กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการที่นอนน้ำสำหรับผู้ป่วยติดเตียง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลปัตตานี
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 100,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัลยา ตั้งสิริวรกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางกัลยา เอี่ยวสกุล
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสาธารณสุข ปัญหาส่วนใหญ่พบว่ามีผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้นจากภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังจากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ได้ระบุถึงสาเหตุสำคัญของผู้ป่วยในได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ ไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุจากอุบัติเหตุจราจรพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทยที่กำลังเคลื่อนเข้าสู่“สังคมผู้สูงอายุ”ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสื่อมของร่างกาย ที่เป็นไปตามอายุทำให้พบความเจ็บป่วยเรื้อรังได้มากขึ้นทั้งนี้พบผู้สูงอายุในไทยในสัดส่วนที่สูงขึ้น ภายในปี พ.ศ. 2568ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์(Aged society )ผู้สูงอายุ 21% เป็นผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียงก่อให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนทำให้มีผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้นตามลำดับซึ่งเมื่อผู้ป่วยต้องนอนอยู่กับที่นาน ๆ ไม่มีการเคลื่อนไหวการกดทับโดยน้ำหนักตัวเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดการตีบของหลอดเลือดฝอยและหลอดเลือดแดงเล็กๆ ทำให้เซลล์ขาดเลือดไปเลี้ยงและได้รับอาหารไม่เพียงพอรวมทั้งไม่สามารถขับของเสียออกไปได้จึงทำให้เกิดการตายของเซลล์ เกิดเป็นแผลกดทับซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยการเกิดแผลกดทับทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับความทุกข์ทรมานมากขึ้นและส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นจากการดูแลรักษาเป็นภาระของครอบครัวมากขึ้นและเมื่อเป็นแผลกดทับเรื้อรังระดับ 3 – 4 อาจทำให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
การใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยป้องกันแผลกดทับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการลดและกระจายแรงกดบริเวณพื้นผิวสัมผัสระหว่างผิวหนังของผู้ป่วยกับพื้นที่ผิวที่รองรับน้ำหนักโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกได้แก่สะโพกก้นกบสะบักหลังตาตุ่มและส้นเท้า ปัจจุบันมีความพยายามออกแบบวัสดุรองรับเพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยหลากหลายประเภทอาทิเช่นที่นอนลม ที่นอนเจล ที่นอนระบบไฟฟ้า ซึ่งมีราคาสูง จากการศึกษาข้อมูลผลงานวิจัยต่างๆพบว่าที่นอนที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยคือที่นอนน้ำ แต่สาเหตุที่ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากการพัฒนายังไม่ชัดเจนมาก และมีราคาแพงมากทำให้เกิดแนวคิดในการสร้างที่นอนน้ำสำหรับผู้ป่วยติดเตียงทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการใช้วัสดุทำจากยางพาราบรรจุน้ำ ซึ่งยางพารามีคุณสมบัติในการยืดขยายได้ดี ทนทานต่อการกดทับ เมื่อถุงยางพาราบรรจุน้ำถุงใดถุงหนึ่งเกิดชำรุดที่นอนน้ำก็ยังคงมีประสิทธิภาพในการรับแรงกดทับเนื่องจากถุงยางพาราด้านข้างทั้ง2ด้านจะขยายพื้นที่มาช่วยพยุงและรับน้ำหนักชั่วคราว ระหว่างรอการซ่อมหรือเปลี่ยนถุงยางพาราถุงใหม่การเปลี่ยนถุงบรรจุน้ำสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยการเปลี่ยนเฉพาะถุงบรรจุน้ำที่ชำรุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดการเกิดแผลกดทับที่บ้านรายใหม่

1.การเกิดแผลกดทับที่บ้านรายใหม่ไม่เกินร้อยละ  5

0.00
2 2.เพื่อลดความรุนแรงของแผลกดทับที่ผู้ป่วยเป็นอยู่เดิม

2.ระดับความรุนแรงของแผลกดทับลดระดับลงร้อยละ 5 

0.00
3 3. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ

3.ญาติมีความพึงพอใจร้อยละ  80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 100,800.00 0 0.00
??/??/???? ติดต่อ/ประสานงาน อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แผนกวิจัยการยาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และคณะทำงาน 0 100,800.00 -

ขั้นเตรียมการ 1 ติดต่อ/ประสานงาน อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแผนกวิจัยการยาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี และคณะทำงานเพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินโครงการออกแบบและจัดทำถุงยางพาราบรรจุน้ำและปลอกที่นอนสำหรับใส่ถุงยางพาราบรรจุน้ำ 2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.6.2 ขั้นดำเนินการ 1 ซื้อถุงยางพาราบรรจุน้ำจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แผนกวิจัยการยางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
2 ซื้อปลอกที่นอนสำหรับใส่ถุงยางพาราบรรจุน้ำ 1.6.3 นำไปใช้ 1 นำไปใช้กับผู้ป่วยติดเตียงในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี 2 ประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การเกิดแผลกดทับที่บ้านรายใหม่ไม่เกินร้อยละ5
    1. ระดับความรุนแรงของแผลกดทับลดลงร้อยละ 5
    2. ผู้รับบริการและญาติมีความพึงพอใจร้อยละ80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2561 10:10 น.