กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา


“ โครงการแกนนำเยาวชนรุ่นใหม่ รวมใจสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและการป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2561 ”

อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวปาริชาติธนากุลรังษีหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข

ชื่อโครงการ โครงการแกนนำเยาวชนรุ่นใหม่ รวมใจสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและการป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2561

ที่อยู่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L7250-1-17 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการแกนนำเยาวชนรุ่นใหม่ รวมใจสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและการป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2561 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการแกนนำเยาวชนรุ่นใหม่ รวมใจสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและการป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการแกนนำเยาวชนรุ่นใหม่ รวมใจสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและการป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 61-L7250-1-17 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 141,300.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เยาวชน คืออนาคตของชาติ ตามที่รัฐบาลมีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน คือการเริ่มต้นการพัฒนาจาก “คน” ซึ่งถือเป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ การพัฒนาแนวคิดด้านสุขภาพอนามัย ในกลุ่มนักเรียนและเยาวชน ที่อาศัยความสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ระหว่างนักเรียนกับครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนา โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ จึงเป็นการเริ่มต้นที่ดี ในการสร้างสุขภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งจากสถิติ ในปี ๒๕60 พบว่า อัตราการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นเพศหญิงอายุ ๑0-๑๙ ปี ของประเทศไทย พบ ๔3.5 คนต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน (สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์,๒๕60) และอัตราการตั้งครรภ์ ของหญิงอายุ ๑0-๑๙ ปี ของจังหวัดสงขลาพบ ๔1.2 คนต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน (สำนักอนามัยเจริญพันธุ์2559) ส่วนในเขตเทศบาลนครสงขลา พบอัตราการตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่น มีอัตราสูงถึงร้อยละ ๑0.65, 20.06 และ ๑3.52ตามลำดับ (ปีงบประมาณ ๒๕๕8,๒๕๕9 และ๒๕60) ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ดังนั้น การให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่เด็กวัยเรียนและเยาวชนแกนนำ ในเรื่องการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยในการพัฒนาสุขภาพเด็กนักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง เกิดความตระหนักและร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งจะทำให้ทุกคนในโรงเรียนรวมทั้งสมาชิกในชุมชนได้รับความรู้ เป็นการปลูกฝังทัศนคติและสร้างเสริมทักษะที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและยั่งยืนต่อไป
ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุขร่วมกับ PCU ในเขตเมืองและศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งรับผิดชอบทั้งหมด ๕๔ ชุมชน ๑๙ โรงเรียนมีนักเรียนเรียนรวมทั้งสิ้น ๒4,983 คน เป็นนักเรียนระดับอนุบาล ๔,๐61 คน ระดับประถม ๑๐,535 คน และระดับมัธยม ๑๐,387 คน ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างแกนนำด้านสุขภาพสำหรับกลุ่มเยาวชนและนักเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียน เพื่อดูแล และติดตามพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ตลอดจนดำเนินการจัดทำมุมสุขภาพ หรือ คลินิกวัยใส ในโรงเรียน เพื่อให้ผู้นำนักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเป็นแกนนำจัดกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน เช่น กิจกรรมการพัฒนาสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเฝ้าระวังสุขภาพพฤติกรรมความเสี่ยง กิจกรรมแก้ปัญหาสุขภาพและเฝ้าระวังสุขภาพ กิจกรรมส่งเสริมชุมชนมีส่วนร่วม จัดคลินิกให้คำปรึกษา ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อให้นักเรียน ครอบครัว และบุคลากรในชุมชนเป็นบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ตามวัย และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ๑. เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพในระดับประถม และระดับมัธยมศึกษา
  2. ๒. เพื่อให้นักเรียนแกนนำ มีความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  3. ๓. เพื่อให้นักเรียนแกนนำ สามารถให้คำปรึกษาในการจัดการปัญหาเบื้องต้นได้
  4. ๔. เพื่อให้เกิดการดำเนินงาน “คลินิกเพื่อนใจวัยรุ่น” ในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 450
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ๑. โรงเรียนมีการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับ ผ่านเกณฑ์การ ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและมีพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ๒. โรงเรียนรับทราบผลสรุปการสำรวจลูกน้ำยุงลาย เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อม และจัดทำโครงการ/กิจกรรมด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ๓. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีสุขภาพแข็งแรง และปลอดโรคไข้เลือดออก ๔. เกิดการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และระบบข้อมูลโภชนาการของนักเรียนที่มี ประสิทธิภาพ ๕. เกิดแกนนำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ ที่มีศักยภาพ สามารถดูแล ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำบุคลากร
    ในโรงเรียนและชุมชน
    ๖. มีการดำเนินงาน คลินิก เพื่อนใจวัยรุ่น ในโรงเรียนเป้าหมาย อย่างต่อเนื่อง


