กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ3ส ตำบลห้วยแก้ว
รหัสโครงการ 303
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลห้วยแก้ว
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 8,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสำลี ว่างเว้น
พี่เลี้ยงโครงการ นายภูริบูรณ์ วิเชียรสรรค์
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.ตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด 16.162,100.111place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
75.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
85.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายรัฐบาลในการสร้างหลักประกันสุขภาพ  ให้คนไทยห่างไกลโรคมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นอีกทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของตนเองและครอบครัว  โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ “ สร้างนำซ่อม” ประกอบกับคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการ แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ. ศ. 2554 – 2563 ให้หน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ใช้แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยเป็นกรอบในการพัฒนาวิถีชีวิตไทย ให้คนไทยมีสุขภาพดีสู่การปฏิบัติในการลดภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการลดอัตราตาย และลดภาระค่าใช้จ่ายระดับบุคคลครอบครัว สังคม จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กระทรวงสาธารณสุขประกาศนโยบายให้การสนับสนุนบทบาทของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและยกระดับการพัฒนาระบบสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน โดยมุ่งเน้นเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นของประเทศ ถ้าประชาชนมีการป้องกันและดูแลสุขภาพด้วยตนเองตั้งแต่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี การเลือกรับประทานอาหาร การหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การออกกำลังกายและมี    องค์ความรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร เน้นการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วย 3อ3ส ซึ่งประกอบด้วยเรื่อง อาหารดีมีการออกกำลังกาย อารมณ์ดี  งดสูบบุหรี่ งดเสพสุรา หลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากพฤติกรรมไม่เหมาะสม และ จากผลสำรวจพฤติกรรม 3อ3ส ในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป จังหวัดพิจิตรพบว่ามีพฤติกรรม 3อ3ส ไม่เหมาะสมร้อยละ 54.16 (มีความรู้แต่ไม่ตระหนัก) มีพฤติกรรมด้านอาหารเหมาะสมร้อยละ 27.30 พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้แก่ กินผักผลไม้สดและกากใยน้อย กินอาหารจานเดียว อาหารไขมันสูง อาหารสำเร็จรูป พฤติกรรมด้านการออกกำลังกายเหมาะสมร้อยละ 7.37 พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้แก่ ไม่ชอบออกกำลังกาย ออกกำลังกายโดยการทำงานบ้าน  ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ไม่มีสถานที่ออกกำลังกาย พฤติกรรมด้านอารมณ์เหมาะสมร้อยละ 34.70 พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้แก่ คิดมาก ขาดการมองโลกในแง่ดี เครียดง่าย ส่วนพฤติกรรมการสูบบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 88.33 มีการดื่มสุราร้อยละ 82.2 6 พฤติกรรมด้านการป้องกันอุบัติเหตุ เหมาะสมร้อยละ 27.15 พฤติกรรมด้านอาหารปลอดภัยเหมาะสมร้อยละ 50.75 พฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและภัยสุขภาพเหมาะสมร้อยละ 39.92 ในส่วนของบุคลากรสาธารณสุขพบว่าภาพรวมพฤติกรรม 3อ3ส อยู่ในอยู่ ในระดับดีร้อยละ 79.01 อยู่ในระดับปานกลาง  ร้อยละ 20.89 ไม่เหมาะสมร้อยละ 0.1 ในภาพรวมของอำเภอบึงนารางมีอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานร้อยละ 0.47 อัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 1.28 และยังมีกลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงร้อยละ 22.88 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงร้อยละ 20.21

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยแก้ว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก    3อ3ส เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีบุคลากรสาธารณสุขเป็นต้นแบบเพื่อให้อัตราป่วยและตายด้วยโรคที่เป็นปัญหาของจังหวัดลดลง กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

75.00 70.00
2 เพิ่มการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

30.00
3 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

55.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,850.00 3 8,850.00
??/??/???? การประชุมชี้แจงเตรียมการ 0 0.00 0.00
??/??/???? การดำเนินกิจกรรมให้ความรู้ด้านการเคลื่อนไหวทางกายและอาหารเพื่อสุขภาพ 0 8,850.00 8,850.00
??/??/???? สรุปติดตามผลดำเนินงานโครงการ 0 0.00 0.00
  1. ประชาสัมพันธ์ในกลุ่มเป้าหมายให้เข้ารับการตรวจคัดกรอง 2.จัดกิจกรรมการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคควาามดันโลหิตสูง กลุ่มที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป พร้อมแจ้งผลการคัดกรองให้ทราบและแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย 3.จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในกลุ่มเสี่ยง 4.ประเมินผลหลังการอบรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและได้รับการค้นหาภาวะเสี่่ยงของโรคเบาหวานและความดัน 2.กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับความรู้เริ่องโรค 3.กลุ่มเสี่ย่งต่อโรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3อ3ส 4.อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 13:31 น.