ชุมชนร่วมใจป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก 2561
ชื่อโครงการ | ชุมชนร่วมใจป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L3308-01-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.บ้านชะรัด |
วันที่อนุมัติ | 22 กุมภาพันธ์ 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางภาขวัญ เศรษฐสุข |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.473,99.989place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 104 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาระดับประเทศ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่อัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกยังไม่ลดลง โดยในปี พ.ศ. 2559 อำเภอกงหรามีผู้ป่วยจำนวน 207 คน อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเท่ากับ 577.21 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายมาก คือ อัตราป่วยไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร และในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านชะรัด มีจำนวนผู้ป่วย 22 คน อัตราป่วย 479.7 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายมาก พ.ศ.2560 อำเภอกงหรา มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 42 คน อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเท่ากับ 121.11 ต่อแสนประชากร ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านชะรัด มีจำนวนผู้ป่วย 3 คน อัตราป่วย 43.44 ต่อแสนประชากร จะเห็นว่าแนวโน้มของโรคไข้เลือดออกเริ่มลดลง แต่โรคไข้เลือดออกจะระบาด 1 ปี เว้น 2 ปี เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกอยู่ตลอดเวลา โดยต้องมีการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด จึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือนและทุกหมู่บ้าน และได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อหาแนวทางปฏิบัติร่วมกันเพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง 2. เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 3. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ 4. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ตัวชี้วัดความสำเร็จ ประชาชนมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกและสามารถป้องกันตนเองจากไข้เลือดออกได้ และสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านสะอาด ค่า HI<10 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และ CI = 0 มีการสำรวจและทำลายลูกน้ำ ทุกวันศุกร์ -อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงเหลือ ไม่เกิน 90 ต่อแสนประชากร -อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินร้อยละ 0.15 |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
3 พ.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 | กิจกรรมที่ 1 ช่วงก่อนระบาด - สร้างจิตอาสา หรือ เยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขในโรงเรียน เพื่อสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ทุกวันศุกร์ - สร้างจิตอาสา รับผิดชอบ วัด มัสยิด สถานที่รา | 100 | 40,000.00 | ✔ | 40,000.00 | |
รวม | 100 | 40,000.00 | 1 | 40,000.00 |
ขั้นตอนวางแผนงาน - ประชุมชี้แจงประชาชน ภาคีเครือข่าย เทศบาล โรงเรียน วัด มัสยิด คืนข้อมูลผลการดำเนินงาน ปี 2560
- วางแผนการควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2561 ร่วมกับภาคีเครือข่ายขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 ช่วงก่อนระบาด - สร้างจิตอาสา หรือ เยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขในโรงเรียน เพื่อสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ทุกวันศุกร์
- สร้างจิตอาสา รับผิดชอบ วัด มัสยิด สถานที่ราชการในชุมชน เพื่อสำรวจและทำลายลูกน้ำ ทุกวันศุกร์ - ในชุมชนดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชน อสม. ภาคีเครือข่าย สำรวจและทำลายลูกน้ำ ทุกวันศุกร์ - พ่นหมอกควันโรงเรียนและ ศพด.ก่อนเปิดภาคเรียน - อสม.สำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน - ประชุมคณะกรรมการ SRRT รพ.สต.บ้านชะรัด พร้อมทั้งฟื้นฟูความรู้ตามมาตรฐาน - ประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย กิจกรรมที่ 2 ช่วงระบาด - รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกช่วงระบาด (มิย.-ธค.61) - ดำเนินการพ่นหมอกควันในกรณีเกิดโรควันที่ 0,3,7 - ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมสำรวจค่า HI,CI ในวันที่ 0,3,7,14,28 - สอบสวนโรคเพื่อหาความเชื่อมโยงของการเกิดโรค - แจ้งข่าวสารให้กับชุมชนรับทราบ กิจกรรมที่ 3 ช่วงหลังเกิดโรค 1.สร้างพื้นที่ให้มีค่า HI,CI เป็น 0 (Clean zone) ในบริเวณเกิดโรค 28 วัน เพื่อป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายที่ 2 (Generation 2)
- ประชาชนมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกและสามารถป้องกันตนเองจากไข้เลือดออกได้
- ค่า HI
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2561 09:30 น.