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ๓.๑  การประชุม คณะทำงาน และครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน เพื่อชี้แจง การดำเนินงาน        ได้ประชุมคณะทำงานโครงการการพัฒนาศักยภาพเยาวชนแกนนำ ด้านการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและการป้องกันโรค ปีงบประมาณ ๒๕๖๑  จำนวน ๕๐ คน  ๑ ครั้ง  คือวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๑      ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลเมืองสงขลา อำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา     ๓.๒. การจัดอบรมอาสาสมัครนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ จำนวน ๒ รุ่น
    รุ่นที่ ๑ จัดอบรม ระหว่าง วันที่ ๒๘ – ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๑ ณ หอประชุมวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี-สงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาผู้เข้าประชุมรวมทั้งสิ้น ๑๕๓ คน ดังนี้ ๑. โรงเรียนสงขลาวิทยามูลนิธิ  ๑๐ คน ๒. โรงเรียนชัยมงคลวิทย์    ๑๐ คน ๓. โรงเรียนกลับเพชรศึกษา  ๑๕ คน ๔. โรงเรียนแจ้งวิทยา      ๓๐ คน ๕. โรงเรียนจุลสมัย        ๑๕ คน ๖. โรงเรียนเทศบาล ๑      ๑๕ คน ๗. โรงเรียนเทศบาล ๒      ๑๕ คน
    ๘. โรงเรียนเทศบาล ๔      ๑๕ คน   รวม จำนวน นักเรียน  ๑๒๕  คน  ครูและบุคลากรสาธารณสุข  ๒๘ คน รุ่นที่ ๒ จัดอบรม ระหว่าง วันที่ ๕ – ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ณ หอประชุมวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี-สงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาผู้เข้าประชุมรวมทั้งสิ้น ๑๒๓  คน ดังนี้ ๑. โรงเรียนศิริพงศ์วิทยา    ๑๐ คน ๒. โรงเรียนหวังดี        ๑๕ คน ๓. โรงเรียนสุมิตตรา      ๑๖ คน ๔. โรงเรียนสตรีวชิรานุกูล    ๑๐ คน ๕. โรงเรียนเทศบาล ๓      ๑๕ คน ๖. โรงเรียนวิเชียรชม      ๒๙ คน   รวม นักเรียน  ๙๕  คน ครูและบุคลากรสาธารณสุข  ๒๘ คน                   ๓.๓ การจัดอบรมผู้นำเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียนมัธยมศึกษา และแกนนำคลินิกเพื่อนใจวัยรุ่น โดยจัดอบรม ในวันที่ ๖ – ๗ สิงหาคม ๒๕๖๑  ณ หอประชุม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา
      อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ผู้เข้าประชุมรวมทั้งสิ้น ๑๖๒ คน ดังนี้   ๑. โรงเรียนวรนารีเฉลิม    ๑๙ คน   ๒. โรงเรียนมหาวชิราวุธ    ๑๔ คน
    ๓. โรงเรียนแจ้งวิทยา      ๒๐ คน
    ๔. โรงเรียนวชิรานุกูล      ๓๐ คน ๕. โรงเรียนเทศบาล ๔      ๒๐ คน ๖. โรงเรียนเทศบาล ๕      ๑๙ คน ๗. โรงเรียนชัยมงคลวิทย์    ๑๐ คน
    รวม นักเรียน ๑๓๒ คน  ครูและบุคลากรสาธารณสุข  ๓๐  คน
        ๓.๔ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน “คลินิกเพื่อนใจวัยรุ่นในโรงเรียน” มีการติดตามระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๑ กันยายน ๒๕๖๑ สงขลา โดยมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลสงขลา และศูนย์สุขภาพชุมชนทุกแห่ง จำนวน ๑๐ คน

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ๑. เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพในระดับประถม และระดับมัธยมศึกษา
    ตัวชี้วัด : ๑.มีแกนนำเครือข่าย “คลินิกเพื่อนใจวัยรุ่น” เพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๑ เครือข่าย
    0.00 7.00

     

    2 ๒. เพื่อให้นักเรียนแกนนำ มีความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
    ตัวชี้วัด : ๒.ร้อยละ ๘๐ ของผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับประถมศึกษา มีความรู้และทักษะในเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
    0.00 97.45

     

    3 ๓. เพื่อให้นักเรียนแกนนำ สามารถให้คำปรึกษาในการจัดการปัญหาเบื้องต้นได้
    ตัวชี้วัด : ๓. ร้อยละ ๘๐ ของเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความรู้และทักษะในเรื่องการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
    0.00 0.00

     

    4 ๔. เพื่อให้เกิดการดำเนินงาน “คลินิกเพื่อนใจวัยรุ่น” ในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
    ตัวชี้วัด : ๔.มีการดำเนินงานคลินิกเพื่อนใจวัยรุ่นในโรงเรียน
    0.00

    ขณะนี้ยังไม่มีการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 450
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 450
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๑. เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพในระดับประถม และระดับมัธยมศึกษา (2) ๒. เพื่อให้นักเรียนแกนนำ มีความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (3) ๓. เพื่อให้นักเรียนแกนนำ สามารถให้คำปรึกษาในการจัดการปัญหาเบื้องต้นได้ (4) ๔. เพื่อให้เกิดการดำเนินงาน “คลินิกเพื่อนใจวัยรุ่น” ในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการแกนนำเยาวชนรุ่นใหม่ รวมใจสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและการป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2561 จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 61-L7250-1-17

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวปาริชาติธนากุลรังษีหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด