กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาพ
รหัสโครงการ 61-L7236-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลำพูน
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 39,791.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลำพูน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ละติจูด-ลองจิจูด 18.573,99.002place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (39,791.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
40.00
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
30.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“ หมู่บ้านจัดการสุขภาพ ” คือพื้นที่เป้าหมายของการพัฒนาถือเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาที่สามารถดําเนินงานด้านสุขภาพอย่างเป็นขั้นตอนให้เห็นได้เป็นรูปธรรม โดยเป็นกระบวนการพัฒนารูปแบบใหม่ที่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรเอกชนอื่นๆ เป็น “ ผู้สนับสนุน ” ให้หมู่บ้าน / ชุมชน เป็นองค์กรจัดการตนเอง การพัฒนาหมู่บ้านจัดการสุขภาพมุ่งเน้นที่กระบวนการจัดการด้านสุขภาพ 5 ประเด็น ประกอบด้วยการจัดการปัจจัยนำเข้า การขับเคลื่อนกระบวนการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน การเฝ้าระวังสุขภาพชุมชน เป็นต้นแบบการจัดการสุขภาพของชุมชน และการมีผลลัพธ์และผลกระทบของการพัฒนาเพื่อให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน จน สามารถจัดการและพึ่งพากันเองได้โดยมีเจ้าหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและอํานวยความสะดวก ประเด็นนี้จะช่วยให้ชุมชนเติบโตทางปัญญาและมีศักยภาพเพียงพอที่จะจัดการตนเองได้ไม่เฉพาะเรื่องสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุกๆด้าน ด้วยกระบวนการพัฒนา ที่จะให้เกิดหมู่บ้านจัดการสุขภาพขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างมากของภาคี เครือข่ายด้านสุขภาพ ที่จะต้องร่วมกันเป็นผู้สนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนา แกนนําหลักในพื้นที่อันได้แก่อสม. และแกนนำอื่น ๆ ให้มีความรู้และทักษะในการจัดการด้านสุขภาพได้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ดังนั้น เพื่อให้ภาคีเครือข่ายดําเนินการเรื่องนี้ไปในทิศทางเดียวกัน และบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันได้อย่างชัดเจน กอง สนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน จึงได้จัดทำแนวทางการดําเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ “ เส้นทางสู่ความสำเร็จ การพัฒนาหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ” ขึ้นเพื่อสนับสนุนดำเนินงานให้แก่ภาคีเครือข่ายฯในการขับเคลื่อนให้เกิด หมู่บ้านจัดการสุขภาพและการพัฒนาต่อยอดให้เกิดความยั่งยืนได้ จนเป็นตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการต่อไป
ในปี 2559 และปี 2560 มีการดำเนินการประเมินการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพของชุมชนทั้ง 17 ชุมชนตามแบบประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพ พบว่าปี 2559 พบว่ามีชุมชนผ่านเกณฑ์ประเมินการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพระดับดีขึ้นๆไป จำนวน 15 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 80 ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูน และในปี 2560 จากการประเมินผลการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพตามแบบบันทึกการประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพในระบบสารสนเทศ งานสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพพบว่า ร้อยละ 100 ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ผ่านเกณฑ์การดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพระดับดี ดังนั้นกองการแพทย์ เทศบาลเมืองลำพูนจึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2561 ขึ้น เพื่อเป็นสนับสนุนส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดการระบบที่ดีเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชนเหมาะสมกับชุมชนของตนเองและเกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบยั่งยืนสืบเนื่องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

60.00 65.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

30.00 25.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

40.00 35.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38.00 2 72,735.00
1 ต.ค. 60 - 1 ก.ค. 61 ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ประจำปี 2561 0 1.00 -
1 ต.ค. 60 - 1 ก.ย. 61 สร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เทศบาลเมืองลำพูน ประจำปีงบประมาณ 2561 0 9.00 44,775.00
7 มิ.ย. 61 สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2561 0 28.00 27,960.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อขอรับความเห็นชอบ
  2. ประสานงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ
  3. ชี้แจงหลักเกณฑ์และแบบประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพแก่ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูนเพื่อประเมินตนเองก่อนการนำเสนอผลการดำเนินงาน
  4. จัดเวทีนำเสนอแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูนทั้ง 17 ชุมชน
  5. สรุปผลการประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีการจัดระบบการดูแลสุขภาพอย่างมีแบบแผน
  2. ชุมชนมีการบริหารจัดการสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
  3. มีความเข้มแข็งของโครงสร้างชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2561 15:28 น.