กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนสุขภาพกับค่ายปฏิวัติชีวิตพิชิตโรค ”
ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง



หัวหน้าโครงการ
นางมาริสา มากเพ็ง




ชื่อโครงการ ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนสุขภาพกับค่ายปฏิวัติชีวิตพิชิตโรค

ที่อยู่ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2561

กิตติกรรมประกาศ

"ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนสุขภาพกับค่ายปฏิวัติชีวิตพิชิตโรค จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองบัว ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนสุขภาพกับค่ายปฏิวัติชีวิตพิชิตโรค



บทคัดย่อ

โครงการ " ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนสุขภาพกับค่ายปฏิวัติชีวิตพิชิตโรค " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 51,500.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองบัว เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากสภาพการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วทุกมุมโลกเปลี่ยนไปจากเดิม นิยมรับประทานอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป ไร้เวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย แต่มีเวลาดื่มสังสรรค์ และสูบบุหรี่เพื่อเข้าสังคม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนนำมาซึ่งการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดัน มะเร็ง อ้วนลงพุ หลอดเลือดสมอง และหัวใจ ทั้งนี้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าสถานการณืผู้ป่วยเบาหวานในไทยเพิ่มจำนวนผู้ป่วยขึ้นเป็น 3.5 ล้านคนในปี 2556 ส่งผลให้มีมูลค่าการรักษาโรคเบาหวานสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี ขณะเดียวกัน โรคมะเร็งเป็นสาเหตุเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่ง ของคนไทยมาตลอด 13 ปีซ้อน โดยที่ปัจจุบันพบว่า คนไทยอ้วน และมีน้ำหนักเกินมาตรฐานเป็นอับดับ 5 ของเอเซีย - แปซิฟิก อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค รายใหม่ ปี พ.ศ. 2551 - 2555 ผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรคสะสม (รายใหม่และเก่า ระยะปี พ.ศ. 2551-2555 จำนวนรวม 5,471,929 ราย โรคความดันโลหิตสูงมีอัตราความชุกสูงสุด คือ พบผู้ป่วย 3,398,412 ราย อัตราความชุก 5,288.01 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ โรคเบา 1,799,977 ราย อัตราความชุก 2,800.81 ต่อประชากรแสนคน โรคเรื้อรังทางเดินหายใจส่วนล่าง 113,602 ราย (176.77) โรคหัวใจขาดเลือด 92,770 ราย (144.35) และโรคหลอดเลือดสมอง 67,168 ราย (104.51)ดูแนวโน้ม ระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2555 พบว่า ในปี พ.ศ. 2555 ทุกโรคมีอัตราความชุกของผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่าโรคเรื้อรังทางเดินหายใจส่วนล่าง โรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่องค์การอนามัยโลก ประมาณการว่าทุกปีจะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 15 ล้านคนทั่วโลก โดยที่ในปี 2573 และจะโรคถุงลมโป่งพองจะขยับขึ้นมาเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกเป็นอันดับที่ 4
  จากการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ตั้งแต่ปี 2558 - 2560 พบว่า อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในเท่ากับ 9052.63 ,9301.44 และ 8701.92 ต่อแสนประชากร ส่วนอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานเท่ากับ 3559.81 , 3693.78 และ 530.18 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ส่งผลการคัดกรองเบาหวานปี 2559 พบกลุ่มปกติคิดเป็นร้อยละ 89.12 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 6.94 กลุ่มสงสัยร้อยละ 1.92 เมื่อเปรียบเทียบการคัดกรองเบาหวานในปี 2560 พบว่ากลุ่มปกติลดลง ซึ่งพบกลุ่มปกติเป็นร้อยละ 94.34 ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มสงสัยมีแนวโน้มพบเพิ่มมากขึ้น โดยพบกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 5.23 และกลุ่มสงสัย ร้อยละ 0.42 และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ดี ดำเนินการได้ ร้อยละ 19.22 ซึ่งไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ดำเนินการได้ ร้อยละ 18.91 ซึ่งไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดคิดเป็นร้อยละ 84.09 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด   การบริการสาธารณสุขเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพเท่านั้น การทำงานแบบเดิมๆ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแม้จะเป็นการทำงานเชิงรุกก็จริง ผลสำฤทธิ์ตามตัวชี้วัดดีขึ้น แต่ไม่สามารถเอาสุขภาวะกลับคืนมาได้ คนที่เป็นเจ้าของสุขภาพไม่ใช่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่เป็นคนทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของ ทุกคนต้องเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่ร่วมเรียนรู้ รับรู้ เข้าใจ ตระหนัก และสุดท้าย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้อง ต้องรู้ว่าการเสียสุขภาพคือ ทุกภาวะ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมผิดๆ ไม่ใช่เกิดจากเชื่้อโรค เมื่อมีการปรับเปลี่ยนพฤิกรรมไปในทางที่ถูกต้องร่วมกันแล้ว จำเป็นจะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จริงจัง
  หลังจากการดำเนินงานกิจกรรมค่ายฯ ทางสมาชิกผู้เข้าค่าย จึงได้จัดตั้งกลุ่มการดำเนินงานกิจกรรมค่ายขึ้นมา 1 กลุ่ม คือ กลุ่มค่ายปฏิวัติชีวิต พิชิตอ้วน พิชิตโรค เพื่อให้สมาชิกได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานเป็นผู้ดำเนินการดูแล แต่ผู้ที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และประสบผลสำเร็จในการควบคุมป้องกันโรคเรื้อรังดังกล่าวข้างต้น ในปีที่ผ่านมามีเพียงส่วนน้อย เพราะมีปัญหาอุปสรรค์ คือผู้ที่มาเข้าค่ายปรับพฤติกรรมต่อเนื่อง ต้องจ่ายค่าผักและผลไม้สดถึงเดือนละ 500 บาท ทำให้เหลือผู้เข้าค่ายที่ประเมินผลได้เพียง 40 คน จากเดิมที่เข้าค่ายพักแรม 100 คน ในปีนี้ทางค่ายปฏิวัติชีวิตฯ จึงได้ดำเนินการจัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อการดำเนินการที่ต่อเนื่องและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เพื่อป้องกัน และลดปัญหาโรคเรื้อรังในตำบลหนองบัวต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ลดผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่
  2. เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เข้าค่ายพักแรม 2 วัน 2 คืน
  2. เข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่อง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ผ่านการเข้าค่ายปฏิวัติชีวิตพิชิตอ้วนพิชิตโรคมีภาวะสุขภาพดีขึ้นคือ ภาวะเสี่ยงลดลงในกลุ่มเสี่ยงและสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เข้าค่ายพักแรม 2 วัน 2 คืน

วันที่ 2 พฤษภาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. ลงทะเบียนเข้าที่พัก 2. พิธีเปิดโดยนายอำเภอรัษฎา 3. แข่งขันบาสโลบ 4. สวดมนต์นั่งสมาธิ ทำวัตรเช้า - เย็น 5. รับประทานอาหารเมนูสุขภาพ ลดอ้วน ลดโรค 6. ปั่น - ดื่มน้ำผัก ก่อนอาหารทุกมื้อ 7. อบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ 8. อบรมเชิงปฏิบัติเรื่องการออกกำลังกาย 9. ประกวดเชฟเมนูทอง 10. กิจกรรมรอบกองไฟ - เต้นซูลู - รำวงเปิดฟลอ 1 เพลง - รำวงรอบกองไฟโดยทีมสีทุกสี - กิจกรรมโดยวิทยากรสลับกับการแสดงแต่ละสี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จำนวนผู้เข้าค่าย 100 คน มีระยะเวลา 2 วัน 2 คืน - ผู้เข้าค่ายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสามารถลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้ ร้อยละ 60
- ผู้เข้าค่ายที่เป็นกลุ่มป่วย สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ ร้อยละ 50

 

100 0

2. เข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่อง

วันที่ 7 พฤษภาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

-เข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่อง โดยการออกกำลังกายและดื่มน้ำผัก วันละ 2 ชั่วโมง ตั้งแต่ เวลา 16.00 น.-18.00 น. - ประเมินภาวะสุขภาพ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และตรวจหาระดับไขมันในเลือดโดยให้ผู้เข้าค่ายจ่ายเงินเอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พบผู้ป่วยด้วยโรคความดันสูงรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 10
- พบผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5

 

45 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ลดผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่
ตัวชี้วัด : เข้าค่ายปฏิวัติชีวิตพิชิตอ้วนพิชิตโรค 2 วัน ผู้เข้าค่ายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสามารถลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้ ร้อยละ 60
0.00

 

2 เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
ตัวชี้วัด : ผู้เข้าค่ายที่เป็นกลุ่มป่วย สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ ร้อยละ 50 พบผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 10 พบผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ลดผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ (2) เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เข้าค่ายพักแรม 2 วัน 2 คืน (2) เข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนสุขภาพกับค่ายปฏิวัติชีวิตพิชิตโรค จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางมาริสา มากเพ็ง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด