กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออกตำบลวังขนาย
รหัสโครงการ ประเภท 2 / 003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาบ่ง
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 36,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาบ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังขนาย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
ละติจูด-ลองจิจูด 13.96,99.663place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 36,300.00
รวมงบประมาณ 36,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก(คน)
19.00
2 ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกจังหวัดกาญจนบุรี เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในปี 2560 อำเภอท่าม่วงมีสถิติโรคไข้เลือกออกสูงเป็นอันดับ ๒ ของจังหวัดและตำบลวังขนายมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 คน ผลการการรณรงค์และการควบคุมป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีมาตรการป้องกันและควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ดังนั้นมาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียวดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การปรับพฤติกรรมชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม การรณรงค์การระสานความร่วมมือกับโรงเรียนชุมชนสถานที่ราชการต่างๆการจัดหาสารฆ่าลูกน้ำการพ่นหมอกควันและสารเคมีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำและสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด มุ่งเน้นในการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ในชุมชนของตนเองอย่างต่อเนื่องทุกวันศุกร์ ซึ่งจะส่งผลให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกลดลงและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก(คน)

จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก(คน)

5.00
2 ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เชิงรุก เรื่อง โรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในพื้นที่ พร้อมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์/กำจัดลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (4 ครั้ง/ปี) 100 16,300.00 16,300.00
13 มี.ค. 61 กิจกรรมเพาะพันธุ์ตะไคร้หอม 0 20,000.00 20,000.00
รวม 100 36,300.00 2 36,300.00
  1. คณะทำงานติดตามและประเมินโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลโรคไข้เลือดออก
  2. เขียนโครงการ
  3. เสนอโครงการฯ เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณดำเนินการฯ
  4. ดำเนินงานโครงการฯ
  5. จัดประชุมคณะทำงานและเครือข่ายฯที่เกี่ยวข้องฯ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  6. จัดกิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน 4 ครั้ง/ปี พร้อมรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน ควบคุมโรคฯ
  7. จัดกิจกรรมการประเมินสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โดยคณะทำงาน
  8. การส่งเสริมและสนับสนุน การจัดทำนวัตกรรมของเด็กนักเรียนในโรงเรียนในการป้องกัน/ควบคุมโรคไข้เลือดออก
  9. ลดการใช้ทรายอะเบทและพ่นหมอกควันในชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนใช้วิธีชีวภาพในการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ โดยการจัดตั้งธนาคารตะไคร้หอม เพื่อขยายพันธ์ตะไคร้หอม/แจกจ่ายตะไคร้หอมให้กับชุมชน ตลอดจนการนำตะไคร้หอมมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ สามารถนำไปใช้ในครัวเรือนได้
  10. กิจกรรมการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชน ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนสามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง 2. ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำที่พบในชุมชนในเขตเมือง (HI) ไม่เกิน 0 และ CI ไม่เกิน 10 ทุกหมู่บ้าน 3. ชุมชน ประชาชน โรงเรียน วัด และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก 4. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 13:16 น.