กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ ”
ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล



หัวหน้าโครงการ
ชมรมแอโรบิคเพื่อสุขภาพ




ชื่อโครงการ โครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 - 06 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง 15 กันยายน 2561

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ



บทคัดย่อ

ภาวะโรคอ้วน เป็นปัยหาที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในปัจจุบัน เป็นเหตุให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอลง และยังเป็นสาเหตุหลักของโรคภัยต่างๆ มากมาย หากไม่ได้รับการส่งเสริมและให้ความตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย อย่างถูกต้องก็จะกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ดังนั้นจึงเป็นปัญหาที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและสามารถดูแลตนเองได้ ลดภาวะพึ่งพิงผู้อื่นให้น้อยที่สุด โดยการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อให้ประชาชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 15 ขึ้นไป ที่มีค่า BMI และรอบเอวเกิน ได้รับการแก้ไข 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม 3. เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมีการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างต่อเนื่อง 4. เพื่อติดตามผลและแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มที่ค่า BMI ไม่ลด กลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่มีค่า BMI และรอบเอวเกิน 100 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ดดยใช้แบบประเมินความรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ คู่มืในการบันทึกสุขภาพ การฝึกปฏิบัติ การสังเกต และการติดตามผล นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ

ผลการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญ และประโยชน์ของการออกกำลังกาย และเรียนรู้วิธีการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี เพิ่มขึ้นหลังเข้ารับการอบรมมากกว่าร้อยละ 85 และผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น วัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว โดยค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ของผู้เข้าร่วมโครงการมีค่าลดลง คิดเป็นร้อยละ 74.00 และกรณีที่ค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวไม่ลด แต่หลังจากได้รับการแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่ มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นจ โดยค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว มีค่าลดลง ร้อยละ 80.00 ที่สำคัยพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการนี้ในระดับมากที่สุด ถึงร้อยละ 92.00

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันสังคมของไทยเริ่มเปลี่ยนไปจากอดีตเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ จากสภาพสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสภาพแวดล้อม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกายหลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จึงเป็นเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ฯลฯ ทำให้ระบบสุขภาพของคนไทยต้องเน้นการ "สร้าง" มากกว่าการ "ซ่อม" สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุกและการสร้างเสริมสุขภาพ เนื่องจากประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา จึงได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้มาใส่ใจในการออกกกาลังกายเพื่อดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีขึ้น การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากและควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นการส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ การออกกำลังกายอาจจะอยู่ในรูปแบบของการเดิน-วิ่ง การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค เป็นต้น
ซึ่งการเต้นโรบิคเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต อีกทั้งยังทำให้ประชาชนได้เล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิคอีกด้วย ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 10 บ้านปากปิง มีทั้งหมด 1,095 คน คนที่มีภาวะอ้วนส่วนใหญ่ในชุมชนพบในเพศหญิง ซึ่งมีค่า BMI เกิน ประมาณ 150 คน และคนที่มีภาวะอ้วนส่วนใหญ่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคปวดเมื่อย ปวดเข่า ร้อยละ 50 และโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ร้อยละ 15 จำเป็นอย่างยิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นนโยบายของรัฐบาลโดยให้มีการออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆ โดยกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักและตื่นตัวในการออกกำลังกายและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายส่งผลทำให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายความเครียด เสริมสร้างความสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อีกด้วย จากปัญหาดังกล่าว ชมรมแอโรบิคเพื่อสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ ปี ๒๕๖๑ ในครั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้และออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างต่อเนื่องเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง พร้อมทั้งติดตาม ประเมินผลประชาชนในชุมชนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดค่า BMI และรอบเอวที่ลดลง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้ประชาชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 15 ขึ้นไป ที่มีค่า BMI และรอบเอวเกิน ได้รับการแก้ไข
  2. 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม
  3. 3. เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมีการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างต่อเนื่อง
  4. 4. เพื่อติดตามผลและแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มที่ค่า BMI ไม่ลด

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการออกกำลังกาย
  2. กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน
  3. กิจกรรมที่ 4 ติดตามผล
  4. กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  5. จัดทำรูปเล่มรายงาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีค่า BMI และรอบเอวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และเป็นตัวอย่างที่ดีให้ผู้อื่นได้
    1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวการออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน และประโยชน์ของการออกกำลังกาย
    2. ประชาชนในชุมชนร่วมมือ ร่วมใจกันออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิคกันอย่างต่อเนื่อง
    3. ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มที่มีค่า BMI และรอบเอวไม่ลด สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน

วันที่ 27 มิถุนายน 2560

กิจกรรมที่ทำ

  1. วัดค่า BMI และวัดรอบเอวของผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อนดำเนินโครงการ
  2. บรรยายเรื่องความสำคัญของการออกกำลังกาย และประโยชน์ของการออกกำลังกาย
  3. สอน/สาธิต เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
  4. สอน/สาธิต การออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน และการเต้น แอโรบิค

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการประเมินผลการทดสอบ พบว่าก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ 48.93 แต่หลังเข้ารับการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีระดับความรู้ในเรื่องของความสำคัญและประโยชน์ของการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 85.00 ซึ่งคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ คำถามข้อที่ 5 บุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่จำเป็นต้องออกกำลังกาย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.00 เป็น ร้อยละ 90.00 รองลงมาคือ คำถามข้อที่ 8 ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรออกกำลังกายมากกว่าคนที่มีสุขภาพแข็งแรง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.00 เป็น ร้อยละ 85.00 และคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดคือคำถามข้อที่ 4 การออกกำลังกายทำให้เกิดการใช้ออกซิเจนและเผาผลาญอาหารในร่างกายเพิ่มขึ้น เปลี่ยนแปลงเพียงร้อยละ 5.00

 

100 0

2. กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการออกกำลังกาย

วันที่ 27 มิถุนายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. ออกกำลังกายเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพ ในเวลา ๑๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. เป็นประจำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จนสิ้นโครงการ
  2. เดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนในชุมชนมาร่วมออกกำลังกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการประเมินพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งวัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอว โดยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอวของผู้เข้าร่วมโครงการมีค่าลดลงคิดเป็นร้อยละ 74.00 สำหรับกลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่ลดลงแต่เส้นรอบเอวลดลง หรือ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลงแต่เส้นรอบเอวไม่ลดลง คิดเป็นร้อยละ 5.00 และกลุ่มผู้เข้าร่วมโรงการที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอว ไม่ลดลง คิดเป็นร้อยละ 21.00

 

100 0

3. กิจกรรมที่ 4 ติดตามผล

วันที่ 27 มิถุนายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมคณะกรรมการติดตามผล จำนวน 3 ครั้ง
  2. สอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อน/ขณะ/หลังเข้าร่วมโครงการ
  3. ตรวจเช็คการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการประเมินพบว่า จากการสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อน/ขณะ/หลัง เข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น โดยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอวมีค่าลดลงคิดเป็นร้อยละ 80.00

 

100 0

4. กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

วันที่ 27 มิถุนายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. ติดตาม/แนะนำการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ปรับเมนูอาหาร เป็นต้น
  2. ประเมินค่า BMI และวัดรอบเอว สำหรับกลุ่มที่มีค่า BMI ไม่ลด
  3. จัดทำคู่มือในการบันทึกสุขภาพเป็นรายบุคคล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการประเมินพบว่า จากการแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ปรับเมนูอาหาร และควบคุมปริมาณอาหาร พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น โดยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอวมีค่าลดลงคิดเป็นร้อยละ 80.00

 

100 0

5. จัดทำรูปเล่มรายงาน

วันที่ 30 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

จัดจ้างทำรูปเล่มรายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รูปเล่มรายงาน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน
จากการประเมินผลการทดสอบ พบว่าก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ 48.93 แต่หลังเข้ารับการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีระดับความรู้ในเรื่องของความสำคัญและประโยชน์ของการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 85.00 ซึ่งคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ คำถามข้อที่ 5 บุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่จำเป็นต้องออกกำลังกาย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.00 เป็น ร้อยละ 90.00 รองลงมาคือ คำถามข้อที่ 8 ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรออกกำลังกายมากกว่าคนที่มีสุขภาพแข็งแรง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.00 เป็น ร้อยละ 85.00 และคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดคือคำถามข้อที่ 4 การออกกำลังกายทำให้เกิดการใช้ออกซิเจนและเผาผลาญอาหารในร่างกายเพิ่มขึ้น เปลี่ยนแปลงเพียงร้อยละ 5.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการออกกำลังกาย
ผลการประเมินพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งวัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอว โดยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอวของผู้เข้าร่วมโครงการมีค่าลดลงคิดเป็นร้อยละ 74.00 สำหรับกลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่ลดลงแต่เส้นรอบเอวลดลง หรือ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลงแต่เส้นรอบเอวไม่ลดลง คิดเป็นร้อยละ 5.00 และกลุ่มผู้เข้าร่วมโรงการที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอว ไม่ลดลง คิดเป็นร้อยละ 21.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ผลการประเมินพบว่า จากการแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ปรับเมนูอาหาร และควบคุมปริมาณอาหาร พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น โดยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอวมีค่าลดลงคิดเป็นร้อยละ 80.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผล
ผลการประเมินพบว่า จากการสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อน/ขณะ/หลัง เข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น โดยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอวมีค่าลดลงคิดเป็นร้อยละ 80.00

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้ประชาชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 15 ขึ้นไป ที่มีค่า BMI และรอบเอวเกิน ได้รับการแก้ไข
ตัวชี้วัด : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อยร้อยละ 60 สามารถลดค่า BMI และรอบเอวได้อย่างเหมาะสม
60.00 74.00

 

2 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม
80.00 85.00

 

3 3. เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมีการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
80.00 80.00

 

4 4. เพื่อติดตามผลและแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มที่ค่า BMI ไม่ลด
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 50 ของประชาชนกลุ่มที่มีค่า BMI ไม่ลด สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม
50.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ภาวะโรคอ้วน เป็นปัยหาที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในปัจจุบัน เป็นเหตุให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอลง และยังเป็นสาเหตุหลักของโรคภัยต่างๆ มากมาย หากไม่ได้รับการส่งเสริมและให้ความตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย อย่างถูกต้องก็จะกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ดังนั้นจึงเป็นปัญหาที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและสามารถดูแลตนเองได้ ลดภาวะพึ่งพิงผู้อื่นให้น้อยที่สุด โดยการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อให้ประชาชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 15 ขึ้นไป ที่มีค่า BMI และรอบเอวเกิน ได้รับการแก้ไข 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม 3. เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมีการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างต่อเนื่อง 4. เพื่อติดตามผลและแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มที่ค่า BMI ไม่ลด กลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่มีค่า BMI และรอบเอวเกิน 100 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ดดยใช้แบบประเมินความรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ คู่มืในการบันทึกสุขภาพ การฝึกปฏิบัติ การสังเกต และการติดตามผล นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ

ผลการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญ และประโยชน์ของการออกกำลังกาย และเรียนรู้วิธีการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี เพิ่มขึ้นหลังเข้ารับการอบรมมากกว่าร้อยละ 85 และผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น วัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว โดยค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ของผู้เข้าร่วมโครงการมีค่าลดลง คิดเป็นร้อยละ 74.00 และกรณีที่ค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวไม่ลด แต่หลังจากได้รับการแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่ มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นจ โดยค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว มีค่าลดลง ร้อยละ 80.00 ที่สำคัยพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการนี้ในระดับมากที่สุด ถึงร้อยละ 92.00

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 - 06

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ชมรมแอโรบิคเพื่อสุขภาพ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด