กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โกตาสวย ชุมชนยิ้ม ได้ด้วยการจัดการขยะ

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสำรวจข้อมูลการจัดการขยะในชุมชน1 กันยายน 2561
1
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เก็บข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือนก่อนดำเนินโครงการ

  2. รวบรวมข้อมูล/วิเคราะห์ข้อมูล/สรุปผล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน

การสำรวจความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยและการคัดแยกขยะ จากครัวเรือนในชุมชน จำนวน 308 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ แต่ข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก คือ เกี่ยวกับการจัดหาถังขยะเป็นหน้าทื่ที่ทุกบ้านต้องจัดหาเอง ร้อยละ 35.06 ตอบว่าไม่ใช่เป็นหน้าที่ของประชาชน ซึ่งประชาชนส่วนหนึ่งยังคงเข้าใจผิด คิดว่าการจัดหาถังขยะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ
เจตคติต่อการจัดการมูลฝอยของประชาชนในชุมชน จำนวน 308 ครัวเรือน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย ร้อยละ 52.60 ยังคงคิดว่าการแก้ไขปัญหามูลฝอยเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการเท่านั้น และมีประชาชนร้อยละ 33.17 คิดว่าการคัดแยกมูลฝอยเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ จะเห็นได้ว่าประชาชนยังคงคิดว่าการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับขยะและการคัดแยกขยะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ จึงทำให้ประชาชนขาดความตระหนักและไม่ได้มองว่าการแก้ไขปัญหาจริงๆ ต้องมาจากตนเองก่อน

พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยในครัวเรือน พบว่า ประชาชนไม่ได้นำตะกร้าหรือกระเป๋าผ้าไปใส่ของเมื่อไปซื้อของหรือจ่ายตลาด คิดเป็นร้อยละ 84.09 ไม่ได้นำถุงพลาสติก ถุงหูหิ้ว ที่ยังมีสภาพดีกลับมาใช้ซ้ำอีก ร้อยละ 35.06&nbsp; และไม่ได้นำขยะรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่เป็นประจำ ร้อยละ 61.69<br />

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของประชาชนยังคงใช้ถุงพลาสติกในการบรรจุอาหาร เพราะมีความสะดวกสบายในการซื้อของต่างๆ ส่วนหนึ่งยังไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาภายหลัง

จากข้อมูลส่วนที่ 6 การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการจัดการมูลฝอยจากครัวเรือนในชุมชน จำนวน308 ครัวเรือน ด้านที่ 1 การมีส่วนร่วมค้นหาสาเหตุของปัญหาการจัดการมูลฝอยในชุมชน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือการเสนอปัญหา สาเหตุของปัญหาในการจัดการมูลฝอยในชุมชนในที่ประชุม ร้อยละ 81.17 ด้านที่ 2 การมีส่วนร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาการจัดการมูลฝอยในชุมชน พบว่า ระดับการมรส่วนร่วมมากที่สุด คือ ให้ข้อมูลที่จำเป็นในการประชุมวางแผนขั้นตอนในการจัดการมูลฝอยในชุมชน ร้อยละ 80.84 การวางแผนจัดหาสิ่งของ เช่น อุปกรณ์ทำความสะอาด ถังขยะ เป็นต้น เพื่อแก้ไขปัญหามูลฝอยในชุมชน ร้อยละ 90.91 และวางแผนรณรงค์การกำจัดมูลฝอยในชุมชน ร้อยละ 90.91 ด้านที่ 3 การดำเนินงานจัดการมูลฝอยในชุมชน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมกับ อบต. ในการเข้ารับการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอย ร้อยละ 91.88 ด้านที่ 4 การรับผลประโยชน์ พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมาก คือ มีรายได้จากการนำมูลฝอยบางประเภทไปขาย ร้อยละ 78.57 สามารถติดต่อสื่อสารกับ อบต. ได้สะดวกขึ้น ร้อยละ 87.99 มีส่วนร่วมในการทำให้ชุมชนสะอาดเรียบร้อย ร้อยละ 81.17 และมีส่วนร่วมในการลดมลพิษในชุมชนให้น้อยลง ร้อยละ 84.74 ด้านที่ 5 การติดตามและประเมินผล พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ได้รับทราบผลการประเมินผลการดำเนินงานการจัดการมูลฝอยในชุมชนของท่าน ร้อยละ 80.84