กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ1 กรกฎาคม 2562
1
กรกฎาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำรูปเล่มสรุปผลการดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีรูปเล่มสรุปผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 5 ติดตาม/ประเมินผล1 ธันวาคม 2561
1
ธันวาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ติดตาม เก็บข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือนหลังดำเนินโครงการ

  2. สุ่มครัวเรือนในชุมชน จำนวน 120 ครัวเรือน เพื่อดูการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแต่ละครัวเรือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 5 ติดตาม/ประเมินผล

การติดตามผลการจัดการขยะแต่ละครัวเรือน โดยการสุ่ม จำนวน 120 ครัวเรือนในชุมชน พบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะมีการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น จากการทิ้งเศษอาหารบริเวณบ้าน ก็ปรับเปลี่ยนมาทำเป็นถังขยะเปียก ร้อยละ 85.83 ทำน้ำหมักชีวภาพ ร้อยละ 79.17 ขยะบางประเภทขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า ร้อยละ 91.67 ส่วนประเภทขยะอันตรายทิ้งลงถังขยะสีแดงที่ อบต.จัดให้ ร้อยละ 87.5 และขยะทั่วไปก็นำไปทิ้งลงถัง อบต. จะเห็นได้ว่าประชาชนในชุมชนให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชนกันมากขึ้น หลังจากมีการรณรงค์เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ประชาชนบางครัวเรือนเลิกใช้ถุงพลาสติก โดยใช้ถุงผ้าแทน แต่ก็ยังมีประชาชนที่ยังคงใช้ถุงพลาสติกในการบรรจุอาหาร สาเหตุเพราะมีความสะดวกสบาย แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนหลังจากดำเนินโครงการแล้วก็เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมจัดเวทีประชาคมและประชาสัมพันธ์ แนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ3 ตุลาคม 2561
3
ตุลาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. คืนข้อมูล (นำเสนอข้อมูลทั่วไป สถานการณ์ขยะมูลฝอย ข้อมูลการจัดการขยะจากการสำรวจ)

  2. ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา/กำหนดกติกาการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ

  3. ออกแบบการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ

  4. จัดทำ/ติดป้ายประชาสัมพันธ์แนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ กฎ กติกา ข้อตกลงในการจัดการขยะ

  5. จัดกิจกรรมรณรงค์ Big Cleaning Day ในชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีประชาคมและประชาสัมพันธ์ แนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน / พื้นที่สาธารณะ

จัดกิจกรรมคืนข้อมูลจากการสำรวจการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนหมู่ที่ 7 บ้านโกตา จำนวน 308 ครัวเรือน ได้แจ้งผลให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับปัญหาขยะในชุมชน และสาเหตุของปัญหา เพื่อที่จะให้ทุกคนได้ร่วมกันแก้ไข และหาแนวทางเพื่อที่จะลดปริมาณขยะในชุมชน และทางคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชนได้จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ กฎ กติกา ข้อตกลง ให้ประชาชนได้รับทราบและยึดถือปฏิบัติตาม เพื่อให้เป็นหมู่บ้านปลอดขยะ

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล/ชุมชน และหาแนวทางจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ11 กันยายน 2561
11
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดทำเวทีเปิดโครงการชี้แจงรายละเอียดให้ประชาชนในชุมชนทราบ

  2. ชี้แจงวัตถุประสงค์และความเป็นมาของโครงการ

3.สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยให้แก่ประชาชนตามแนวคิด 3Rs ได้แก่ ลดการใช้ (Reduce)  การใช้ซ้ำ (Reuse)  และการแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล/ชุมชน และหาแนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ

    2.1 จัดทำเวทีเปิดโครงการชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์ ให้ประชาชนในชุมชนทราบ พบว่าประชาชนในชุมชนให้ความสนใจเป็นอย่างมากโดยเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยร้อยละ 80 โดยสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยตามแนวคิด 3Rs ได้แก่ ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และยอมรับกับแนวทางการจัดการขยะของชุมชน พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับแกนนำในชุมชน เพื่อที่จะลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชนต่อไป<br />

    2.2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และที่สาธารณะ

        กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในชุมชน จำนวน 308 คน การประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน – หลังอบรม จำนวน 14 ข้อ เกณฑ์การประเมินผล ดังนี้

