กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โกตาสวย ชุมชนยิ้ม ได้ด้วยการจัดการขยะ
รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 - 08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มออมทรัพย์บ้านโกตา
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 พฤศจิกายน 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2561
งบประมาณ 43,175.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มออมทรัพย์บ้านโกตา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศกำลังเผชิญและต้องทุ่มเททรัพยากรในการจัดการปัญหาดังกล่าว ปัญหาขยะมูลฝอยนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเนื่องจากการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม และเทคโนโลยี การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการแข่งขันในอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ผลิตพยายามพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้นจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของประชากรและการอยู่อาศัยในเขตเมืองซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดปริมาณขยะมากกว่าการอาศัยอยู่ในชนบท ส่งผลให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณขยะในชุมชนเพิ่มมากขึ้นโดยขาดการจัดการที่เหมาะสมก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ปัญหาขยะมูลฝอยก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางน้ำจากน้ำเสียที่รั่วไหลจากแหล่งเทกองขยะ หรือ ขยะที่ถูกฝังกลบอยู่ใต้ดิน ทำให้คุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน และใต้ดินแย่ลง มลพิษทางดินที่เกิดจากการปนเปื้อนของน้ำชะขยะหรือสารเคมีลงสู่พื้นดินมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ นอกจากนั้นขยะมูลฝอยบางชนิดใช้ระยะเวลาย่อยสลายนาน หรือไม่ย่อยสลายและกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อมการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมายังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจมาจากสาเหตุการไม่ให้ความสำคัญและความพร้อมต่อการแก้ไขปัญหาที่ยังไม่เพียงพอ รัฐบาลเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้กำหนดให้ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ ชุมชนบ้านโกตา มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 308 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 803 คน จากการสำรวจปริมาณขยะของชุมชน พบว่า มีปริมาณขยะมูลฝอย ประมาณ 2,500 กิโลกรัม/สัปดาห์ ซึ่งมาจากการดำรงชีวิตประจำวันของคนในชุมชนจึงเป็นภาระหนัก ในการบริหารจัดการขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นมากมายทุกวัน ส่งผลให้มีขยะตกค้างบ้างซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนสภาพปัญหาที่เห็น คือ มีขยะมูลฝอยกระจายในที่ต่างๆ เช่น ริมถนน บริเวณที่สาธารณะ ทำให้ไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรคต่าง ๆ เช่น หนู แมลงสาบแมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ โรคไข้เลือดออก และสถานการณ์โรคในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตั้งแต่ปี ๒๕๕5-๒๕๖๐ มีดังนี้ สถานการณ์ไข้เลือดออก จำนวน 25 ราย คิดอัตราป่วย 3.11 ต่อจำนวนประชากร,อุจาระร่วงจำนวน 40 ราย คิดอัตราป่วย 4.98 ต่อจำนวนประชากรจากการสังเกต สอบถาม และสำรวจข้อมูลเบื้องต้น พบว่าประชาชนในชุมชนบ้านโกตามีความรู้ ความเข้าใจการจัดการขยะที่ถูกต้องน้อยจึงทำให้มีปัญหาขยะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การจัดการขยะมูลฝอยจึงเป็นเรื่องที่สำคัญจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะปัญหาขยะมูลฝอยได้สะท้อนให้เห็นถึงสุขอนามัยภายในชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและเพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ จากปัญหาดังกล่าว ชุมชนจึงได้จัดทำโครงการเกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือนขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจ และร่วมมือกันจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนอย่างเหมาะสมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและตามแนวคิด3Rs ได้แก่ ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยมุ่งเน้นการจัดการขยะที่ต้นทาง เพื่อการจัดการที่ยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราการป่วยของประชาชนในชุมชน ด้วยโรคติดต่อในท้องถิ่นที่มีสาเหตุเกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค

1.อัตราการป่วยของประชาชนในชุมชนที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค มีอัตราการป่วยลดลง
ร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจ ปัญหาและการจัดการขยะมูลฝอยอย่างเหมาะสม

1.ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80มีความรู้และมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย

0.00
3 3. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
  1. ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
  2. มีธรรมนูญด้านการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
  3. ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ได้รับรู้ข้อมูลด้านการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
0.00
4 4. เพื่อสร้างแกนนำชุมชนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
  1. เกิดกลุ่มแกนนำในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
29 มี.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดตั้งแกนนำหมู่บ้าน 18 3,600.00 3,600.00
5 เม.ย. 61 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล/ชุมชน และหาแนวทางจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ 308 16,335.00 16,335.00
10 เม.ย. 61 - 10 พ.ค. 61 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสำรวจข้อมูลการจัดการขยะในชุมชน 308 3,080.00 3,080.00
18 พ.ค. 61 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมจัดเวทีประชาคมและประชาสัมพันธ์ แนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ 308 19,160.00 19,160.00
1 - 24 ส.ค. 61 กิจกรรมที่ 5 ติดตาม/ประเมินผล 308 0.00 0.00
7 - 14 ก.ย. 61 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0 1,000.00 1,000.00
รวม 1,250 43,175.00 6 43,175.00

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งแกนนำหมู่บ้าน 1.1 คัดเลือกแกนนำชุมชน/จัดตั้งแกนนำชุมชน 1.2 จัดประชุมแกนนำชุมชนรวม 4 ครั้ง/ปี โดยมีรายละเอียดการประชุม ดังนี้ ประชุมครั้งที่ 1 ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจโครงการ แบ่งบทบาทหน้าที่ วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประชุมครั้งที่ 2 และ 3 ออกแบบแบบสำรวจข้อมูล ประชุมสรุปความก้าวหน้าการทำงานตามแผน เสนอปัญหาที่พบ และร่วมกันหาทาง แก้ปัญหา หรือพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น
ประชุมครั้งที่ 4ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ กิจกรรมที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล/ชุมชน และหาแนวทางจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ 2.1จัดทำเวทีเปิดโครงการชี้แจงรายละเอียดให้ประชาชนในชุมชนทราบ 2.2 ชี้แจงวัตถุประสงค์และความเป็นมาของโครงการ 2.3 สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยให้แก่ประชาชนตามแนวคิด3Rs ได้แก่ ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) กิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลการจัดการขยะในชุมชน 3.1เก็บข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือนก่อนดำเนินโครงการ 3.2 รวบรวมข้อมูล/วิเคราะห์ข้อมูล/สรุปผล กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีประชาคมและประชาสัมพันธ์ แนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ 4.1 คืนข้อมูล (นำเสนอข้อมูลทั่วไป สถานการณ์ขยะมูลฝอย ข้อมูลการจัดการขยะจากการสำรวจ) 4.2 ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา/กำหนดกติกาการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ 4.3 ออกแบบการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ 4.4 จัดทำ/ติดป้ายประชาสัมพันธ์แนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ กฎ กติกา ข้อตกลงในการจัดการขยะ 4.5 จัดกิจกรรมรณรงค์ Big Cleaning Day ในชุมชน
กิจกรรมที่ 5 ติดตาม/ประเมินผล 5.1 ติดตาม เก็บข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือนหลังดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีแกนนำหมู่บ้านในการวางแผน และดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชน
  2. ประชาชนรับรู้ เข้าใจ ปัญหาและการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะ นำขยะมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ
  4. บริเวณบ้านและบริเวณที่สาธารณะในชุมชนมีความสะอาด น่ามอง ไม่มีขยะตกค้างในชุมชน
  5. ปริมาณขยะมูลฝอยจากครัวเรือนมีปริมาณลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2561 08:55 น.