กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L7573-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์แพทย์ชุมชน เทศบาลตำบลควนขนุน
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 15 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 12,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัษรตรี พงศ์นุรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ นายไพทูรย์ ทองสม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.756,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ก.ค. 2561 18 ก.ค. 2561 10,150.00
2 2 ส.ค. 2561 2 ส.ค. 2561 1,250.00
3 14 ก.ย. 2561 14 ก.ย. 2561 1,250.00
รวมงบประมาณ 12,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ของโรคที่มีแนวโน้มทึ่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นและมีแนวโน้อมที่จะส่งผลความเสียหายที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจในภาพรวมจากการคัดกรองเบาหวานความดันของตำบลควนขนุนย้อนหลัง 5 ปี ปีงบประมาณ 2556-2560 พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 513,541,754,829,831, ราย ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยงความดัน 1,057,1,057,1,083,1,135,1,137 ราย ตามลำดับ จากการวิเคราะห์พบว่ากลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีแนวโน้อมเพิ่มขึ้นทุกปี และกลุ่มเสี่ยงความดันมีแนวโน้อมเพิ่มขึ้นจากข้อมูลย้อนหลัง 4 ปี แต่ลดลงในปี 2560เนื่องจากวิถีชีวิตของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพชุมชนที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพที่ลดลง ศูนย์แพทย์ชุมชน เทศบาลตำบลควนขนุนได้เล็งเห็นปัญหาและได้จัดทำโครงการ "ลหพฤติกรรมเสี่ยงเลี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง"โดยการเสริมสร้างสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานด้วยตนเองโดยการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์คาดว่าเมื่อดำเนินการตามโครงการไปแล้วประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองขั้นพื้นฐาน ลดพฤติกรรมเสี่งต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความห่วงใยต่อสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวรวมทั้งมีการปรับพฤติกรรมต่อสุขภาพไปในทางที่พึงประสงค์อย่างถาวรอันส่งผลให้มีการเข้าถึงสุขภาวะที่แท้จริงของประชาชนมุ่งให้เกิดการพึ่งตนเองทางสุขภาพเป็นหลัก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ เกิดการเรียนรู้และมีทักษะที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์

1.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น

60.00
2 2.เพื่อให้ป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง โดยลดน้ำตาลและระดับความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงปกติที่สุด

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันได้ร้อยละ 60 2.อัตราการเกิดเบาหวานใหม่ไม่เกินร้อยละ 5

40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12.00 3 12,650.00
18 ก.ค. 61 กิจกรรมที่ 1 ประเมินความรู้ และประเมินพฤติกรรม 3 อ. 0 10.00 10,150.00
2 ส.ค. 61 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1.00 1,250.00
14 ก.ย. 61 ติดตามพฤติกรรมสุขภาพและสรุปผลการดำเนินงาน 0 1.00 1,250.00

กิจกรรมการดำเนินงาน แบ่งออกเปป็น 3 กิจกรรม
1.กิจกรรมให้ความรู้และประเมินพฤติกรรม 3 อ. 1.1จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง 1.2ชี้แจงสถานการณ์/คืนข้อมูลโรคเรื้อรัง ข้อมูลคัดกรองให้กัลชุมชนในวันประชุมหมู่บ้าน 1.3ตรวจร่างกาย (ดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับความดันโลหิตสูง) 1.4ประเมินความรู้การปฏิบัติตัว 1.5ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการตามฐานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. (การออกกำลังกาย การบริโภค และการจัดการอารมณ์) 1.6ให้ความรู้ผ่านหอกระจายข่าววิทยุชุมชน แผ่นพับ สมุดบันทึกสุขภาพกลุ่มเสี่ยง 1.7ตั้งเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1.8สร้างข้อตกลงการนัดและกิจกรรมในครั้งต่อไป 2.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.1ตรวจร่างกาย (ดัชนีมวลกาย รอบเอวระดับความดันโลหิต) 2.2แลกเปลี่ยนประสบการณ์ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การดุแลจิตใจ 2.3สรุปแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3.กิจกรรมเดือนกันยายน 2561 3.1ตรวจร่างกาย (ดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับความดันโลหิต) ระดับน้ำตาลในเลือด) 3.2 สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและความดันได้ร้อยละ 60 2.อัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงไม่เกินร้อยละ 5

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2561 11:45 น.