    คะแนน 1 – 5&nbsp;       ระดับต่ำ

    คะแนน 6 – 10        ระดับปานกลาง

    คะแนน 11 – 14       ระดับสูง

จากการประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนการอบรม พบว่า คะแนนของผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 189 คน คิดเป็นร้อยละ 61.36 ระดับสูง จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 25.97 และระดับต่ำ จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 12.67 และหลังจากผ่านการอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 85.06 ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับสูง ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจเพิ่มขึ้น<br />

2.3 จัดทำธรรมนูญด้านการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
  1. อยากให้แนะนำความรู้ การจัดการขยะ แก่ครัวเรือนทุกครัวเรือน

  2. จัดทำป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การจัดการขยะ

  3. สร้างข้อตกลง/วัฒนธรรมการจัดการขยะ  เช่น การใช้ภาชนะ

  4. จัดตั้งธนาคารออมขยะสำหรับเด็กในโรงเรียน

  5. ทุกครัวเรือนต้องมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนของตัวเองตามหลัก 3Rs

  6. สร้างแรงจูงใจในการให้รางวัลครัวเรือนที่น่าอยู่ สะอาด ปลอดขยะ

  7. สร้างสัญญาลักษณ์ บ่งชี้ (เขียว เหลือง  แดง) ครัวเรือนจำกัดขยะ ตัดสิทธ์สวัสดิการของกลุ่มที่อยู่ในชุมชน

  8. ให้ทุกครัวเรือนปฏิบัติตามข้อตกลงทุกประการ อย่างเคร่งครัด

  9. ให้คณะกรรมการ/กลไกครัวเรือนการจัดการขยะในชุมชนและรายงานต่อที่ประชุมใหญ่ประจำปีๆ ละ 2 ครั้ง

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสำรวจข้อมูลการจัดการขยะในชุมชน1 กันยายน 2561
1
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เก็บข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือนก่อนดำเนินโครงการ

  2. รวบรวมข้อมูล/วิเคราะห์ข้อมูล/สรุปผล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน

การสำรวจความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยและการคัดแยกขยะ จากครัวเรือนในชุมชน จำนวน 308 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ แต่ข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก คือ เกี่ยวกับการจัดหาถังขยะเป็นหน้าทื่ที่ทุกบ้านต้องจัดหาเอง ร้อยละ 35.06 ตอบว่าไม่ใช่เป็นหน้าที่ของประชาชน ซึ่งประชาชนส่วนหนึ่งยังคงเข้าใจผิด คิดว่าการจัดหาถังขยะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ
เจตคติต่อการจัดการมูลฝอยของประชาชนในชุมชน จำนวน 308 ครัวเรือน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย ร้อยละ 52.60 ยังคงคิดว่าการแก้ไขปัญหามูลฝอยเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการเท่านั้น และมีประชาชนร้อยละ 33.17 คิดว่าการคัดแยกมูลฝอยเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ จะเห็นได้ว่าประชาชนยังคงคิดว่าการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับขยะและการคัดแยกขยะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ จึงทำให้ประชาชนขาดความตระหนักและไม่ได้มองว่าการแก้ไขปัญหาจริงๆ ต้องมาจากตนเองก่อน

พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยในครัวเรือน พบว่า ประชาชนไม่ได้นำตะกร้าหรือกระเป๋าผ้าไปใส่ของเมื่อไปซื้อของหรือจ่ายตลาด คิดเป็นร้อยละ 84.09 ไม่ได้นำถุงพลาสติก ถุงหูหิ้ว ที่ยังมีสภาพดีกลับมาใช้ซ้ำอีก ร้อยละ 35.06&nbsp; และไม่ได้นำขยะรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่เป็นประจำ ร้อยละ 61.69<br />

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของประชาชนยังคงใช้ถุงพลาสติกในการบรรจุอาหาร เพราะมีความสะดวกสบายในการซื้อของต่างๆ ส่วนหนึ่งยังไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาภายหลัง

จากข้อมูลส่วนที่ 6 การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการจัดการมูลฝอยจากครัวเรือนในชุมชน จำนวน308 ครัวเรือน ด้านที่ 1 การมีส่วนร่วมค้นหาสาเหตุของปัญหาการจัดการมูลฝอยในชุมชน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือการเสนอปัญหา สาเหตุของปัญหาในการจัดการมูลฝอยในชุมชนในที่ประชุม ร้อยละ 81.17 ด้านที่ 2 การมีส่วนร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาการจัดการมูลฝอยในชุมชน พบว่า ระดับการมรส่วนร่วมมากที่สุด คือ ให้ข้อมูลที่จำเป็นในการประชุมวางแผนขั้นตอนในการจัดการมูลฝอยในชุมชน ร้อยละ 80.84 การวางแผนจัดหาสิ่งของ เช่น อุปกรณ์ทำความสะอาด ถังขยะ เป็นต้น เพื่อแก้ไขปัญหามูลฝอยในชุมชน ร้อยละ 90.91 และวางแผนรณรงค์การกำจัดมูลฝอยในชุมชน ร้อยละ 90.91 ด้านที่ 3 การดำเนินงานจัดการมูลฝอยในชุมชน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมกับ อบต. ในการเข้ารับการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอย ร้อยละ 91.88 ด้านที่ 4 การรับผลประโยชน์ พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมาก คือ มีรายได้จากการนำมูลฝอยบางประเภทไปขาย ร้อยละ 78.57 สามารถติดต่อสื่อสารกับ อบต. ได้สะดวกขึ้น ร้อยละ 87.99 มีส่วนร่วมในการทำให้ชุมชนสะอาดเรียบร้อย ร้อยละ 81.17 และมีส่วนร่วมในการลดมลพิษในชุมชนให้น้อยลง ร้อยละ 84.74 ด้านที่ 5 การติดตามและประเมินผล พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ได้รับทราบผลการประเมินผลการดำเนินงานการจัดการมูลฝอยในชุมชนของท่าน ร้อยละ 80.84
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดตั้งแกนนำหมู่บ้าน3 กรกฎาคม 2561
3
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.1 คัดเลือกแกนนำชุมชน/จัดตั้งแกนนำชุมชน

1.2 จัดประชุมแกนนำชุมชน รวม 4 ครั้ง/ปี โดยมีรายละเอียดการประชุม ดังนี้

ประชุมครั้งที่ 1 ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจโครงการ แบ่งบทบาทหน้าที่ วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน รวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ประชุมครั้งที่ 2 และ 3 ออกแบบสำรวจข้อมูล ประชุมสรุปความก้าวหน้าการทำงานตามแผน เสนอปัญหาที่พบ และร่วมกันหาทางแก้ปัญหา หรือพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น

ประชุมครั้งที่ 4 ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินกิจกรรม

ได้วางแผนการดำเนินงานและได้คัดเลือกตัวแทนชุมชนเพื่อเป็นคณะทำงานในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน ได้แบ่งหน้าที่แต่ละฝ่าย แล้วประชุมออกแบบสอบถามเพื่อสำรวจข้อมูลการจัดการขยะของแต่ละครัวเรือน มอบหมายหน้าที่แกนนำลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือน เพื่อวางแผนการดำเนินงานการบริหารจัดการขยะในชุมชนต่อไป

1.1 จัดประชุมคัดเลือกแกนนำในชุมชน และจัดตั้งแกนนำ แบบ่งบทบาทหน้าที่ ดังนี้


- ฝ่ายประสานงาน/ประชาสัมพันธ์

  1. นายวิรัช โอมณี

  2. นางร่มมาหวัน มินเด็น

  3. นายราเชษฐ หวันสู


- ฝ่ายการเงินและบัญชี

  1. นางเรไร สัญเจริญ

  2. นางรัชฎาพร หยังสู

  3. นางวไลพร พรหมแก้ว


- ฝ่ายปฏิคม/สถานที่

  1. นายวีระยุทธ หลงหัน

  2. นายเลาะ โซะติก

  3. นางโสม หลีนุ่ม

  4. นางนะดาห์ คลายนา


- ฝ่ายทั่วไป

  1. นายยรรยง สง่า

  2. นางสุมาลี ช้างชู

  3. นางณัฐสิมา เร๊ะนุ้ย

  4. นางเสาวลักษณ์ อุศมา


- ฝ่ายข้อมูลข่าวสาร

  1. นางสาวนัฐวิสา ณะเตีย

  2. นางสาวสุริยา สิทธิเวชผล

  3. นางสาวถิรกานตร์ หลีเคราะห์

  4. นายวีรวุฒิ หลงหัน


    1.2 จัดประชุมแกนนำชุมชน รวม 4 ครั้ง/ปี โดยมีรายละเอียดการประชุม ดังนี้

ประชุมครั้งที่ 1 ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจโครงการ แบ่งบทบาทหน้าที่ วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน รวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ประชุมครั้งที่ 2 และ 3 ออกแบบสำรวจข้อมูล ประชุมสรุปความก้าวหน้าการทำงานตามแผน เสนอปัญหาที่พบ และร่วมกันหาทางแก้ปัญหา หรือพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น

ประชุมครั้งที่ 4 ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