กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโภชนาการดีเด็กร่าเริงแข็งแรงพัฒนาการสมวัย
รหัสโครงการ 61 – L8300 – 3 - 05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้ดูแลเด็กตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กรกฎาคม 2561 - 6 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 6 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 8,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมูรณี หะมิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเล็ก เป็นวัยที่มีความซุกซน เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา สติ ปัญญาและความคิดจะมีความเป็นอิสระ แปรเปลี่ยนตามสิ่งแวดล้อมที่พบเห็นใกล้ตัว ชอบลอกเลียนแบบความคิดของตน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์สติปัญญาและลักษณะนิสัยดังนั้น ครูผู้ดูแลเด็กซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กเล็ก และมีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กมากที่สุด อีกทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็ก ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานด้านความคิด สติปัญญา อารมณ์ สังคม ลักษณะนิสัย เสริมสร้างบุคลิกที่ดีให้กับเด็ก ซึ่งเปรียบเสมือนการวางราฐานของประเทศ ในช่วง 5 ปี แรกของเด็กเล็ก เป็นระยะที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสมองของเด็กมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือ ครูผู้ดูแลเด็ก ต้องตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการแห่งวัย หรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาและลักษณะนิสัย โดยการส่งเสริมพัฒนาการแห่งวัยให้เหมาะสมตามวุฒิภาวะหรือความพร้อมของเด็กเล็กแต่ละช่วงอายุ โดยอาศัย ความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือ ครูผู้ดูแลเด็กที่เกี่ยวข้องกับเด็กเล็กโดยการจัดกิจกรรม หรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นในกระบวนการต่างๆหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช2546 และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แก่เด็กเล็ก ผ่าน 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมเคลื่อนไหว กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้งเกมการศึกษา กิจกรรมเสรี และกิจกรรมสร้างสรรค์ และการส่งเสริมด้านโภชนาการเด็กก็ถือเป็นส่วนสำคัญอีกทางที่สามารถทำให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย โดยการส่งเสริมการจัดกิจกรรให้มีสุขภาพแข็งแรง ส่งเสริมความรู้ เพิ่มประสบการณ์และทักษะการเรียนรู้แก่เด็กเล็ก ครู ผู้ปกครอง ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองและเด็กเล็ก สามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างดี รวมทั้ง เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้ฝึกปฏิบัติจริงมีประสบการณ์ตรง ในรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING( BBL )โดยผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาท ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย มีอิสระทางความคิด สามารถพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก กล้ามเนื้อใหญ่ รวมถึงการพัฒนาเชื่อมโยงพัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน อันจะนำไปสู้การทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาตามพัฒนาการแห่งวัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์สติปัญญา และสังคม ต่อไป ทางชมรมผู้ดูแลเด็กตำบลแว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เด็กปฐมวัยได้พัฒนาการส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ในรูปแบบการ และเด็กได้รับการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมทั้งประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือการมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิมและการสัมผัส

1 เด็กมีพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสทั้ง5 ในระดับดีขึ้นไป 2 เด็กสามารถใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่ดีขึ้น 3 เด็กมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่ดี

0.00
2 เด็กได้รับการพัฒนาการที่ครบทั้ง 4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา รวมทั้งการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทั้ง 6 กิจกรรม คือกิจกรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมเกมการศึกษา และกิจกรมสันทนาการ

1 ผลการประเมินเด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านในระดับดีขึ้นไป 2 เด็กกล้าแสดงออกมากขึ้น 3 เด็กมีความสุขสนุกสนานจากการเล่นผ่านประสบการณ์จริง

0.00
3 -ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจในการช่วยดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของเด็กในศูนย์ดีขึ้น - ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้เรื่องโภชนาการสำหรับเด็ก และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับอาหารให้เด็กปฐมวัยได้อย่างถูกสุขอนามัยและมีคุณค่าตามโภชนาการ - ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องการประเมินเด็กปฐมวัยและความสามรถความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประเมินพัฒนาการให้เด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง

1 ผลการประเมินภาวะโภชนาการเด็กทุก ๆ 3 เดือน 2 อาหารกลางวันที่ถูกสุขอนามัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ 3.ผลการประเมินพัฒนาการเด็กสมวัย 4 ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
5 - 6 ก.ค. 61 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารในด้านการผลิตสื่อ การประเมินพัฒนาการและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย 60 8,550.00 8,550.00
รวม 60 8,550.00 1 8,550.00

1 ประชุมชี้แจงโครงการและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 2 ทดสอบความรู้ผู้เข้ารับการอบรมเรื่องโภชนาการเด็กก่อน 3 รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม วันที่ 8 มีนาคม 2561แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมเป็น 3 กลุ่ม ตามฐานที่ตั้งไว้ ดังนี้ 3.1 ฐานที่ 1 ฐานให้ความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้อง วิทยากรประจำฐานที่ 1 นางรอฮานีดอเลาะ จพง.ปฏิบัติการงาน (โภชนาการ) และครูผู้ดูแลเด็กทีรับผิดชอบด้านโภชนาการ(สาธิตและลงมือปฏิบัติ) 3.2 ฐานที่ 2 ฐานที่ให้ความรู้เรื่องการประเมินพัฒนาการเด็กที่ถูกต้องทำอย่างไร วิทยากรประจำฐานที่ 2 นางวาสนาศิรีไพรวัน พยาบาลวิชาชีพชำนาญงาน และครูผู้ดุแลเด็กที่รับผิดชอบด้านการประเมินพัฒนาการ 3.3 ฐานที่ 3 ฐานบูรณาการเรื่องสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย วิยากรประจำแหล่ง ครูผู้ดูแลเด็กที่รับผิดชอบด้านสื่อการเรียนการสอน (ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ) 4.รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม วันที่ 9 มีนาคม 2561แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมเป็น 3 กลุ่ม ตามฐานที่ตั้งไว้ ดังนี้ 4.1 ฐานที่ 1 สีสันสดใสจากสีธรรมชาติวิทยากรประจำฐาน .................ครูผู้ดูแลเด็ก............................. (สาธิตและลงมือปฏิบัติ) 4.2 ฐานที่ 2 กระดาษก็ประดิษฐ์ได้หลากหลายอย่างวิทยากรประจำฐาน..................ครูผู้ดูแลเด็ก...............(สาธิตและลงมือปฏิบัติ) 4.3 ฐานที่ 3 สานๆใบมะพร้าวเป็นของเล่นหนูๆ วิทยากรประจำฐาน..............ครูผู้ดูแลเด็ก.................. (สาธิตและลงมือปฏิบัติ) 5. สรุป/ประเมินผลการดำเนินโครงการ
6. ติดตามผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เด็กปฐมวัยได้พัฒนาการส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ในรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING( BBL ) 2 เด็กได้รับการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมทั้งประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือการมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิมและการสัมผัส 3 เด็กได้รับการพัฒนาการที่ครบทั้ง 4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ด้านสังคมด้านสติปัญญา รวมทั้งการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทั้ง 6 กิจกรรม คือกิจกรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์กิจกรรมเสรี กิจกรรมเกมการศึกษา และกิจกรรมสันทนาการ 4. ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจในการช่วยดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของเด็กในศูนย์ดีขึ้น 5ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้เรื่องโภชนาการสำหรับเด็ก และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับอาหารให้เด็กปฐมวัยได้อย่างถูกสุขอนามัยและมีคุณค่าตามโภชนาการ 6.ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องการประเมินเด็กปฐมวัยและความสามรถความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประเมินพัฒนาการให้เด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561 21:39 น.