กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาพ

สร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เทศบาลเมืองลำพูน ประจำปีงบประมาณ 256130 ตุลาคม 2560
30
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลเมืองลำพูน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม    ค่ายความรู้สู้ภัยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง 1. จัดเตรียมแผนการจัดกิจกรรมค่ายเบาหวาน – ความดันโลหิตสูง  โดยจะจัดกิจกรรมการเข้าค่าย 1ครั้ง /ปีงบประมาณ
2. จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน – ความดันโลหิตสูง  โดยแบ่งผู้ป่วยที่จะเข้าร่วมกิจกรรม คือ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง จำนวน 40คน  โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส. 3. ติดตามประเมินผล โดย - แบบทดสอบความรู้หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม - แบบติดตามและประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 4. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

กิจกรรม    ค่ายความรู้สู้ภัยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง  โรคเบาหวานและโรคหัวใจ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโรคไม่ติดต่อเหล่านี้ไม่ได้มีผลกระทบเฉพาะบุคคลผู้ที่เป็นโรคเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปถึงครอบครัว ชุมชนรวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองลำพูน  มีผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาในคลินิกด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,023 รายและโรคเบาหวานจำนวน  279 ราย  (ข้อมูล ณ กันยายน 2560) และมีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เช่น อัมพฤกษ์  อัมพาตและพิการจำนวน 460 ราย ในจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้จากการซักประวัติ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มารับการรักษามีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการขาดการรักษาอย่างต่อเนื่องและรับประทานยาไม่ถูกต้อง ส่งผลให้การควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีพอทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ศูนย์บริการฯได้ตระหนักถึงปัญหาของกลุ่มโรคดังกล่าวฯ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง เทศบาลเมืองลำพูนขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลติดตามภาวะสุขภาพของประชาชน รวมถึงให้ ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน 17 ชุมชน ในเขตพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพซึ่งกันและกัน ตามนโยบายโครงการเมืองไทยแข็งแรง ( Healthy  Thailand ) ทีส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้คนไทยอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา สามารถดำรงชีพภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  มีครอบครัวที่อบอุ่น  อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพชีวิตและทรัพย์สิน เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีสุขภาพแข็งแรงยืนยาว