กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคัดเลือกแกนนำในชุมชน และจัดตั้งแกนนำ แบ่งบทบาทหน้าที่ ดังนี้

  • ฝ่ายประสานงาน/ประชาสัมพันธ์

  1. นายวิรัช      โอมณี

  2. นางร่มมาหวัน  มินเด็น

  3. นายราเชษฐ    หวันสู
  • ฝ่ายการเงินและบัญชี
  1. นางเรไร  สันเจริญ
  2. นางรัชฎาพร  หยังสู
  3. นางวไลพร  หรหมแก้ว

  • ฝ่ายปฏิคม/สถานที่
  1. นายวีระยุทธ    หลงหัน

  2. นายเลาะ      โซะติก

  3. นางโสม      หลีนุ่ม

  4. นางนะดาห์    คลายนา

  • ฝ่ายทั่วไป
  1. นายยรรยง    สง่า
  2. นางสุมาลี    ช้างชู
  3. นางณัฐสิมา    เร๊ะนุ้ย
  4. เสาวลักษณ์    อุศมา
  • ฝ่ายข้อมูลข่าวสาร
    1.  นางสาวนัฐวิสา    ณะเตีย

    2.  นางสาวสุริยา    สิทธิเวชผล

    3.  นางสาวถิรกานตร์  หลีเคราะห์

    4.  นายวีรวุฒิ      หลงหัน


1.1 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 แบ่งบทบาทหน้าที่ วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน รวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ครั้งที่ 2 และ 3 ออกแบบแบบสำรวจ ร่วมกันระดมความคิดเพื่อที่จะจัดทำแบบสำรวจเกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชน

ครั้งที่ 4 ประชุมสรุปข้อมูลจากแบบสำรวจ

กิจกรรมที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล/ชุมชน และหาแนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ
2.1 จัดทำเวทีเปิดโครงการชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์ ให้ประชาชนในชุมชนทราบ พบว่าประชาชนในชุมชนให้ความสนใจเป็นอย่างมากโดยเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยร้อยละ 80 โดยสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยตามแนวคิด 3Rs ได้แก่ ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และยอมรับกับแนวทางการจัดการขยะของชุมชน พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับแกนนำในชุมชน เพื่อที่จะลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชนต่อไป

2.2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และที่สาธารณะ
กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในชุมชน จำนวน 308 คน การประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน – หลังอบรม จำนวน 14 ข้อ เกณฑ์การประเมินผล ดังนี้
คะแนน 1 – 5  ระดับต่ำ
คะแนน 6 – 10 ระดับปานกลาง
คะแนน 11 – 14 ระดับสูง
จากการประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนการอบรม พบว่า คะแนนของผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 189 คน คิดเป็นร้อยละ 61.36 ระดับสูง จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 25.97 และระดับต่ำ จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 12.67 และหลังจากผ่านการอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 85.06 ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับสูง ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจเพิ่มขึ้น

2.3 จัดทำธรรมนูญด้านการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน

  1. อยากให้แนะนำความรู้ การจัดการขยะ แก่ครัวเรือนทุกครัวเรือน

  2. จัดทำป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การจัดการขยะ

  3. สร้างข้อตกลง/วัฒนธรรมการจัดการขยะ เช่น การใช้ภาชนะ

  4. จัดตั้งธนาคารออมขยะสำหรับเด็กในโรงเรียน

  5. ทุกครัวเรือนต้องมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนของตัวเองตามหลัก 3Rs

  6. สร้างแรงจูงใจในการให้รางวัลครัวเรือนที่น่าอยู่ สะอาด ปลอดขยะ

  7. สร้างสัญญาลักษณ์ บ่งชี้ (เขียว เหลือง แดง) ครัวเรือนจำกัดขยะ ตัดสิทธ์สวัสดิการของกลุ่มที่อยู่ในชุมชน

  8. ให้ทุกครัวเรือนปฏิบัติตามข้อตกลงทุกประการ อย่างเคร่งครัด

  9. ให้คณะกรรมการ/กลไกครัวเรือนการจัดการขยะในชุมชนและรายงานต่อที่ประชุมใหญ่ประจำปีๆ ละ 2 ครั้ง

กิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน

การสำรวจความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยและการคัดแยกขยะ จากครัวเรือนในชุมชน จำนวน 308 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ แต่ข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก คือ เกี่ยวกับการจัดหาถังขยะเป็นหน้าทื่ที่ทุกบ้านต้องจัดหาเอง ร้อยละ 35.06 ตอบว่าไม่ใช่เป็นหน้าที่ของประชาชน ซึ่งประชาชนส่วนหนึ่งยังคงเข้าใจผิด คิดว่าการจัดหาถังขยะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ
เจตคติต่อการจัดการมูลฝอยของประชาชนในชุมชน จำนวน 308 ครัวเรือน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย ร้อยละ 52.60 ยังคงคิดว่าการแก้ไขปัญหามูลฝอยเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการเท่านั้น และมีประชาชนร้อยละ 33.17 คิดว่าการคัดแยกมูลฝอยเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ จะเห็นได้ว่าประชาชนยังคงคิดว่าการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับขยะและการคัดแยกขยะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ จึงทำให้ประชาชนขาดความตระหนักและไม่ได้มองว่าการแก้ไขปัญหาจริงๆ ต้องมาจากตนเองก่อน

พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยในครัวเรือน พบว่า ประชาชนไม่ได้นำตะกร้าหรือกระเป๋าผ้าไปใส่ของเมื่อไปซื้อของหรือจ่ายตลาด คิดเป็นร้อยละ 84.09 ไม่ได้นำถุงพลาสติก ถุงหูหิ้ว ที่ยังมีสภาพดีกลับมาใช้ซ้ำอีก ร้อยละ 35.06 และไม่ได้นำขยะรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่เป็นประจำ ร้อยละ 61.69

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของประชาชนยังคงใช้ถุงพลาสติกในการบรรจุอาหาร เพราะมีความสะดวกสบายในการซื้อของต่างๆ ส่วนหนึ่งยังไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาภายหลัง
จากข้อมูลส่วนที่ 6 การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการจัดการมูลฝอยจากครัวเรือนในชุมชน จำนวน308 ครัวเรือน ด้านที่ 1 การมีส่วนร่วมค้นหาสาเหตุของปัญหาการจัดการมูลฝอยในชุมชน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือการเสนอปัญหา สาเหตุของปัญหาในการจัดการมูลฝอยในชุมชนในที่ประชุม ร้อยละ 81.17 ด้านที่ 2 การมีส่วนร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาการจัดการมูลฝอยในชุมชน พบว่า ระดับการมรส่วนร่วมมากที่สุด คือ ให้ข้อมูลที่จำเป็นในการประชุมวางแผนขั้นตอนในการจัดการมูลฝอยในชุมชน ร้อยละ 80.84 การวางแผนจัดหาสิ่งของ เช่น อุปกรณ์ทำความสะอาด ถังขยะ เป็นต้น เพื่อแก้ไขปัญหามูลฝอยในชุมชน ร้อยละ 90.91 และวางแผนรณรงค์การกำจัดมูลฝอยในชุมชน ร้อยละ 90.91 ด้านที่ 3 การดำเนินงานจัดการมูลฝอยในชุมชน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมกับ อบต. ในการเข้ารับการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอย ร้อยละ 91.88 ด้านที่ 4 การรับผลประโยชน์ พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมาก คือ มีรายได้จากการนำมูลฝอยบางประเภทไปขาย ร้อยละ 78.57 สามารถติดต่อสื่อสารกับ อบต. ได้สะดวกขึ้น ร้อยละ 87.99 มีส่วนร่วมในการทำให้ชุมชนสะอาดเรียบร้อย ร้อยละ 81.17 และมีส่วนร่วมในการลดมลพิษในชุมชนให้น้อยลง ร้อยละ 84.74 ด้านที่ 5 การติดตามและประเมินผล พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ได้รับทราบผลการประเมินผลการดำเนินงานการจัดการมูลฝอยในชุมชนของท่าน ร้อยละ 80.84


กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีประชาคมและประชาสัมพันธ์ แนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน / พื้นที่สาธารณะ
จัดกิจกรรมคืนข้อมูลจากการสำรวจการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนหมู่ที่ 7 บ้านโกตา จำนวน 308 ครัวเรือน ได้แจ้งผลให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับปัญหาขยะในชุมชน และสาเหตุของปัญหา เพื่อที่จะให้ทุกคนได้ร่วมกันแก้ไข และหาแนวทางเพื่อที่จะลดปริมาณขยะในชุมชน และทางคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชนได้จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ กฎ กติกา ข้อตกลง ให้ประชาชนได้รับทราบและยึดถือปฏิบัติตาม เพื่อให้เป็นหมู่บ้านปลอดขยะ


