มเจาะคัดกรองมาลาเรียเพื่อค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่แหล่งโรค A1,A2 โดยแกนนำมาลาเรีย ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและศูนย์ควบคุมโรคที่ 12.1 ยะลา 3. ส่งสไลด์สุ่มเจาะคัดกรองมาลาเรีย ไปตรวจหาเชื้อ ศูนย์ควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ 12.1 ยะลา หากพบเชื้อจะประสาน MP ในพื้นที่เข้าให้ยามาลาเรีย และส่งตรวจซ้ำ ตามมาตรการควบคุมโรค

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลจากการดำเนินการ พบว่า สามารถสุ่มเจาะมาลาเรีย ในพื้นที่แหล่งโรค และพื้นที่เสียง (หมูที่ 1 ,หมู่ที่ 3 , หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 6 ,หมูที่ 8 ในห่วง เดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายา จำนวน 4,670 สไลด์  ส่งตรวจ ณ ศูนย์ควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ 12.1 ยะลา ปรากฏว่า พบเชื้อ จำนวน 4 ราย จึงดำเนินการควบคุมโรคตามมาตรการ

กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ การควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชนสำหรับแกนนำมาลาเรีย19 ธันวาคม 2560
19
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลปะแต
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

๓. วิธีดำเนินการ ๑. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
๒. ชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและแต่งตั้งคณะทำงาน
๓. ประชาสัมพันธ์โครงการ 4.จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชนสำหรับแกนนำมาลาเรีย
5. ร่วมกับ แกนนำมาลาเรีย อสม.ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ออกพื้นที่ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชน  เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคมาลาเรีย 5. ประเมินผลและสรุปผลโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อบรมเชิงปฏิบัติการ การควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชนสำหรับแกนนำมาลาเรีย
โดยมีแกนนำมาลาเรียเข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คน จาก 9 หมู่บ้าน ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาลตำบลปะแต อาสาสมัครสาธารณสุข  แกนนำมาลาเรียชุมชน ชมรมจิตอาสาในตำบล โดยมีทีมวิทยากร จากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.1 ยะลา โดยหลังจากอบรมผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในระดับดี ร้อยละ 86.5