กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

รายงานการสรุปผลโครงการสร้างเสริมสุขภาพสานสัมพันธ์สายใยรักในครอบครัวโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลป มีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อลดจำนวนผู้เสพติดรายเก่าและผู้เสพติดหน้าใหม่ในเด็กและเยาวชน ในโรงเรียนและชุมชน

  2. เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา

  3. เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และเชื่อมความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว

  4. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันโรงเรียนและครอบครัว

กิจกรรมดำเนินการ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้และส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แก่ ผู้ปกครองและนักเรียน

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมกีฬาสร้างความสัมพันธ์

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมนักเรียนและครอบครัว

สรุปผลการประเมิน

ปัญหายาเสพติดเป็นวาระสำคัญของชาติ ส่งผลกระทบทำให้เกิดความเดือดร้อน ความทุกข์ยากของประชาชนและการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง สำหรับพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ยังพบปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งเยาวชนในชุมชนยังมีการดื่มน้ำกระท่อมอยู่เป้นจำนวนมาก ซึ่งยากต่อการแก้ไข ในส่วนของโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ จากการตรวจสอบและติดตามนักเรียน ไม่พบนักเรียนในโรงเรียนที่ดื่มน้ำกระท่อม แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้ โรงเรียนก็ได้ดำเนินการรณรงค์และป้องกันเพื่อไม่ให้นักเรียนเข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะในพื้นที่หมู่ที่ 6 นับว่าเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความเสี่ยงกับปัญหาเหล่านี้ ซึ่งนอกจากโรงเรียนแล้ว ครอบครัวก็เป็นส่วนสำคัญที่ต้องคอยสอดส่องดูแลบุตรหลาน รวมทั้งชุมชนก็ต้องมีมาตรการของชุมชน เพื่อที่จะให้ปัญหายาเสพติดหมดไปจากหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แก่ ผู้ปกครองและนักเรียน ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แนวทางการป้องกัน และแก้ไขปัญหา เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว โดยการนำศาสนามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติและดำเนินชีวิต ใช้แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังอบรม จำนวน 20 ข้อ จากการทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการอบรมก่อนและหลังการอบรม พบว่า คะแนนความรู้หลัง การเข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 67.66 ก่อนเข้ารับการอบรม มีคะแนนเฉลี่ย 38.43 แสดงว่าการอบรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่ผ่านตัวชี้วัดของกิจกรรมนี้ ที่ตั้งไว้มีความรู้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แต่ผลที่ได้ก็เป็นไปในจทางเดียวกัน

ส่วนกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยการจัดเป็นฐานการเรียนรู้ ดังนี้

ฐานที่ 1 อุดรอยรั่ว ให้สมาชิกในครอบครัวช่วยกันอุดรอยรั่วของขวดน้ำ สะท้อนถึงปัญหาเศรษฐกิจ การใช้จ่าย หากครอบครัวช่วยกันหาเงินก็เหมือนกับการเติมน้ำให้เต็ม และใช้จ่ายอย่างประหยัด

ฐานที่ 2 พ่อแม่ลูกปลูกรัก ให้สมาชิกในครอบครัวร่วมกันปลูกพืชผัก โดชใช้ภาชนะเหลือใช้ในการปลูก

ฐานที่ 3 ครอบครัวในฝัน เป็นฐานสร้างจินตนาการของสมาชิกในครอบครัว การรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น เพื่อสร้างฐานของบ้านให้เข้มแข็ง

ผลการดำเนินกิจกรรมฐานการเรียนรู้ทั้ง 3 พบว่า ผู้เข้าร่วมมีระดับความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ 93.50 ซึ่งฐานเรียนรู้ทั้ง 3 ฐาน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว โดยมีการทำกิจกรรมระหว่างเด็กและผู้ปกครอง การประเมินผลฐานที่ 1 อุดรอยรั่ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มีความรู้และทักษะในการแก้ปัญหาร้อยละ 78.25 ฐานที่ 2 พ่อแม่ลูกปลูกรัก มีระดับความรู้และทักษะ ร้อยละ 90.16 และฐานที่ 3 ครอบครัวในฝัน มีระดับความรู้และสร้างจินตนาการ ร้อยละ 89.00 ผลการดำเนินกิจกรรมแต่ละฐาน ความรู้จะสะท้องถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ฉะนั้น การเสริมสร้าง สนับสนุนให้คนภายในครอบครัวถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เป็นสิ่งที่ทำให้สถาบันครอบครัวมีความมั่นคงและมีความสุข

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมกีฬาสร้างความสัมพันธ์ จัดแข่งขันกีฬาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก ผู้ปกครองและครู ได้แก่ ฟุตบอล วอลเลย์บอล และกีฬาพื้นบ้านต่างๆ จากการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 96.80 มีความพึงพอใจและเสนอแนะให้มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันครอบครัวและโรงเรียน

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมนักเรียนและครอบครัว โดยครูผู้รับผิดชอบรายชั้นเรียนติดตามเยี่ยมนักเรียนเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว และสถานการณ์ยาเสพติดรายครัวเรือนนักเรียนจำนวน 119 คน จากการลงเยี่ยมประเมินความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ไม่พบนักเรียนที่ติดน้ำกระท่อม แต่สภาพของครอบครัวส่วนใหญ่พ่อแม่แยกกันอยู่ ร้อยละ 40 พ่อแม่ออกไปทำงานต่างจังหวัดต้องอาศัยอยู่กับญาติ ร้อยละ 12 ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาหนึ่งของครอบครัวที่เกิดขึ้นภายในชุมชนหมู่ที่ 6 ที่ยากต่อการแก้ไข ทำให้ส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียนหลายๆด้าน จากการพูดคุยพบปะกับผู้ปกครองหรือญาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน พบว่า บางกลุ่มรวมตัวกันเตะฟุตบอล ไปร้านเกมส์ บางคนชอบขับมอเตอร์ไซต์เล่นภายในหมู่บ้าน และมีนักเรียนบางส่วนเท่านั้นที่ทบทวนบทเรียน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มของเยาวชนหรือผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่ติดน้ำกระท่อม ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เด็กบางคนอาจถูกชักจูงหรืออยากรู้ อยากลอง ได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ปกครองบางครัวเรือนก็ไม่สามารถรับปากได้เลยว่าจะแก้ปัญหานี้ภายในครอบครัวได้อย่างไร เพราะปัญหาเหล่านี้ยิ่งเยอะขึ้นทุกวัน และได้แนะนำให้ทางโรงเรียนได้ช่วยเป้นหูเป็นตา และมีมาตรการของโรงเรียนเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้และหมดไปจากชุมชน

สำหรับการติดตามนักเรียนหลังเรียนจบการศึกาาจากโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลป พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา แต่ผู้ปกครองบางรายก็ยังเป็นห่วงเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในชุมชน กลัวว่าลูกหลานจะเรียนไม่จบ

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

1.การมาร่วมกิจกรรมของผู้ปกครองอาจล่าช้า เพราะบางคนเดินทางมาไม่สะดวก และการประกอบอาชีพของผู้ปกครองบางท่านไม่สามารถลางานได้ แต่ก็ให้ได้ญาติมาแทน

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