กิจกรรมที่ 5 ติดตาม/ประเมินผล
การติดตามผลการจัดการขยะแต่ละครัวเรือน โดยการสุ่ม จำนวน 120 ครัวเรือนในชุมชน พบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะมีการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น จากการทิ้งเศษอาหารบริเวณบ้าน ก็ปรับเปลี่ยนมาทำเป็นถังขยะเปียก ร้อยละ 85.83 ทำน้ำหมักชีวภาพ ร้อยละ 79.17 ขยะบางประเภทขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า ร้อยละ 91.67 ส่วนประเภทขยะอันตรายทิ้งลงถังขยะสีแดงที่ อบต.จัดให้ ร้อยละ 87.5 และขยะทั่วไปก็นำไปทิ้งลงถัง อบต. จะเห็นได้ว่าประชาชนในชุมชนให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชนกันมากขึ้น หลังจากมีการรณรงค์เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ประชาชนบางครัวเรือนเลิกใช้ถุงพลาสติก โดยใช้ถุงผ้าแทน แต่ก็ยังมีประชาชนที่ยังคงใช้ถุงพลาสติกในการบรรจุอาหาร สาเหตุเพราะมีความสะดวกสบาย แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนหลังจากดำเนินโครงการแล้วก็เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อลดอัตราการป่วยของประชาชนในชุมชน ด้วยโรคติดต่อในท้องถิ่นที่มีสาเหตุเกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค
ตัวชี้วัด : 1.อัตราการป่วยของประชาชนในชุมชนที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค มีอัตราการป่วยลดลง ร้อยละ 80
0.00

 

2 2. เพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจ ปัญหาและการจัดการขยะมูลฝอยอย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัด : 1.ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80มีความรู้และมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย
0.00 0.00

 

3 3. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน 2. มีธรรมนูญด้านการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน 3. ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ได้รับรู้ข้อมูลด้านการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
0.00 0.00

 

4 4. เพื่อสร้างแกนนำชุมชนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
ตัวชี้วัด : 1. เกิดกลุ่มแกนนำในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
0.00 0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0 308
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 0
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 0 308
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการโกตาสวย ชุมชนยิ้มได้ด้วยการจัดการขยะ โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1.เพื่อลดอัตราการป่วยของประชาชนในชุมชน ด้วยโรคติดต่อในท้องถิ่นที่มีสาเหตุเกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค

  1. เพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจ ปัญหาและการจัดการขยะมูลฝอยอย่างเหมาะสม

  2. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน

  3. เพื่อสร้างแกนนำชุมชนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย

ผลการดำเนินโครงการพบว่า

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคัดเลือกแกนนำในชุมชน และจัดตั้งแกนนำ แบ่งบทบาทหน้าที่ ดังนี้
- ฝ่ายประสานงาน/ประชาสัมพันธ์

1. นายวิรัช      โอมณี

2. นางร่มมาหวัน  มินเด็น

3. นายราเชษฐ    หวันสู

  • ฝ่ายการเงินและบัญชี
  1. นางเรไร  สันเจริญ
  2. นางรัชฎาพร  หยังสู
  3. นางวไลพร  หรหมแก้ว

- ฝ่ายปฏิคม/สถานที่
1. นายวีระยุทธ    หลงหัน

2. นายเลาะ      โซะติก

3. นางโสม      หลีนุ่ม

4. นางนะดาห์    คลายนา

- ฝ่ายทั่วไป
1. นายยรรยง    สง่า
2. นางสุมาลี    ช้างชู
3. นางณัฐสิมา    เร๊ะนุ้ย
4. เสาวลักษณ์    อุศมา
- ฝ่ายข้อมูลข่าวสาร
1.  นางสาวนัฐวิสา    ณะเตีย

2.  นางสาวสุริยา    สิทธิเวชผล

3.  นางสาวถิรกานตร์  หลีเคราะห์

4.  นายวีรวุฒิ      หลงหัน


1.1 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 แบ่งบทบาทหน้าที่ วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน รวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ครั้งที่ 2 และ 3 ออกแบบแบบสำรวจ ร่วมกันระดมความคิดเพื่อที่จะจัดทำแบบสำรวจเกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชน

ครั้งที่ 4 ประชุมสรุปข้อมูลจากแบบสำรวจ

กิจกรรมที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล/ชุมชน และหาแนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ
2.1 จัดทำเวทีเปิดโครงการชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์ ให้ประชาชนในชุมชนทราบ พบว่าประชาชนในชุมชนให้ความสนใจเป็นอย่างมากโดยเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยร้อยละ 80 โดยสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยตามแนวคิด 3Rs ได้แก่ ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และยอมรับกับแนวทางการจัดการขยะของชุมชน พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับแกนนำในชุมชน เพื่อที่จะลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชนต่อไป


2.2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และที่สาธารณะ
กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในชุมชน จำนวน 308 คน การประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน – หลังอบรม จำนวน 14 ข้อ เกณฑ์การประเมินผล ดังนี้
คะแนน 1 – 5  ระดับต่ำ
คะแนน 6 – 10 ระดับปานกลาง
คะแนน 11 – 14 ระดับสูง
จากการประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนการอบรม พบว่า คะแนนของผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 189 คน คิดเป็นร้อยละ 61.36 ระดับสูง จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 25.97 และระดับต่ำ จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 12.67 และหลังจากผ่านการอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 85.06 ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับสูง ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจเพิ่มขึ้น

2.3 จัดทำธรรมนูญด้านการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน

  1. อยากให้แนะนำความรู้ การจัดการขยะ แก่ครัวเรือนทุกครัวเรือน

  2. จัดทำป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การจัดการขยะ

  3. สร้างข้อตกลง/วัฒนธรรมการจัดการขยะ เช่น การใช้ภาชนะ

  4. จัดตั้งธนาคารออมขยะสำหรับเด็กในโรงเรียน

  5. ทุกครัวเรือนต้องมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนของตัวเองตามหลัก 3Rs

  6. สร้างแรงจูงใจในการให้รางวัลครัวเรือนที่น่าอยู่ สะอาด ปลอดขยะ

  7. สร้างสัญญาลักษณ์ บ่งชี้ (เขียว เหลือง แดง) ครัวเรือนจำกัดขยะ ตัดสิทธ์สวัสดิการของกลุ่มที่อยู่ในชุมชน

  8. ให้ทุกครัวเรือนปฏิบัติตามข้อตกลงทุกประการ อย่างเคร่งครัด

  9. ให้คณะกรรมการ/กลไกครัวเรือนการจัดการขยะในชุมชนและรายงานต่อที่ประชุมใหญ่ประจำปีๆ ละ 2 ครั้ง


    กิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน

การสำรวจความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยและการคัดแยกขยะ จากครัวเรือนในชุมชน จำนวน 308 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ แต่ข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก คือ เกี่ยวกับการจัดหาถังขยะเป็นหน้าทื่ที่ทุกบ้านต้องจัดหาเอง ร้อยละ 35.06 ตอบว่าไม่ใช่เป็นหน้าที่ของประชาชน ซึ่งประชาชนส่วนหนึ่งยังคงเข้าใจผิด คิดว่าการจัดหาถังขยะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ
เจตคติต่อการจัดการมูลฝอยของประชาชนในชุมชน จำนวน 308 ครัวเรือน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย ร้อยละ 52.60 ยังคงคิดว่าการแก้ไขปัญหามูลฝอยเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการเท่านั้น และมีประชาชนร้อยละ 33.17 คิดว่าการคัดแยกมูลฝอยเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ จะเห็นได้ว่าประชาชนยังคงคิดว่าการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับขยะและการคัดแยกขยะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ จึงทำให้ประชาชนขาดความตระหนักและไม่ได้มองว่าการแก้ไขปัญหาจริงๆ ต้องมาจากตนเองก่อน

พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยในครัวเรือน พบว่า ประชาชนไม่ได้นำตะกร้าหรือกระเป๋าผ้าไปใส่ของเมื่อไปซื้อของหรือจ่ายตลาด คิดเป็นร้อยละ 84.09 ไม่ได้นำถุงพลาสติก ถุงหูหิ้ว ที่ยังมีสภาพดีกลับมาใช้ซ้ำอีก ร้อยละ 35.06 และไม่ได้นำขยะรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่เป็นประจำ ร้อยละ 61.69
จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของประชาชนยังคงใช้ถุงพลาสติกในการบรรจุอาหาร เพราะมีความสะดวกสบายในการซื้อของต่างๆ ส่วนหนึ่งยังไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาภายหลัง
จากข้อมูลส่วนที่ 6 การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการจัดการมูลฝอยจากครัวเรือนในชุมชน จำนวน308 ครัวเรือน ด้านที่ 1 การมีส่วนร่วมค้นหาสาเหตุของปัญหาการจัดการมูลฝอยในชุมชน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือการเสนอปัญหา สาเหตุของปัญหาในการจัดการมูลฝอยในชุมชนในที่ประชุม ร้อยละ 81.17 ด้านที่ 2 การมีส่วนร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาการจัดการมูลฝอยในชุมชน พบว่า ระดับการมรส่วนร่วมมากที่สุด คือ ให้ข้อมูลที่จำเป็นในการประชุมวางแผนขั้นตอนในการจัดการมูลฝอยในชุมชน ร้อยละ 80.84 การวางแผนจัดหาสิ่งของ เช่น อุปกรณ์ทำความสะอาด ถังขยะ เป็นต้น เพื่อแก้ไขปัญหามูลฝอยในชุมชน ร้อยละ 90.91 และวางแผนรณรงค์การกำจัดมูลฝอยในชุมชน ร้อยละ 90.91 ด้านที่ 3 การดำเนินงานจัดการมูลฝอยในชุมชน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมกับ อบต. ในการเข้ารับการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอย ร้อยละ 91.88 ด้านที่ 4 การรับผลประโยชน์ พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมาก คือ มีรายได้จากการนำมูลฝอยบางประเภทไปขาย ร้อยละ 78.57 สามารถติดต่อสื่อสารกับ อบต. ได้สะดวกขึ้น ร้อยละ 87.99 มีส่วนร่วมในการทำให้ชุมชนสะอาดเรียบร้อย ร้อยละ 81.17 และมีส่วนร่วมในการลดมลพิษในชุมชนให้น้อยลง ร้อยละ 84.74 ด้านที่ 5 การติดตามและประเมินผล พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ได้รับทราบผลการประเมินผลการดำเนินงานการจัดการมูลฝอยในชุมชนของท่าน ร้อยละ 80.84


กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีประชาคมและประชาสัมพันธ์ แนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน / พื้นที่สาธารณะ
จัดกิจกรรมคืนข้อมูลจากการสำรวจการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนหมู่ที่ 7 บ้านโกตา จำนวน 308 ครัวเรือน ได้แจ้งผลให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับปัญหาขยะในชุมชน และสาเหตุของปัญหา เพื่อที่จะให้ทุกคนได้ร่วมกันแก้ไข และหาแนวทางเพื่อที่จะลดปริมาณขยะในชุมชน และทางคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชนได้จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ กฎ กติกา ข้อตกลง ให้ประชาชนได้รับทราบและยึดถือปฏิบัติตาม เพื่อให้เป็นหมู่บ้านปลอดขยะ


กิจกรรมที่ 5 ติดตาม/ประเมินผล
การติดตามผลการจัดการขยะแต่ละครัวเรือน โดยการสุ่ม จำนวน 120 ครัวเรือนในชุมชน พบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะมีการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น จากการทิ้งเศษอาหารบริเวณบ้าน ก็ปรับเปลี่ยนมาทำเป็นถังขยะเปียก ร้อยละ 85.83 ทำน้ำหมักชีวภาพ ร้อยละ 79.17 ขยะบางประเภทขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า ร้อยละ 91.67 ส่วนประเภทขยะอันตรายทิ้งลงถังขยะสีแดงที่ อบต.จัดให้ ร้อยละ 87.5 และขยะทั่วไปก็นำไปทิ้งลงถัง อบต. จะเห็นได้ว่าประชาชนในชุมชนให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชนกันมากขึ้น หลังจากมีการรณรงค์เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ประชาชนบางครัวเรือนเลิกใช้ถุงพลาสติก โดยใช้ถุงผ้าแทน แต่ก็ยังมีประชาชนที่ยังคงใช้ถุงพลาสติกในการบรรจุอาหาร สาเหตุเพราะมีความสะดวกสบาย แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนหลังจากดำเนินโครงการแล้วก็เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง


ข้อเสนอแนะ ได้แก่
1. แกนนำชุมชนด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน ต้องมีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนได้รับทราบ และไม่ละเลยให้ครัวเรือนสามารถจัดการขยะของตนเองได้
2. ชุมชนร่วมกับโรงเรียนช่วยกันจัดการ/เก็บขยะในที่สาธารณะ อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh