โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam For Food)
แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
รายงานฉบับสมบูรณ์
โครงการ
“ โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam For Food) ”
ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
หัวหน้าโครงการ
กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
ได้รับการสนับสนุนโดย กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่
เมษายน 2560
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam For Food)
ที่อยู่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา
รหัสโครงการ 60-L7258-1-02 เลขที่ข้อตกลง
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 24 พฤศจิกายน 2559 ถึง 30 เมษายน 2560
กิตติกรรมประกาศ
"โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam For Food) จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam For Food)
บทคัดย่อ
โครงการ " โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam For Food) " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 60-L7258-1-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 24 พฤศจิกายน 2559 - 30 เมษายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 72,100.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ »
บทคัดย่อ »
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล »
วัตถุประสงค์โครงการ »
กิจกรรม/การดำเนินงาน »
กลุ่มเป้าหมาย »
ผลลัพธ์ที่ได้ »
การประเมินผล »
ปัญหาและอุปสรรค »
ข้อเสนอแนะ »
เอกสารประกอบอื่นๆ »
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
อาหาร โดยความหมายของคนโดยทั่วไป มักหมายถึง สิ่งที่นำมาบริโภคเพื่อความอยู่รอดของชีวิต โดยมีหน้าที่เสริมสร้างร่างกาย ให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ฉะนั้นความปลอดภัยของอาหารจากสารปนเปื้อนและสารพิษ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี แต่จุดที่มักถูกมองข้าม คือ การปนเปื้อนจากภาชนะบรรจุอาหารเอง อันตรายที่เกิดจากสารเคมีของภาชนะบรรจุอาหาร มักไม่ได้รับความสนใจ หรือเพิกเฉย เนื่องจากมิได้เกิดในทันทีทันใด แต่หากจะค่อย ๆ สะสม จนเกิดอันตราย ภาชนะบรรจุอาหาร หมายความรวมถึง วัตถุที่ใช้บรรจุอาหารไม่ว่าจะด้วยการใส่ห่อ หรือด้วยวิธีใด ๆ โดยอาหารแต่ละชนิดมีความต้องการภาชนะบรรจุแตกต่างกัน นอกจากนี้ภาชนะบรรจุต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมาย คือ ต้องเป็นภาชนะมีคุณภาพ สะอาดไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไม่มีสี หรือโลหะหนัก ออกมาปนเปื้อนกับอาหารในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เป็นเวลากว่า ๕๐ ปีแล้ว ที่พลาสติกและโฟมถูกใช้แทนใบตอง กระดาษ โลหะหรือแก้ว ในการบรรจุอาหาร อาจเนื่องมาจาก พลาสติกและโฟม สามารถทำให้เกิดรูปทรงตามที่ต้องการได้ง่าย มีน้ำหนักเบาและราคาถูก จึงเป็นที่นิยมสืบต่อเรื่อยมา แต่จะมีผู้บริโภคสักกี่คนที่ตระหนักถึงอันตรายที่แฝงอยู่ในภาชนะบรรจุที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกล่องโฟมมักถูกนำมาบรรจุอาหารที่ทอดร้อน ๆ และมีน้ำมันขึ้นจากเตาใหม่ ๆ เช่น ข้าวผัด ข้าวกระเพาไข่ดาว ผัดไทย หอยทอด เป็นต้น ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถละลายสารบางชนิดออกจากกล่องโฟม และปนเปื้อนสู่อาหารได้นอกจากนี้การใช้โฟมอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้เป็นภาระในกองขยะ ถูกฝังกลบอยู่ในดิน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1,000 ปี กว่าที่จะย่อยสลายได้
จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยสร้างขยะประเภทโฟมเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ใบ/คน/วัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า วิถีชีวิต สังคม และพฤติกรรมของคนไทยในปัจจุบันตระหนักถึงความสะดวกสบาย และความรวดเร็ว มากกว่าผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสังคมในเมือง หรือสถานที่ ที่มีการรวมตัวกันของประชาชนเป็นจำนวนมาก จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ โดยถูกทิ้งเป็นขยะด้วยปริมาณและสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นขยะที่มีความคงทนและสามารถทนต่อแรงอัดได้สูง และใช้เวลานานในการย่อยสลายอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษ สิ้นเปลืองงบประมาณ และพื้นที่ฝังกลบได้ กระบวนการกำจัดขยะโฟมจึงต้องมีความระมัดระวัง และปลอดภัยมากที่สุด คือจะต้องมีการเผาโฟมในอุณหภูมิให้อยู่ภายใต้การควบคุมที่ถูกต้อง เพื่อเลี่ยง ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประชาชน นอกจากนี้ เมื่อถูกนำไปใช้บรรจุอาหารที่ร้อนจัดจะเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้สารอันตรายแตกตัวออกมาจากภาชนะโฟมได้อีกด้วย เช่น สารสไตรีน (styrene) และ เบนซิน (Benzene) ที่มีส่วนในการทำลายไขกระดูก ทำลายตับ และไต มีผลต่อประสาท ส่วนกลางและส่วนปลายที่ทำให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวไม่ดี รวมทั้งอาจเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้จำนวนเม็ดเลือดลดลงและทำลายระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายได้
ในเขตพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่เองก็เช่นกัน พ่อค้าแม่ค้าอาหารตามสั่ง อาหารสำเร็จรูป มักนิยมใช้กล่องโฟม เป็นภาชนะบรรจุอาหาร เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว โดย ซึ่งผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารจำนวนมากยังขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายที่จะส่งผลต่อผู้บริโภค เนื่องจากกล่องโฟมเมื่อสัมผัสกับอาหารร้อนจัดเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ภาชนะเสียรูปและอาจหลอมละลายจนมีสาร “สไตรีน” ซึ่งเป็น สารก่อมะเร็งออกมาปนเปื้อนกับอาหารที่บรรจุอยู่ได้ โดยปริมาณการละลายออกมาของ สไตรีนจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่าง คือ ไขมันในอาหาร ระยะเวลา และอุณหภูมิระหว่างการสัมผัสของอาหารกับภาชนะ ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้มีการละลายออกมาของสไตรีนมากกว่าอาหารที่ไม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ
โดยในการดำเนินโครงการในครั้งนี้ ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ตลาดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่าและแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑โดยรูปแบบของการดำเนินงาน คือ ตรวจสอบ ให้ความรู้คำแนะนำ สร้างความตระหนักถึงปัญหา รณรงค์ลดการใช้กล่องโฟม ในการบรรจุอาหาร และประเมินผล อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและการเลือกใช้ภาชนะบรรจุที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้อุปโภค บริโภคได้อาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ
สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมโดยกลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม จึงขอเสนอโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟม (No Foam For Food) เพื่อลดปริมาณการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ในกลุ่มผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคและลดปัญหามลพิษที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมได้
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร
- เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม
- เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ตลาดนัดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่าและแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์
2.มีการลดปริมาณการใช้โฟม
3.ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคมีความเข้าใจ ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและสามารถเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
4.มีพื้นที่ต้นแบบปลอดโฟมในการบรรจุอาหาร
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ ผลผลิต* ผลผลิตที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง
1. จัดทำแผ่นพับให้ความรู้,ไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ,ป้ายสติ๊กเกอร์ ฯลฯ
วันที่ 4 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคมีความเข้าใจ ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและสามารถเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
0
0
2. จัดประชุมผู้จำหน่ายอาหารประเภทแผงลอยฯ,จัดกิจกรรมส่งเสริม/กระตุ้น ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร
วันที่ 4 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารตระหนักถึงอันตรายการใช้กล่องโฟม มีการลดปริมาณการใช้กล่องโฟม
200
200
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ผลการศึกษา พบว่า ถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ไม่พบแผงลอยจำหน่ายอาหาร ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของแผงลอยจำหน่ายอาหารทั้งหมด ตลาดนัดอาเชี่ยนพลาซ่า พบผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมจำนวน ๒๒ แผง คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘๙ และถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ พบผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมจำนวน ๑๑ แผง คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๖๖ โดยขนาดการใช้บรรจุภัณฑ์โฟม ส่วนใหญ่เป็นประเภทกล่อง ขนาด ๕ × ๗ เซนติเมตร ร้อยละ ๒๑.๐๑ รูปแบบการใช้ประโยชน์ในการบรรจุอาหาร ในขณะร้อน (อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว ขนม เป็นต้น) จำนวน ๒๓ แผง คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖๖ และบรรจุอาหารในขณะเย็น (ข้าวราดแกง ผลไม้ ขนมต่างๆ เป็นต้น) จำนวน ๑๐ แผง คิดเป็นร้อยละ ๗.๒๕ ปริมาณที่ใช้เฉลี่ยต่อวัน ส่วนใหญ่ มากกว่า ๑๕ ชิ้น/วันจำนวน ๑๓ แผง คิดเป็นร้อยละ ๙.๔๒ ราคาหน่วยของภาชนะโฟม โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่ ๔๕ บาท/๑๐๐ ชิ้น และปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภท โฟม คือ ราคาถูก คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๓๒ รองลงมาคือ ความสะดวกและน้ำหนักเบา คิดเป็นร้อยละ ๗.๒๕ และ ๓.๖๒ ตามลำดับ
- ความรู้ ทัศนคติ ของผู้ประกอบการในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์โฟมในการบรรจุอาหาร
ผลการสอบถามความรู้ต่อการลดใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร พบว่าส่วนใหญ่แล้วมีความรู้ในการเลือกใช้ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งโดยรวมแล้วตอบถูก ร้อยละ ๗๒.๒๖ จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งแสดงออกถึงการที่มีความรู้และใส่ใจต่อการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมมากว่าภาชนะโฟมเมื่อนำมาบรรจุอาหารจะทำให้เกิดพิษภัยได้และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
ผลการศึกษาข้อมูล ทัศนคติ ของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร ในกลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ตลาดนัดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่าและแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ จากตารางที่ ๓ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีดังนี้
๑) การได้รับความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร พบว่าผู้จำหน่าย
อาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ เคยได้รับความรู้ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๘๖ รองลงมาคือกลุ่มผู้จำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๖๗
๒) ความเห็น ในกรณีต้องเลิกใช้ บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร กลุ่มผู้ประกอบการจำหน่าย
อาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) และแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ เห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการในตลาดนัดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่า เห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๒๑
๓) ในกรณีที่มีการรณรงค์ให้ ลด ละ เลิกการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร ท่านยินดีให้
ความร่วมมือหรือไม่ พบว่า กลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) และแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ ยินดีให้ความร่วมมือ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการในตลาดนัดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่า ยินดีให้ความร่วมมือ คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๒๑
๔) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า บรรจุภัณฑ์อื่นที่สามารถ
ทดแทนการใช้บรรจุภัณฑ์โฟมนั้นมีราคาแพง จำนวน ๑๑๖ แผง คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๐๖ รองลงมา คือ บรรจุสินค้าลำบาก จำนวน ๑๔ แผง คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๑๔ และ หาซื้อได้ยาก จำนวน ๘ แผง คิดเป็นร้อยละ ๕.๘๐
การประเมินผล
๑. ปริมาณการใช้โฟมในกลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารมีปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับก่อนดำเนินการ
หลังจากมีการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟม และให้ความรู้ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับอาหาร ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในการเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภท โฟมคิดเป็นร้อยละ ๘๘.๔๐ โดยบริเวณงานหาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ บริเวณตลาดนัดอาเชี่ยนพลาซ่า ผู้ประกอบการมีการใช้บรรจุภัณฑ์โฟมลดลง จากเดิมร้อยละ ๕๗.๘๙ เป็น ร้อยละ ๓๖.๘๕ และบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ จากเดิมใช้บรรจุภัณฑ์โฟม ร้อยละ ๓๖.๖๖ ลดลง เป็นร้อยละ ๖.๖๗
๒. มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า ๘๐ %
มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน ๒๐๐ คน ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คิดเป็น ๑๐๐ %
การดำเนินงานในอนาคต
ควรดำเนินการรณรงค์ ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม ให้ครอบคลุมทั้งเขตพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่และตรวจแนะนำสถานที่จำหน่ายอาหารในเขตเทศบาล ได้แก่ ร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหารในโรงเรียน โรงครัวในโรงพยาบาลให้ถูกสุขลักษณะได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองสุขภาพตนเองและบุคคลข้างเคียงให้ครอบคลุมทุกชุมชน
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ สถานการณ์ เป้าหมาย ผลผลิต อธิบาย
1
เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร
ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบการค้าอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร
2
เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม
ตัวชี้วัด : รณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม
3
เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
0
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
-
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
-
กลุ่มวัยทำงาน
-
กลุ่มผู้สูงอายุ
-
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
-
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
-
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
-
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
-
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
-
บทคัดย่อ*
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร (2) เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม (3) เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...
หมายเหตุ *- บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
- หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค สาเหตุ ข้อเสนอแนะ
โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam For Food) จังหวัด สงขลา
รหัสโครงการ 60-L7258-1-02
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
................................
( กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......
โครงการ
“ โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam For Food) ”
ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
หัวหน้าโครงการ
กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
เมษายน 2560
ที่อยู่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา
รหัสโครงการ 60-L7258-1-02 เลขที่ข้อตกลง
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 24 พฤศจิกายน 2559 ถึง 30 เมษายน 2560
กิตติกรรมประกาศ
"โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam For Food) จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam For Food)
บทคัดย่อ
โครงการ " โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam For Food) " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 60-L7258-1-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 24 พฤศจิกายน 2559 - 30 เมษายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 72,100.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ | » |
บทคัดย่อ | » |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล | » |
วัตถุประสงค์โครงการ | » |
กิจกรรม/การดำเนินงาน | » |
กลุ่มเป้าหมาย | » |
ผลลัพธ์ที่ได้ | » |
การประเมินผล | » |
ปัญหาและอุปสรรค | » |
ข้อเสนอแนะ | » |
เอกสารประกอบอื่นๆ | » |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
อาหาร โดยความหมายของคนโดยทั่วไป มักหมายถึง สิ่งที่นำมาบริโภคเพื่อความอยู่รอดของชีวิต โดยมีหน้าที่เสริมสร้างร่างกาย ให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ฉะนั้นความปลอดภัยของอาหารจากสารปนเปื้อนและสารพิษ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี แต่จุดที่มักถูกมองข้าม คือ การปนเปื้อนจากภาชนะบรรจุอาหารเอง อันตรายที่เกิดจากสารเคมีของภาชนะบรรจุอาหาร มักไม่ได้รับความสนใจ หรือเพิกเฉย เนื่องจากมิได้เกิดในทันทีทันใด แต่หากจะค่อย ๆ สะสม จนเกิดอันตราย ภาชนะบรรจุอาหาร หมายความรวมถึง วัตถุที่ใช้บรรจุอาหารไม่ว่าจะด้วยการใส่ห่อ หรือด้วยวิธีใด ๆ โดยอาหารแต่ละชนิดมีความต้องการภาชนะบรรจุแตกต่างกัน นอกจากนี้ภาชนะบรรจุต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมาย คือ ต้องเป็นภาชนะมีคุณภาพ สะอาดไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไม่มีสี หรือโลหะหนัก ออกมาปนเปื้อนกับอาหารในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เป็นเวลากว่า ๕๐ ปีแล้ว ที่พลาสติกและโฟมถูกใช้แทนใบตอง กระดาษ โลหะหรือแก้ว ในการบรรจุอาหาร อาจเนื่องมาจาก พลาสติกและโฟม สามารถทำให้เกิดรูปทรงตามที่ต้องการได้ง่าย มีน้ำหนักเบาและราคาถูก จึงเป็นที่นิยมสืบต่อเรื่อยมา แต่จะมีผู้บริโภคสักกี่คนที่ตระหนักถึงอันตรายที่แฝงอยู่ในภาชนะบรรจุที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกล่องโฟมมักถูกนำมาบรรจุอาหารที่ทอดร้อน ๆ และมีน้ำมันขึ้นจากเตาใหม่ ๆ เช่น ข้าวผัด ข้าวกระเพาไข่ดาว ผัดไทย หอยทอด เป็นต้น ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถละลายสารบางชนิดออกจากกล่องโฟม และปนเปื้อนสู่อาหารได้นอกจากนี้การใช้โฟมอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้เป็นภาระในกองขยะ ถูกฝังกลบอยู่ในดิน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1,000 ปี กว่าที่จะย่อยสลายได้
จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยสร้างขยะประเภทโฟมเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ใบ/คน/วัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า วิถีชีวิต สังคม และพฤติกรรมของคนไทยในปัจจุบันตระหนักถึงความสะดวกสบาย และความรวดเร็ว มากกว่าผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสังคมในเมือง หรือสถานที่ ที่มีการรวมตัวกันของประชาชนเป็นจำนวนมาก จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ โดยถูกทิ้งเป็นขยะด้วยปริมาณและสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นขยะที่มีความคงทนและสามารถทนต่อแรงอัดได้สูง และใช้เวลานานในการย่อยสลายอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษ สิ้นเปลืองงบประมาณ และพื้นที่ฝังกลบได้ กระบวนการกำจัดขยะโฟมจึงต้องมีความระมัดระวัง และปลอดภัยมากที่สุด คือจะต้องมีการเผาโฟมในอุณหภูมิให้อยู่ภายใต้การควบคุมที่ถูกต้อง เพื่อเลี่ยง ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประชาชน นอกจากนี้ เมื่อถูกนำไปใช้บรรจุอาหารที่ร้อนจัดจะเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้สารอันตรายแตกตัวออกมาจากภาชนะโฟมได้อีกด้วย เช่น สารสไตรีน (styrene) และ เบนซิน (Benzene) ที่มีส่วนในการทำลายไขกระดูก ทำลายตับ และไต มีผลต่อประสาท ส่วนกลางและส่วนปลายที่ทำให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวไม่ดี รวมทั้งอาจเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้จำนวนเม็ดเลือดลดลงและทำลายระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายได้
ในเขตพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่เองก็เช่นกัน พ่อค้าแม่ค้าอาหารตามสั่ง อาหารสำเร็จรูป มักนิยมใช้กล่องโฟม เป็นภาชนะบรรจุอาหาร เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว โดย ซึ่งผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารจำนวนมากยังขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายที่จะส่งผลต่อผู้บริโภค เนื่องจากกล่องโฟมเมื่อสัมผัสกับอาหารร้อนจัดเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ภาชนะเสียรูปและอาจหลอมละลายจนมีสาร “สไตรีน” ซึ่งเป็น สารก่อมะเร็งออกมาปนเปื้อนกับอาหารที่บรรจุอยู่ได้ โดยปริมาณการละลายออกมาของ สไตรีนจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่าง คือ ไขมันในอาหาร ระยะเวลา และอุณหภูมิระหว่างการสัมผัสของอาหารกับภาชนะ ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้มีการละลายออกมาของสไตรีนมากกว่าอาหารที่ไม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ
โดยในการดำเนินโครงการในครั้งนี้ ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ตลาดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่าและแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑โดยรูปแบบของการดำเนินงาน คือ ตรวจสอบ ให้ความรู้คำแนะนำ สร้างความตระหนักถึงปัญหา รณรงค์ลดการใช้กล่องโฟม ในการบรรจุอาหาร และประเมินผล อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและการเลือกใช้ภาชนะบรรจุที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้อุปโภค บริโภคได้อาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ
สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมโดยกลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม จึงขอเสนอโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟม (No Foam For Food) เพื่อลดปริมาณการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ในกลุ่มผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคและลดปัญหามลพิษที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมได้
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร
- เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม
- เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้ | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | ||
กลุ่มวัยทำงาน | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ตลาดนัดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่าและแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์
2.มีการลดปริมาณการใช้โฟม
3.ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคมีความเข้าใจ ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและสามารถเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
4.มีพื้นที่ต้นแบบปลอดโฟมในการบรรจุอาหาร
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. จัดทำแผ่นพับให้ความรู้,ไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ,ป้ายสติ๊กเกอร์ ฯลฯ |
||
วันที่ 4 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคมีความเข้าใจ ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและสามารถเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
|
0 | 0 |
2. จัดประชุมผู้จำหน่ายอาหารประเภทแผงลอยฯ,จัดกิจกรรมส่งเสริม/กระตุ้น ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร |
||
วันที่ 4 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารตระหนักถึงอันตรายการใช้กล่องโฟม มีการลดปริมาณการใช้กล่องโฟม
|
200 | 200 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ผลการศึกษา พบว่า ถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ไม่พบแผงลอยจำหน่ายอาหาร ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของแผงลอยจำหน่ายอาหารทั้งหมด ตลาดนัดอาเชี่ยนพลาซ่า พบผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมจำนวน ๒๒ แผง คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘๙ และถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ พบผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมจำนวน ๑๑ แผง คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๖๖ โดยขนาดการใช้บรรจุภัณฑ์โฟม ส่วนใหญ่เป็นประเภทกล่อง ขนาด ๕ × ๗ เซนติเมตร ร้อยละ ๒๑.๐๑ รูปแบบการใช้ประโยชน์ในการบรรจุอาหาร ในขณะร้อน (อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว ขนม เป็นต้น) จำนวน ๒๓ แผง คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖๖ และบรรจุอาหารในขณะเย็น (ข้าวราดแกง ผลไม้ ขนมต่างๆ เป็นต้น) จำนวน ๑๐ แผง คิดเป็นร้อยละ ๗.๒๕ ปริมาณที่ใช้เฉลี่ยต่อวัน ส่วนใหญ่ มากกว่า ๑๕ ชิ้น/วันจำนวน ๑๓ แผง คิดเป็นร้อยละ ๙.๔๒ ราคาหน่วยของภาชนะโฟม โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่ ๔๕ บาท/๑๐๐ ชิ้น และปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภท โฟม คือ ราคาถูก คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๓๒ รองลงมาคือ ความสะดวกและน้ำหนักเบา คิดเป็นร้อยละ ๗.๒๕ และ ๓.๖๒ ตามลำดับ
- ความรู้ ทัศนคติ ของผู้ประกอบการในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์โฟมในการบรรจุอาหาร
ผลการสอบถามความรู้ต่อการลดใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร พบว่าส่วนใหญ่แล้วมีความรู้ในการเลือกใช้ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งโดยรวมแล้วตอบถูก ร้อยละ ๗๒.๒๖ จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งแสดงออกถึงการที่มีความรู้และใส่ใจต่อการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมมากว่าภาชนะโฟมเมื่อนำมาบรรจุอาหารจะทำให้เกิดพิษภัยได้และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
ผลการศึกษาข้อมูล ทัศนคติ ของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร ในกลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ตลาดนัดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่าและแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ จากตารางที่ ๓ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีดังนี้
๑) การได้รับความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร พบว่าผู้จำหน่าย
อาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ เคยได้รับความรู้ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๘๖ รองลงมาคือกลุ่มผู้จำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๖๗
๒) ความเห็น ในกรณีต้องเลิกใช้ บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร กลุ่มผู้ประกอบการจำหน่าย
อาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) และแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ เห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการในตลาดนัดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่า เห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๒๑
๓) ในกรณีที่มีการรณรงค์ให้ ลด ละ เลิกการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร ท่านยินดีให้
ความร่วมมือหรือไม่ พบว่า กลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) และแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ ยินดีให้ความร่วมมือ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการในตลาดนัดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่า ยินดีให้ความร่วมมือ คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๒๑
๔) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า บรรจุภัณฑ์อื่นที่สามารถ
ทดแทนการใช้บรรจุภัณฑ์โฟมนั้นมีราคาแพง จำนวน ๑๑๖ แผง คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๐๖ รองลงมา คือ บรรจุสินค้าลำบาก จำนวน ๑๔ แผง คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๑๔ และ หาซื้อได้ยาก จำนวน ๘ แผง คิดเป็นร้อยละ ๕.๘๐
การประเมินผล
๑. ปริมาณการใช้โฟมในกลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารมีปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับก่อนดำเนินการ
หลังจากมีการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟม และให้ความรู้ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับอาหาร ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในการเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภท โฟมคิดเป็นร้อยละ ๘๘.๔๐ โดยบริเวณงานหาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ บริเวณตลาดนัดอาเชี่ยนพลาซ่า ผู้ประกอบการมีการใช้บรรจุภัณฑ์โฟมลดลง จากเดิมร้อยละ ๕๗.๘๙ เป็น ร้อยละ ๓๖.๘๕ และบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ จากเดิมใช้บรรจุภัณฑ์โฟม ร้อยละ ๓๖.๖๖ ลดลง เป็นร้อยละ ๖.๖๗
๒. มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า ๘๐ %
มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน ๒๐๐ คน ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คิดเป็น ๑๐๐ %
การดำเนินงานในอนาคต
ควรดำเนินการรณรงค์ ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม ให้ครอบคลุมทั้งเขตพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่และตรวจแนะนำสถานที่จำหน่ายอาหารในเขตเทศบาล ได้แก่ ร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหารในโรงเรียน โรงครัวในโรงพยาบาลให้ถูกสุขลักษณะได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองสุขภาพตนเองและบุคคลข้างเคียงให้ครอบคลุมทุกชุมชน
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย | |
---|---|---|---|---|---|
1 | เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบการค้าอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร |
|
|||
2 | เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม ตัวชี้วัด : รณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม |
|
|||
3 | เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม |
|
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | 0 | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | |||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | - | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | - | ||
กลุ่มวัยทำงาน | - | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | - | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | |||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | - | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | - | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | - | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | - | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] | - |
บทคัดย่อ*
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร (2) เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม (3) เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...
หมายเหตุ *
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค | สาเหตุ | ข้อเสนอแนะ |
---|---|---|
|
|
|
โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam For Food) จังหวัด สงขลา
รหัสโครงการ 60-L7258-1-02
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
( กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......